ไอเดียดีแต่ ติดตรงที่ " ไม่มีเงินทุน " ทำอย่างไรดี - Amarin Academy

ไอเดียดีแต่ ติดตรงที่ ” ไม่มีเงินทุน “

ไอเดียดี แต่ติดตรงที่ ” ไม่มีเงินทุน “

ไม่มีเงินทุน ปัญหาระดับชาติของคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งการหาทุนที่นิยมในปัจจุบันมีหลายวิธี นอกจากการใช้เงินทุนส่วนตัว หรือการหยิบยืมจากคนรู้จัก แต่การหาเงินทุนที่จะพูดถึงต่อไปนั้น สามารถใช้ได้กับผู้ที่อยากทำธุรกิจ Startup และ ธุรกิจ SME จะได้ขจัดปัญหา ไอเดียดี แต่ไม่มีเงินทุน ออกไปได้

อย่างแรกที่ควรรู้ คือ ธุรกิจสองประเภทนี้ ต่างกันอย่างไร ธุรกิจ Startup ต้องมีนวัตกรรม (Innovation) นวัตกรรม ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ผลิตภัณฑ์ไฮเทคต่างๆ หรือ ต้องมีเทคโนโลยีแปลกใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หมายถึง ธุรกิจที่สร้างสรรค์จากไอเดียใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้มากขึ้น โดยอาจจะใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วเข้ามาช่วย ส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบแอพพลิเคชั่น หรือ แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Uber แอพพลิเคชั่นที่ช่วยเรียกรถโดยสาร ที่ทำให้ประสบการณ์การเดินทาง ของผู้ใช้สะดวกและปลอดภัยขึ้น โดยช่วยเพิ่มความครอบคลุมของขนส่งในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถจ่ายค่าใช้บริการได้หลายวิธี ทั้งเงินสด หรือ ตัดจาก บัตรเครดิต-เดบิต ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวอีกด้วย

ส่วนธุรกิจ SME (Small Medium Enterprises) หรือ ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจ SME คือ ธุรกิจทั่วๆ ไป อย่างเช่น ร้านอาหาร สปา ร้านกาแฟ แต่จะที่มีข้อจำกัดในการเติบโต เพราะต่อให้ร้านอาหาร ได้รับความนิยมเพียงใด หรือช่างที่มีฝีมือ จะเป็นที่ต้องการแค่ไหน ธุรกิจเหล่านี้ก็จะมีข้อจำกัด คือ ความสามารถการเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่และไม่รวดเร็วเท่าธุรกิจ Startup การขยายตลาดต้องใช้เงินทุนและแรงงานเพิ่ม โดยทั่วไปแล้ว SME จะมีอัตราการเติบโตน้อยกว่า แต่ SME สามารถเปลี่ยนเป็น Startup ได้โดยนำช่องโหว่ในธุรกิจ หรือ สิ่งที่อยากแก้ไขมาจับคู่กับนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้ามากขึ้น

เมื่อทราบความแตกต่างของทั้ง 2 ธุรกิจแล้ว ต่อไปมาทราบช่องทางหาแหล่งเงินทุนสำหรับทำธุรกิจกัน

1.เงินทุนจากนายทุน

Venture Capital หรือเรียกสั้นๆ ว่า VC คือ ธุรกิจเงินแบบร่วมลงทุน พูดง่ายๆ คือ เป็นแหล่งเงินทุน สำหรับคนที่ต้องการทำทั้ง Startup และ SME ที่นอกเหนือจากการกู้ยืมจาก ธนาคาร เงินทุนนั้นอาจจะได้องค์กร หรือบริษัทเอกชนที่ต้องการร่วมลงทุนกับคุณ นอกจาก VC แล้วยังมีนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ ที่เรียกว่า Angel Investor ซึ่งกลุ่มนี้จะใช้เงินส่วนตัว ลงทุนในธุรกิจที่เขาคุ้นเคย หรือ เห็นว่าธุรกิจนั้น มีแน้วโน้มที่จะเติบโตสูงในอนาคต ผู้ร่วมลงทุนยังสามารถให้คำปรึกษาด้านการเงิน รวมถึงการให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามถ้าคุณต้องการเงินทุนจากแหล่งนี้ คุณจะต้องมี แผนธุรกิจ ที่ชัดเจน ต้องมีผลิตภัณฑ์ให้พวกเขาพิจารณาว่า คุณเหมาะสมกับการร่วมลงทุนนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วธุรกิจที่จะได้รับเงินทุนมักจะเป็นธุรกิจใหม่ๆ ที่ได้เปรียบในการแข่งขันสูง หรือยังไม่ค่อยมีคนทำมากนัก ซึ่งการหาเงินทุนแบบนี้เป็นที่นิยมสำหรับการทำ Startup อย่างยิ่ง ตัวอย่าง VC ที่ให้การสนับสนุน Startup คือ DTAC Accelerate และ กองทุน 500 Tuk Tuks By 500 Startup ส่วน SME มี Uniginventures Changeventures และยังมีอีกหลายองค์กรที่ให้ทุนสนับสนุน

