จัดการเงินธุรกิจ ก่อนจะ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” - Amarin Academy

จัดการเงินธุรกิจ ก่อนจะ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง”

คนที่ทำธุรกิจมาได้ซักระยะแล้ว คงพอนึกออกนะครับ ว่าพละกำลังที่มี นอกจากใช้ไปกับการขายสินค้าหรือบริการให้ได้แล้ว สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างในการทำธุรกิจก็คือ “หมุนเงินให้ทัน” ถ้าพูดกันบ้านๆ ก็คือ “ชักหน้าให้ถึงหลัง” นั่นเอง แล้วทำยังไงถึงจะหมุนเงินทันละ? ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือ “ทำให้เงินสดรับ มากกว่าเงินสดจ่าย” มาถึงตรงนี้คงคิดกันใช่ไหมว่า พูดง่ายนะ แต่เอาเข้าจริงรายรับและรายจ่ายมันมีเยอะเหลือเกิน จะไปเริ่มจากไหนก่อนดี วันนี้ผมเลยมี 5 วิธี จัดการเงินธุรกิจ มาแชร์

 

จัดการเงินธุรกิจ ก่อนจะ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง”

1.ใส่ใจกับค่าใช้จ่ายที่เป็น “ค่าใช้จ่ายประจำ” ให้มากขึ้น

ค่าใช้จ่ายประจำคือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ อาจจะทุกเดือน ทุกไตรมาสหรือทุกปี เช่น ค่าเช่า ค่าทำความสะอาดรายเดือน หรือค่าบริการต่างๆ ลองดูว่าค่าใช้จ่ายประจำเหล่านี้ตกเดือนละเท่าไร มีส่วนไหนที่ไม่จำเป็นหรือไม่ ค่าใช้จ่ายบางอย่างดูไม่มาก แต่เมื่อรวมๆ กันแล้ว หลายธุรกิจมีค่าใช้จ่ายประจำค่อนข้างสูงทีเดียว

หรือบางกรณี ค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ต้องจ่ายล่วงหน้า พอเห็นว่าถ้าจ่ายล่วงหน้าหลายๆ เดือน (บางทีเป็นปี) แล้วถูกกว่า เท่านั้นละ ต่อมโลภทำงาน ใช้เงินสดจ่ายล่วงหน้าทันที แต่อย่าลืมนะว่า ราคาต่อหน่วยถูกลงก็จริง แต่ถ้าหมุนเงินไม่ทันเรื่องใหญ่กว่าแน่นอน

2.ทำบัญชีเงินสดรับ เงินสดจ่ายล่วงหน้า

วิธีนี้เหมือนเรากางแผนที่ จะทำให้เราเห็นภาพรวมว่าธุรกิจ เรามีกระแสเงินสดเป็นอย่างไร อีกเดือนสองเดือนข้างหน้าเงินสดพอหรือไม่ ถ้าไม่พอรายการไหนบ้างที่สามารถปรับ เพื่อช่วยให้มีเงินหมุนเวียนมากขึ้น

ส่วนถ้าใครที่กำลังคิดว่า จะเริ่มยังไงดี เริ่มแบบง่ายๆ เลย แค่ list รายการที่เป็นกระแสเงินสดรับทั้งหมดของเดือนหน้าออกมา เช่น เงินที่คาดว่าจะขายได้เดือนหน้าที่ลูกค้าจ่ายเงินสด + เงินจากการขายของเดือนนี้ แต่ลูกค้าจะจ่ายเดือนหน้า (อย่าลืมดูด้วยว่าเงินสด จะเข้าและออกจากกระเป๋าเราเมื่อไร)

หลังจากนั้นก็ list รายการที่เป็นกระแสเงินสดจ่ายทั้งหมดของเดือนหน้าออกมา เช่น ค่าเช่า (ถ้าต้องจ่ายล่วงหน้า 3 เดือน ก็ต้องรวมทั้งหมด เพราะเราดูที่เงินสดว่าเข้าและออกจากกระเป๋าเมื่อไร)

จากนั้นเอา เงินสดที่มีสิ้นเดือนนี้ + กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับทั้งหมดเดือนหน้า –  กระแสเงินสดที่คาดว่าจะจ่ายทั้งหมดเดือนหน้า = เงินสดคงเหลือเดือนหน้า

หลังจากนั้นก็ยกยอดเงินสดที่เหลือไปเดือนถัดไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ล่วงหน้าหลายๆ เดือน ถ้าเงินสดคงเหลือเดือนไหนติดลบ ก็ต้องรีบหาสาเหตุวางแผนแก้ไขล่วงหน้า เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในเดือนนั้นๆ

