รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า - Amarin Academy

รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า

เชื่อเลยว่า มีเจ้าของร้านอาหารหลายคน หรือแม้แต่คนที่ยังไม่มีร้านอาหารก็ตาม ต้องเคยมีความคิดว่า การจะนำร้านอาหารของตัวเองเข้าไปเปิดอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่ๆได้นั้น ทำอย่างไรถึงจะเข้าได้ คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก และดูไกลตัวจนเกินไป ซึ่งทีมงาน Amarin Academy ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square ได้เผยว่าความจริงแล้ว การนำร้านเข้ามาเปิดในศูนย์การค้านั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปอย่างที่หลายคนกังวล และเข้าใจผิดกันไปก่อน แล้วสิ่งที่เจ้าของร้านมักเข้าใจผิด ในการคิดจะนำร้านอาหารเข้าศูนย์การค้า มีอะไรบ้าง มาดูกันครับ

 

รวมเรื่องเข้าใจผิด!

เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า

1. ต้องเป็นร้านใหญ่ แบรนด์ดังเท่านั้น!

สาเหตุที่เจ้าของร้านหลายราย มักเข้าใจผิดเป็นอันดับต้นๆ ในการมาเปิดร้านในศูนย์การค้า ก็คือเรื่องแบรนด์ บางรายคิดว่า ศูนย์การค้ามักรับแต่แบรนด์ดังเท่านั้น เราเป็นเพียงร้านเล็กๆ คงไม่สามารถนำร้านเข้าไปอยู่ได้ ซึ่งความจริงแล้ว ศูนย์การค้ารับพิจารณาทั้งแบรนด์ใหญ่ และแบรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ที่สำคัญมากๆ เป็นประเด็นหลักเลย ก็คือ ร้านของคุณจะต้องอร่อยจริง คุณภาพดีจริง เพราะฉะนั้น ทำให้อาหารร้านของคุณอร่อยก่อน ถ้าร้านคุณอร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีแต่ศูนย์การค้าจะวิ่งเข้าหา โดยไม่จำเป็นว่าร้านของคุณจะต้องเป็นแบรนด์ใหญ่มาก่อน หรือแม้แต่สตรีทฟู้ดที่อร่อย ก็สามารถเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้าได้เช่นกัน

 

2. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ซับซ้อน

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เจ้าของร้าน ยังไม่ตัดสินใจที่จะนำร้านเข้ามาเปิดในศูนย์การค้า ส่วนหนึ่งเพราะคิดว่าศูนย์การค้ามีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่า ยังไม่พร้อมที่จะยอมรับในกฎต่างๆ ที่ศูนย์การค้ากำหนด โดยเฉพาะกับร้านที่เปิดแบบ Stand Alone มาก่อน ซึ่งแบบนั้นอาจจะไม่ได้มีข้อบังคับในบางเรื่อง ทำให้เจ้าของร้านบางคนรู้สึกว่ามีอิสระมากกว่า ไม่ต้องอยู่ในกฎ ข้อบังคับ

ตัวอย่างเช่น ระเบียบ ข้อบังคับในเรื่องของความปลอดภัย ในแง่ของการก่อสร้าง ก็จำเป็นต้องมีถังดับเพลิง เพื่อความปลอดภัยอยู่แล้ว การเปิดร้านนอกศูนย์การค้าก็ต้องมีถังดับเพลิง และอุปกรณ์ในการรักษาความปลอดภัยเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะไม่มีใครบังคับ ซึ่งศูนย์การค้าจะมีข้อกำหนดที่บอกไว้อย่างละเอียดและต้องทำตาม เพราะหากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ขึ้นมา ก็คงไม่คุ้มกับความเสียหายที่ตามมาแน่นอน

ซึ่งเจ้าของร้านบางคนมองข้อบังคับนี้เป็นเรื่องยุ่งยาก ทำไมต้องมี แต่ทุกสิ่งก็เป็นมาตรฐานที่ร้านอาหารต้องทำอยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยของร้านคุณ และร้านอื่นๆด้วย

 

3. ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก

เรียกว่าแทบจะเป็นอันดับต้นๆ ที่ทำให้เจ้าของร้านถอดใจตั้งแต่ยังไม่เริ่มในการนำร้านเข้าศูนย์การค้าก็ว่าได้ นั่นก็คือ เรื่องของเงินลงทุนนั่นเอง เพราะคิดว่าการเปิดร้านในศูนย์การค้า ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากแน่นอน ซึ่งถ้าหากเจ้าของร้านมีความต้องการ และตั้งใจจริงที่จะเปิดร้านในศูนย์การค้า แต่ยังกังวลในเรื่องของเงินลงทุน กับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมา แนะนำให้เจ้าของร้านเข้ามาพูดคุย หรือปรึกษากับทางศูนย์การค้าก่อน

