ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้ - Amarin Academy

ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

ธุรกิจร้านกาแฟ เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจยอดฮิตที่มีคนต้องการเปิดสูงมาก ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น ประเทศในโซนเอเชียเหมือนกันอย่าง เกาหลีใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ธุรกิจร้านกาแฟมาแรงมาก วันนี้เราเลยมาส่อง เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้กันหน่อย เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านกาแฟครับ

 

เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

ข้อมูลจาก Small Enterprises and Market Service หรือ SEMAS กระทรวงเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพของเกาหลีใต้ ระบุตัวเลขร้านกาแฟเมื่อช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่ามีอยู่กว่า 100,000 ร้านทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้านสะดวกซื้อเกือบ 1 เท่าตัว ซึ่งปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ มีร้านกาแฟถึง 90,809 ร้าน ขณะที่จำนวนร้านสะดวกซื้อทั่วทั้งประเทศมีอยู่ราวๆ  54,000 ร้าน

 

คนเกาหลีจะมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ (Coffee Drinking Culture) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ก็จะมีอีกกลุ่มที่บริโภคกาแฟตามกระแสด้วย ทำให้สามารถจำแนกกลุ่มลูกค้าในธุรกิจนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. Coffee Drinking Culture คือ กลุ่มที่บริโภคกาแฟเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ทำให้จุดประสงค์หลักในการเข้าร้านกาแฟของกลุ่มนี้ จะเน้นการเข้าไปซื้อกาแฟเป็นหลัก และคำนึงถึงคุณภาพและรสชาติของกาแฟเป็นหลัก โดยมักจะซื้อแบบ​​ Grab and Go ซื้อแล้วก็จะไปทำกิจวัตรอื่นๆ ต่อ เช่น ไปมหาวิทยาลัย ไปทำงาน

2. Cafe Hopping Trendกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เติบโตสูงมาก เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมเข้าร้านกาแฟเพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศในร้าน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ด้วย นอกจากการซื้อกาแฟเพียงอย่างเดียว เช่น พูดคุยเรื่องงาน พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือใช้เป็นสถานที่เดทของคู่รัก ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะให้ความสำคัญกับคอนเซ็ปต์ การตกแต่ง และบรรยากาศต่างๆ รวมทั้งหน้าตาของอาหารอื่นๆ ยอมจ่ายเงินเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ มากกว่ามองแค่ความคุ้มค่าของกาแฟหรืออาหารเท่านั้น ​

 

เมื่อกระแส Cafe Hopping เป็นที่นิยมมาก คราวนี้เรามาดูกันว่า เทรนด์ ร้านกาแฟ ในเกาหลีใต้ตอนนี้เป็นอย่างไร และร้านกาแฟในประเทศไทยสามารถนำไอเดียไหนมาปรับใช้ได้บ้าง เพื่อให้ร้านของคุณมีเอกลักษณ์โดดเด่น ดึงดูดลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

 

5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

1. ธุรกิจร้านกาแฟ ที่ได้แรงบันดาลใจจากสถานที่ใดที่หนึ่ง เช่น ร้าน Awesome Malta ย่านยอนนัมดง ที่เจ้าของร้านได้รับแรงบันดาลใจ จากการไปเที่ยวประเทศมอลตา ภายในร้านจึงตกแต่งด้วยกลิ่นอายศิลปะสไตล์ Maltese ดังนั้น กลุ่มลูกค้าของร้านประเภทนี้จะค่อนข้างเจาะจงไปยังกลุ่มที่สนใจในสถานที่แห่งเดียวกัน

แต่ในประเทศไทยก็มีร้านคาเฟ่ที่ได้แรงบันดาลใจจากต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีความคล้ายกันหลายร้าน ไม่เกิดความแตกต่าง ขาดเอกลักษณ์ จึงแนะนำนว่าอาจจะใช้คอนเซ็ปต์เดียวกันแต่เลือกสถานที่ที่แตกต่างก็จะสร้างความแปลกใหม่ให้ธุรกิจได้มากขึ้น

 

3. ธุรกิจร้านกาแฟ ที่ดึงจุดขายจากวัตถุดิบ

เทรนด์ร้านกาแฟ ประเภทนี้จะเน้นชูจุดขายด้วยวัตถุดิบชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นหลัก และนำมาเป็นเมนูหลักๆในร้าน เช่น ชูวัตถุดิบชาเขียวเป็นหลัก อย่างร้าน Osulloc Tea House ที่ปัจจุบันมีกว่า 63 สาขาในเกาหลีใต้ มีเมนูเครื่องดื่มชาเขียว​ เค้กโรลชาเขียว บิงซูชาเขียว และไอศกรีมชาเขียว ซึ่งในประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เป็นของดีอยู่มากมาย ก็อาจจะนำไอเดียนี้มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นการส่งเสริมวัตถุดิบของไทยอีกทางได้ด้วย