3.โทรหาลูกค้า ตามเบาๆ เมื่อใกล้ถึงงวดรับเงิน 

เป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ ที่ลูกค้าจะจ่ายเร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่ผมแนะนำให้โทรตามเบาๆ เมื่อใกล้ถึงงวดรับเงิน เพราะว่าลูกค้าอาจจะไม่ได้ตั้งใจจ่ายเงินช้า แต่อาจเกิดความผิดพลาดด้านเอกสารโน่นนี่ ซึ่งถ้าเราไม่รีบถาม เราก็จะได้เงินช้าไปอีก แล้วส่วนมากไม่ได้ช้าแค่ 1-2 วัน ถ้าพลาดรอบจ่ายนี้ บริษัทส่วนใหญ่ก็จะให้รอรอบจ่ายหน้าซึ่งส่วนใหญ่คืออีก 1 เดือนเลย

ฉะนั้น แนะนำให้โทรตามเบาๆ เช่น “พี่ครับ ของที่ผมส่งไปเดือนที่แล้ว ผมน่าจะได้รับยอดสัปดาห์หน้าใช่ไหม?”

แต่ถ้าตามแล้วตามอีกไม่ได้ อันนี้เรื่องใหญ่ละครับ

4.ปรับธุรกิจให้มีรายได้หลายๆ แบบ

ถ้าธุรกิจใครได้รับเงินเป็นก้อนตามโปรเจกต์ ซึ่งกว่าจะได้รับเงินแต่ละก้อนก็หลักเดือน อาจจะลองปรับธุรกิจให้มีรายได้แบบอื่นด้วย เช่น เก็บรายเดือน หรือมีโปรเจกต์เล็กๆบ้าง เพื่อจะได้เก็บเงินได้เร็วขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่กำไรจะน้อยกว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆ แต่ก็เป็นส่วนที่ช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนสม่ำเสมอ

5.อย่าเก็บสต๊อกไว้เยอะ

ธุรกิจส่วนใหญ่ตัดสินใจเก็บสต๊อกเยอะด้วยหลายสาเหตุ เช่น ถ้าเป็นธุรกิจร้านอาหารก็เพราะกลัวว่าของไม่พอขาย จะเสียโอกาส ส่วนถ้าเป็นธุรกิจโรงงานผลิต เลือกที่จะสต๊อกเยอะเพราะว่าต้นทุนของถูกกว่ามาก

แม้ว่าธุรกิจที่ยกตัวอย่างมา จะคนละธุรกิจ แต่จริงๆ แล้ว ได้รับผลกระทบเดียวกันคือ กระแสเงินสดจ่าย มากกว่ากระแสเงินสดรับ (จ่ายเงินซื้ออาหารสด ซื้อวัตถุดิบผลิตมาก แต่ขายได้ไม่เยอะเท่าที่ซื้อมา ได้เงินมานิดเดียว)

เพราะฉะนั้นวางแผนดีๆ ถ้าจำเป็นต้องซื้อวัตถุดิบเยอะจริงๆ ก็ควรจะหาเงินสดรับให้เพียงพอด้วย ซึ่งก็กลับไปที่ข้อ 2. “ทำบัญชีเงินสดรับ เงินสดจ่ายล่วงหน้า” เพราะจะทำให้เรารู้ตัวและวางแผนล่วงหน้าได้

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ชานมไข่มุก ยังมาแรง อัตราการเปิดร้านพุ่ง 700% : สรุปไฮไลท์งาน Wongnai for Business : Restaurant 2020

แชร์กลยุทธ์ ทำอย่างไรให้ร้านขายดีในทุกๆ ทำเล

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

Business Plan

สรุปขั้นตอนง่ายๆ เขียน Business Plan ให้เป๊ะ

Business Plan คือสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นทำร้านอาหาร โดยประโยชน์หลักๆ มี 2 ข้อ คือ เพื่อใช้แสดงต่อสถาบันการเงิน และให้เจ้าของร้านเห็นภาพรวมในธุรกิจของตัวเอง

 4 กลโกง พนักงาน รูรั่วทางการเงินที่มองข้ามไม่ได้!

ปัญหาเงินรั่วไหลของธุรกิจร้านอาหาร ส่วนใหญ่เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่สุดท้ายนำไปสู่ปัญหาใหญ่บานปลาย เราจะเผย กลโกง พนักงาน ให้เจ้าของร้านอาหารทราบกัน

ขายดีจนเจ๊ง

จัดการเงินทุนหมุนเวียน ป้องกันอาการ ขายดีจนเจ๊ง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ขายดีจนเจ๊ง กันมาบ้างแล้ว อาการอย่างนี้มักเกิดกับธุรกิจที่ไม่ได้มีการวางแผนเรื่องการจัดการเงินทุนหมุนเวียน แล้วจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของคุณไม่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่อง ลองมาติดตามกันครับ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.