2.การระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding)

Crowdfunding เป็นที่นิยมอย่างมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะธุรกิจ Startup เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการระดมทุน ที่คุณสามารถอัพโหลด โปรเจค ธุรกิจ หรือ สินค้าของคุณ ลงในแพลตฟอร์ม เพื่อระดมทุนจากบุคคลทั่วไป หากเป็นสินค้า ก็มักจะต้องมีตัวต้นแบบ (Prototype) ซึ่งอาจจะเปิดให้ผู้ที่สนใจ สั่งซื้อล่วงหน้า เพื่อเอาเงินที่ขายได้นั้น มาเป็นเงินทุนในการผลิตต่อไป ข้อเสีย ของการะดมทุนจากมวลชน คือเหมาะสำหรับคนที่มองหาเงินทุนที่ไม่สูงนัก และสามารถทำธุรกิจในงบที่จำกัดได้

3.การขอสินเชื่อจากธนาคาร

การหาเงินทุนที่คุ้นเคยที่สุดสำหรับคนไทย คือ การกู้ยืมจากธนาคารเนื่องจากหลายๆ ธนาคารนั้นมีสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SME และ ธุรกิจ Startup โดยเฉพาะ ทั้งนี้ทางผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมด้านเอกสารมาเป็นอย่างดีด้วย ผู้ประกอบการต้องศึกษาหาธนาคาร ที่มีนโยบายเอื้อประโยชน์ ต่อผู้ประกอบการรายย่อย มีความยืดหยุ่นสูงทั้งในอัตราดอกเบี้ย และดูว่าทางธนาคารกำหนดใช้บุคคลค้ำประกัน หรือ อสังหาริมทรัพย์หรือไม่ รวมไปถึงเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคาร เวลาผ่อนชำระ ในส่วนของ Startup จะมีเงื่อนไขการกู้ที่ต่างกับ SME ซึ่งส่วนใหญ่การกู้ยืมของ Startup ธนาคารจะอนุมัติธุรกิจที่ทำแล้วไปสักระยะนึง มีฐานลูกค้าที่ชัดเจน และมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ การเตรียมพร้อมและทำความเข้าใจ ในประเด็นทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน การจัดตั้งองค์กร และกฎหมาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ไม่ควรละเลย ถ้าคุณเองยังรู้สึกไม่มั่นใจ เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาผู้รู้เข้ามาช่วยพิจารณาครับ

 


 

กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขกสุดพิเศษ งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น.

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

เรื่องแนะนำ

จัดการเงินธุรกิจ

จัดการเงินธุรกิจ ก่อนจะ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง”

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจคือ “หมุนเงินให้ทัน” หรือ “ชักหน้าให้ถึงหลัง” นั่นเอง แล้วทำยังไงถึงจะหมุนเงินทันละ? วันนี้ผมมี 5 วิธี จัดการเงินธุรกิจ มาแชร์

กสิกรไทย

กสิกรไทย เพิ่มการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ ตั้งเป้าปี63 สินเชื่อเติบโต 4-6 %

ก่อนหน้านี้ธนาคาร กสิกรไทย ได้มีการประชุมคณะกรรมการ เกี่ยวกับการ อนุมัติเป้าหมายทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย สำหรับปี 2563 ซึ่งทางกสิกรเล็งเห็นว่า ปี 2563 ปัจจัยท้าทายกดดันเศรษฐกิจไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และเตรียมเดินหน้าสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งชีวิตและธุรกิจ มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มการปล่อยสินเชื่อรายย่อยด้วยการใช้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมตั้งเป้าหมายสินเชื่อรวมเติบโต 4-6%   แผนปี 2563 ธนาคาร กสิกรไทย นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังเผชิญความท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ เงินบาทที่ยังคงแข็งค่าส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คาดว่าปี 2563 การส่งออกไทยจะขยายตัวติดลบที่ -2% ด้านภาคเศรษฐกิจภายในประเทศจะเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ จากการเดินหน้าโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทิศทางดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง”   ภายใต้ปัจจัยความท้าทายต่าง ๆ ธนาคาร กสิกรไทย กำหนดทิศทางการดำเนินงานปี 2563 กำหนดเป้าหมายธุรกิจ “To Empower Every Customer’s Life and Business” […]

Business Plan

สรุปขั้นตอนง่ายๆ เขียน Business Plan ให้เป๊ะ

Business Plan คือสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นทำร้านอาหาร โดยประโยชน์หลักๆ มี 2 ข้อ คือ เพื่อใช้แสดงต่อสถาบันการเงิน และให้เจ้าของร้านเห็นภาพรวมในธุรกิจของตัวเอง

ต้นทุนร้านอาหาร

เผยวิธีคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการต้องรู้!

การเงินและบัญชี เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้และการ คำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร ก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขในบัญชีของคุณแม่นยำมากขึ้น แต่จะคำนวณอย่างไร ไปติดตามกัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.