เนื่องจากภายในศูนย์การค้านั้นมีพื้นที่ และทำเลที่มีความหลากหลาย ทางศูนย์การค้าจะได้ช่วยวิเคราะห์ หาพื้นที่ที่เหมาะกับเงินลงทุนของคุณได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องถือเงินลงทุนก้อนโตเท่านั้นถึงจะเปิดร้านได้ เพียงแค่ลองเข้ามาพูดคุย หรือปรึกษากับทางศูนย์การค้าก่อน เพื่อหาจุดที่ลงตัวจะดีที่สุด

 

4. ความยากในการทำการตลาดในศูนย์การค้า

เจ้าของร้านบางคนอาจจะคิดว่า ถ้าร้านเข้าสู่ศูนย์การค้าแล้ว การทำการตลาดในศูนย์การค้านั้นอาจเป็นเรื่องยากแน่ๆ แต่ในความจริงแล้วทางศูนย์การค้าจะมีทีม Marketing Support ที่จะคอยให้คำปรึกษา และช่วยเหลือด้านการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน ทั้งในช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์, เฟสบุ๊ก, อินสตาแกรม โดยเจ้าของร้านสามารถเข้ามาโปรโมทร้านของตัวเองได้ และช่องทางออฟไลน์ เช่น สื่อ LED,  บิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาต่างๆ ที่อยู่ภายในศูนย์การค้า ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

                 ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเข้าใจผิดในการนำร้านอาหารเข้ามาเปิดใน ศูนย์การค้า แต่เชื่อว่าเหล่าผู้ประกอบการ เจ้าของร้านอาหารที่กำลังคิดจะเปิดร้านในศูนย์การค้า คงจะมีคำถามรายละเอียดอีกมากมาย นอกจากที่ได้กล่าวไป ซึ่งเงื่อนไขในแต่ละศูนย์การค้าก็แตกต่างกันไป ดังนั้น หากเจ้าของร้านที่มีความตั้งใจอยากเปิดร้านจริงๆ ก็ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด รวมถึงแนะนำให้พูดคุยปรึกษากับทางทีมงานของศูนย์การค้าโดยตรง ก็จะได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดครับ

 

ขอบคุณข้อมูล / ภาพ : ศูนย์การค้า Seacon Square

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

สำรวจตัวเองให้พร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

Step by Step ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

รวม ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ที่คุณคาดไม่ถึง!

รวม ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้า ที่น่าจับตามอง

เรื่องแนะนำ

Creamery

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ   Creamery boutique ice creams ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล […]

my little boss

My Little Boss อาหารเด็กพรีเมี่ยม ไม่มีหน้าร้าน แต่ขายได้ 400 กล่องต่อวัน

My little boss ธุรกิจอาหารเด็กระดับพรีเมี่ยม ส่งตรงถึงบ้าน เจาะตลาดกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกๆ และกลุ่มเด็กที่รับประทานยาก นับเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในตลาดอาหารเด็กปรุงสด โดยแทบจะไม่มีคู่แข่งเลย!

Covid-19

ร้านอาหารต้องรอด! โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19

#ร้านอาหารเราต้องรอด …. เรียกว่าขอติดแฮชแท็กนี้ให้กับเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในช่วงนี้เลยค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทุกท่าน ที่ต้องมีการปรับตัวกันอย่างเต็มที่ เพื่อรับมือกับวิกฤต Covid-19 ในช่วงนี้ให้ได้ และเพื่อให้ร้านอยู่รอด หลายร้านเราเริ่มเห็นแล้วว่ามีการเพิ่มมาตรการเรื่องความสะอาด ปลอดภัยภายในร้านมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ร้านโชนัน (ChouNan) ที่ไม่นิ่งนอนใจกับเรื่องนี้ และต้องบอกว่า โชนันมีการวางแผนเรื่องความสะอาด ปลอดภัยมาดีตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้ขึ้น ทางร้านจะมีมาตรการใดที่เพิ่มขึ้น และในแง่ของกลยุทธ์การขาย ต้องปรับตัวอย่างไร คุณปอ – กุลวัชร ภูริชยวโรดม เจ้าของร้าน โชนัน และคุณเบิร์ด – พิพัฒน์ สละสำลี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ   โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19 เรื่องของความสะอาด ปลอดภัย เรียกได้ว่าเราทำมานานแล้ว โดยเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โชนันได้เข้าร่วมกับโครงการ GMP in Mass Catering ของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่ต้องการยกระดับธุรกิจอาหารไทยและผู้ปรุงอาหารไทยให้ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการนำมาตราฐาน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.