เทรนด์ร้านกาแฟ
Osulloc Tea House
credit : wongnai

3. ธุรกิจคาเฟ่ อาหารสุขภาพ

ปัจจุบันกระแสคนรักสุขภาพมีมากขึ้นก็จริง แต่ก็ยังมีหลายๆคนที่อยากดูแลสุขภาพ แล้วก็อยากทานของอร่อยด้วย ดังนั้น ธุรกิจคาเฟ่ หรือร้านเบเกอรี่ในปัจจุบันมักจะมีเมนูที่เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ เช่น กลุ่มลูกค้าที่ชอบบริโภคผลิตภัณฑ์จาก PlantBase, ผลิตภัณฑ์ Gluten – Free และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มมีบ้างแล้ว ใครที่กำลังคิดจะเปิดร้าน ก็อาจลองใช้เทรนด์นี้ ไปเป็นไอเดียใส่ในเมนูของร้านเพิ่มได้ด้วย

4. ธุรกิจคาเฟ่ ที่มีกิจกรรมเป็นจุดขาย

กิจกรรมที่ว่านี้ เช่น ซื้อเครื่องดื่มภายในร้าน เพื่อลุ้นเข้าไปทำกิจกรรมของร้าน ​ธุรกิจคาเฟ่ประเภทนี้ จะมุ้งเน้นกลุ่มลูกค้าที่สนใจในการทำกิจกรรมที่ร้านจัดขึ้น ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น Ring Making Cafe ย่านฮงแด ที่ลูกค้าสามารถประดิษฐ์และออกแบบแหวนได้ด้วยตนเอง ส่วนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทางร้านกำหนด

เทรนด์ร้านกาแฟ
Ring Making Cafe
credit : knowaboutkorea

5. ธุรกิจร้านกาแฟ จากแบรนด์ดัง

นอกจากร้านกาแฟทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อยแล้ว ในเกาหลีใต้ยังมี เทรนด์ร้านกาแฟ ที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์ของดีไซน์เนอร์ระดับโลกด้วย ซึ่งคาเฟ่ประเภทนี้ต้องยอมรับว่ามีราคาค่อนข้างสูงกว่าคาเฟ่ทั่วไป และมีจุดขายคือแบรนด์ ​คอนเซ็ปต์ หรือเอกลักษณ์ของแบรนด์นั้นๆ ​เช่น Dior Cafe by Pierre Herme, Hermes Cafe หากผู้ประกอบในไทย  อยากจะลองจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ก็อาจจะลองไอเดียนี้เป็นตัวเลือกได้เช่นกัน

 

อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้

A Cup Coffee พลิกธุรกิจจากเกือบเจ๊ง! สู่เส้นทางสายกาแฟ 10 ปี 10 สาขา!

เรื่องแนะนำ

ป้ายร้าน

ป้ายร้าน แค่ภาษาไทยคงไม่พอ ถ้าอยากเจาะกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ

ร้านในเมืองไทย แต่ใช้ ป้ายร้าน เป็นภาษาไทยคงไม่พอแล้วล่ะครับ ยิ่งร้านไหนอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว ต้องเพิ่มเรื่องภาษาต่างชาติเข้าไปหน่อย จะได้จดจำได้ง่าย

Food Stylist อาชีพสุดครีเอทของวงการร้านอาหาร

หน้าที่ของฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) คือ ตกแต่งอาหารให้สวยงาม ชวนรับประทาน ส่วนใหญ่มักทำงานร่วมกับเชฟ ในการแต่งจานเพื่อถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ แน่นอนว่าหน้าตาอาหารที่สวยงามขึ้นจะทำให้สามารถเพิ่มราคาอาหารให้สูงขึ้นตามไปด้วย   ฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) อาชีพFood Stylist เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยเรื่องของรสนิยม เพราะฉะนั้นการหยิบจับ ผสมผสานของใกล้ตัวมาจัดวางให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ สร้างความแตกต่าง กระตุ้นให้คนเห็นอาหารแล้วอยากทานจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการ ฟู้ดสไตลิสต์ที่ดี ควรจะรักในการทำอาหาร เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบ และวิธีการปรุงที่แตกต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด และรักการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถดึงจุดเด่น จิตวิญญาณ ดึงความเป็นตัวตนของอาหารออกมาให้เด่นชัด นำเสนอแก่คนที่ต้องการเสพสื่อจากเราให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าเห็นอาหารแล้วอยากหยิบเข้าปาก ไม่ใช่ทำอาหารให้แค่ดูสวยเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องน่าทานด้วย “Food Stylist อาจไม่ใช่คนที่ทำอาหารเป็นหรือเก่ง แต่ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอาหาร”   หลักจิตวิทยากับหน้าตาของอาหาร การจัดวางอาหารมีผลต่อความอยากรับประทานไม่น้อย ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาท ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนหันมาสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น แม้แต่ตัวนักเขียนเองยังชื่นชอบการถ่ายภาพรีวิวอาหาร เพราะอาหารคือปัจจัย 4 เป็นเรื่องที่ทุกคนทุกระดับเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งภาพอาหารยังเป็นวิธีที่ผู้คนใช้บอกเล่าคนอื่นๆ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ โดยการโพสต์ภาพเมนูจานเด็ดผ่านโซเชียล […]

