จัดการเงินทุนหมุนเวียน ป้องกันอาการ ขายดีจนเจ๊ง - Amarin Academy

จัดการเงินทุนหมุนเวียน ป้องกันอาการ ขายดีจนเจ๊ง

จัดการเงินทุนหมุนเวียน ป้องกันอาการ ขายดีจนเจ๊ง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ขายดีจนเจ๊ง กันมาบ้างแล้ว อาการอย่างนี้มักเกิดกับธุรกิจที่ไม่ได้มีการวางแผน เรื่องการจัดการเงินทุนหมุนเวียน หากคุณกำลังสงสัยว่าธุรกิจของตัวเอง กำลังเข้าข่ายมีความเสี่ยงในด้านขาดสภาพคล่องอยู่หรือไม่ ลองมาตรวจเช็กเหล่านี้ดู

-ธุรกิจของคุณ…มีหนี้สินหมุนเวียน สูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน

-ธุรกิจของคุณ…มีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าช้าลง (สต๊อกสินค้ามาก แต่ปล่อยสินค้าออกได้ช้า)

-ธุรกิจของคุณ…มีระยะเวลาในการเก็บหนี้ที่ยาวขี้น (ลูกหนี้การค้าที่ยังไม่พร้อมจ่ายเงินให้)

-ธุรกิจของคุณ…ไม่มีอำนาจในการต่อรองกับเจ้าหนี้การค้า ทำให้ต้องซื้อสินค้าโดยการจ่ายเงินสดทันทีที่ได้รับสินค้า

-ธุรกิจของคุณ…จำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ

-ธุรกิจของคุณ…มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ

หากธุรกิจของคุณกำลังประสบกับสัญญาณเหล่านี้อยู่ นั่นแสดงว่าธุรกิจเริ่มมีความเสี่ยงในด้านขาดสภาพคล่องกันแล้ว

เรื่องที่ทำให้เงินหล่นหายไปอย่างไม่รู้ตัว อาจมาจากหลายปัจจัย ทั้งลืมคิดเงินเดือนตัวเอง ค่าเสื่อมราคา ของหมดอายุการใช้งาน ค่าใช้จ่ายการตลาด การทำ Branding และ Digital marketing ค่าใช้จ่ายด้านบริหารเอกสารต่างๆ ภาษีที่ต้องจ่าย รวมไปถึงการสต๊อกสินค้าเอาไว้เยอะแต่กลับขายไม่ออก

ในเรื่องการจัดการสภาพคล่อง สิ่งที่เริ่มได้ในทันทีคือการจัดการสต๊อก โดยไม่ควรเก็บสต๊อกให้มากจนเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินสดไปบริหารจัดการในด้านอื่น

ในหลายธุรกิจ มักมีการบันทึกข้อมูลลูกค้าเอาไว้อยู่แล้วว่า พฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร มียอดใช้จ่ายต่อคนเท่าไหร่ ลูกค้าเข้าร้านมากในช่วงวันและเวลาไหน ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในสินทรัพย์หมุนเวียนให้มากขึ้น

สำหรับเทคนิคในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ให้มีประสิทธิภาพ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้มี 4 ข้อ ดังนี้

1.เรียกเก็บเงินทันที หรือ มีการเจรจาข้อตกลงกันล่วงหน้า ในการกำหนดชำระเงินอย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะปล่อยให้มียอดหนี้สะสมจนสิ้นสุดโครงการ

2.สร้างแรงจูงใจในการชำระเงินของลูกหนี้ ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เช่น เสนอลดให้ 1 – 2 % หากชำระภายใน 10 วัน

3.พยายามเลือกลูกค้า หลีกเลี่ยงลูกค้าประเภทชำระหนี้ช้าหรือไม่ชำระหนี้ตั้งแต่ต้น

4.ลดปริมาณสินค้าคงคลัง พยายามไม่สต๊อกสินค้าเอาไว้มากเกินความจำเป็น หรือ หาวิธีบริหารจัดการสต๊อกที่ดี ที่สามารถหมุนเวียนสินค้าออกได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สิ่งสำคัญที่สุด ในการประคองธุรกิจให้ดำเนินไปได้คือ กิจการต้องมีเงินสดเพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้ปัจจุบันอาจจะขาดทุน แต่หากยังมีสภาพคล่อง กิจการก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวและสร้างกำไรได้อีกในอนาคต


บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดการเงินธุรกิจ ก่อนจะ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง”

 4 กลโกง พนักงาน รูรั่วทางการเงินที่มองข้ามไม่ได้!

บริหารเงินในธุรกิจ ทำไมต้องแยกเงินธุรกิจ กับเงินส่วนตัว?

ไอเดียดีแต่ ติดตรงที่ ไม่มีเงินทุน

4 วิธี จัดการเงินในร้านอาหาร ให้อยู่หมัด!

เรื่องแนะนำ

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

จัดการเงินในร้านอาหาร

4 วิธี จัดการเงินในร้านอาหาร ให้อยู่หมัด!

เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่ ไม่รู้วิธีการ จัดการเงินในร้านอาหาร ที่ถูกต้อง ทำให้เงินรั่วไหล ได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หนักเข้าก็ถึงขั้นปิดกิจการ

เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร

5 เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แต่มาตรฐานเท่าเดิม!

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ร้านอาหารมักเจอคือ แม้จะขายอาหารได้มาก แต่กำไรกลับน้อยจนน่าใจหาย วันนี้เราจึงมี เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร มาฝากครับ

รายจ่ายของร้านอาหาร

รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

เจ้าของร้านอาหารรายใหม่ๆ มักไม่ทราบว่า รายจ่ายของร้านอาหาร แต่ละเดือน มีอะไรบ้าง คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และต้องบริหารจัดการอย่างไร เรารวบรวมมาให้แล้ว

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.