เปลี่ยนเรื่องยากของธุรกิจร้านอาหารให้เป็นเรื่องง่ายที่ OfficeMate

การทำธุรกิจร้านอาหารมักมีโจทย์มาให้แก้ทุกวัน หนึ่งในโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องเจอก็คือเรื่องของ “เวลา” เพราะธุรกิจร้านอาหารประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่ งานตกแต่งร้าน งานครัว งานทำความสะอาด งานบัญชี งานไอที รวมไปถึงงานบริหาร ยิ่งมีงานเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ จะจัดการงานทั้งหมดอย่างไรในเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม? แถมยังต้องมาเสียเวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้เข้าร้านอีก จะดีกว่าไหมหากเราสามารถลดต้นทุนแฝงส่วนนี้ลงได้? และมีเวลาเหลือไปทำงานอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เลือกซื้อสินค้าสำหรับร้านอาหารที่ OfficeMate OfficeMate เป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างครบครัน เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกส่วนงาน ตั้งแต่อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างดำเนินกิจการ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทำให้การเลือกซื้อสินค้าที่ออฟฟิศเมท ช่วยประหยัดเวลาของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจในเวลาเดียวกัน ลดต้นทุนเวลา มาที่เดียวจบ เพราะทุกสิ่งมีครบที่ OfficeMate             อย่างที่บอกไปว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ OfficeMate ครอบคลุมงานแทบทุกส่วน มาดูกลุ่มสินค้าหลักๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ที่ OfficeMate กันค่ะ   สร้างมุมสวยด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ มุมสวยๆ เฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ คือ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของร้านอาหารยุค 4.0 เพราะลูกค้านิยมถ่ายรูปลง Social Media ดังนั้นร้านอาหารที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งร้านได้สวยและมีเอกลักษณ์ ย่อมสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรได้ง่ายขึ้น แถมเป็นการโฆษณาร้านอาหารของเราทางอ้อมอีกด้วย แต่การเดินหาเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งร้านก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย […]

Food Blogger

Food Blogger กับ ร้านอาหาร ความ WIN WIN ที่ลงตัว

พลังของการรีวิวบนโลกออนไลน์ เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในยุคนี้เป็นอย่างมาก แม้แต่การเลือกร้านอาหาร ทำให้ปัจจุบันมีอาชีพใหม่ที่เรียกว่า Food Blogger / Food Reviewer หรือนักรีวิวอาหารนั่นเอง ร้านอาหารหลายๆร้าน เริ่มให้ความสนใจกับนักรีวิวอาหารมากขึ้น บางร้านเลือกใช้นักรีวิวอาหารที่ได้รับความนิยม อยู่ในกระแสที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในการโปรโมทร้าน หากร้านไหนถูกพูดถึงมาก หรือมีรีวิวที่ดี ก็มีแนวโน้มที่จะขายดีและเป็นที่รู้จักมากขึ้น “ Food Blogger ช่วยในการขยายฐานลูกค้าหรือชักนำไปสู่ร้านก็จริง แต่ที่สำคัญ ร้านต้องทำตัวเองให้แข็งแกร่งก่อน ”   อาหารที่เป็นมากกว่าปัจจัย 4 ร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะอาหารถือได้ว่าเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต แต่ทุกวันนี้อาหารเป็นมากกว่าปัจจัย 4 ไปแล้ว เพราะอาหารสามารถบ่งบอกไลฟ์สไตล์ของคุณได้เลย ผ่านภาพถ่ายที่คุณแชร์ ว่ามีไลฟ์สไตล์อย่างไร ชื่นชอบอาหารแนวไหน ทำให้เหล่านักชิมและนักรีวิวอาหาร หรือFood Blogger / Food Reviewer เริ่มต้นในการทำเพจอาหารหรือเพจชิมอาหารตามร้านต่างๆ เพื่อตอบโจทย์กับผู้บริโภคที่มักหาข้อมูลรีวิวต่างๆ จากสื่อโซเชียลก่อนไปลองทานที่ร้านจริงๆ คราวนี้เรามาดูกันว่าFood Blogger และ  ร้านอาหาร สามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง WIN WIN ทั้งสองฝ่ายได้อย่างไร […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.