6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร - Amarin Academy

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

ร้านอาหาร จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่อาหารอร่อยหรือบรรยากาศดี แต่ยังรวมไปถึงงานบริการด้วย มีลูกค้าไม่น้อยเลยที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพราะพนักงานดูแลดี มีงานบริการที่ประทับใจ ดังนั้น พนักงานจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการทำร้านอาหาร เพราะมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง และเปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรใส่ใจกับการบริหารจัดการพนักงาน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี และอยากกลับมาใช้บริการอีก ลองมาดูเคล็ดลับในการปรับปรุงการบริการในร้านของคุณกันครับ

 

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

  1. ฝึกอบรมพนักงาน

ผู้ประกอบการควรคัดเลือกคนที่มีใจรักงานบริการเข้ามาทำงาน และจัดอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของการบริการ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลัก จนถึงเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ ตัวอย่างเช่น 

  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน
  • ขั้นตอนการทำงานในช่วงต่างๆ (ก่อนเปิดร้าน, เปิดร้าน, หลังปิดร้าน)
  • การกล่าวต้อนรับเมื่อมีลูกค้าเข้าร้าน
  • ทวนรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • ใส่ใจดูแลลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร และรีบเข้าไปบริการเมื่อลูกค้าต้องการ เช่น การเติมน้ำ สั่งอาหารเพิ่ม หรือเรียกเก็บเงิน ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
  • เมื่อลูกค้าชำระเงิน ให้พนักงานนับเงินต่อหน้าลูกค้าและแจ้งจำนวนเงินที่รับมา ตอนทอนเงินให้แจ้งจำนวนเงินที่ทอน และเตือนให้ลูกค้าตรวจนับก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • มารยาทต่างๆ เช่น พูดจาสุภาพ มีคำลงท้ายประโยค (ค่ะ/ครับ) ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับลูกค้า กล่าวขอบคุณหรือขอโทษ มีความอดทนในการทำงาน
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเมนูอาหารในร้าน สามารถอธิบายส่วนประกอบหรือรสชาติของอาหาร และแนะนำเมนูให้ลูกค้าได้
  • Up Selling โดยเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มเติม หรือแนะนำเมนูใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน

 

  1. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริการร้านอาหารที่ดีควรมีการสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างพนักงานกับลูกค้า ระหว่างพนักงานที่รับออร์เดอร์กับพนักงานในครัว หากพนักงานสื่อสารกันผิดพลาดก็จะทำให้ลูกค้าได้อาหารไม่ตรงกับเมนูที่สั่ง หรือพนักงานที่พบปัญหาภายในร้านแต่ไม่กล้าบอกผู้จัดการ ก็อาจจะทำให้การทำงานภายในเกิดปัญหา และสร้างผลเสียต่อร้านได้ 

บางร้านเลือกที่จะแก้ปัญหานี้โดยจัดประชุมกับทีมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บอกถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คำแนะนำติชมของลูกค้า รวมถึงกล่าวชื่นชมหรือให้รางวัลกับพนักงานที่ทำงานได้ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน และทำให้ลูกค้าประทับใจต่อไป

ร้านอาหาร

  1. การรอคอยที่ไม่น่าเบื่อ

บางครั้งลูกค้าก็ต้องรออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การรอคิวเพื่อเข้าร้านอาหาร การทำเมนูบางชนิดที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ช่วงเวลาการรอคอยเหล่านี้น่าอึดอัดเสมอ และอาจจะทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ จะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้ได้บ้าง 

  • แจ้งเวลาที่ต้องรอโดยประมาณ

หากมีลูกค้าหลายรายรออยู่ พนักงานหน้าร้านควรแจ้งเวลาโดยประมาณที่ลูกค้าต้องรอ เพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจว่าจะรอหรือไม่ ระหว่างนั้นก็รีบเคลียร์โต๊ะใหม่ให้ลูกค้าเข้าไปนั่ง หรือรายการอาหารบางเมนูที่ต้องใช้เวลา ควรแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าก่อนลูกค้าจะสั่ง พร้อมกับเสิร์ฟเครื่องดื่มและเมนูอื่นๆ ที่ทำเสร็จไปก่อน

  • สร้างกิจกรรมระหว่างรอ

 ร้านอาหารบางแห่งมีกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกค้าทำระหว่างรอ ตัวอย่างที่เด่นมากๆ คงจะเป็นร้าน Haidilao Hotpot ร้านชาบูหมาล่าจากประเทศจีนที่มีลูกค้ารอคิวกันนานหลายชั่วโมง ระหว่างที่ลูกค้ารอนั้น ทางร้านจะมีทั้งการเสิร์ฟของหวาน ผลไม้ น้ำดื่ม บริการทำเล็บ เก้าอี้นวด เกมต่างๆ ให้เล่นรอได้ฟรีๆ รวมถึงพนักงานที่ใส่ใจบริการ ทำให้ช่วงเวลาที่ต้องรอกลายเป็นจุดขายเด่นอีกแบบของร้านนี้เลยครับ

  1. จัดการกับข้อร้องเรียน

‘ลูกค้าถูกเสมอ’ เป็นประโยคที่รู้จักกันดีในกลุ่มธุรกิจบริการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือความกังวลของลูกค้าในเรื่องใด ผู้ประกอบการควรดูแลตามลำดับความสำคัญ เช่น ในโซเชียลมีเดียต่างๆ อาจจะมีลูกค้าโพสต์ข้อติชมลงสื่อออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ รับรู้ตามไปด้วย ร้านอาหาร ก็ไม่ควรเพิกเฉย แต่ควรตอบกลับอย่างสุภาพ โดยเริ่มจากขั้นตอนเหล่านี้

  • รับทราบข้อร้องเรียนของลูกค้า

หากลูกค้าของคุณไม่พอใจกับการบริการของร้าน ให้ทางร้านรับฟัง กล่าวขอโทษกับลูกค้าอย่างจริงใจ พร้อมกับแจ้งอธิบายเหตุผล แสดงออกถึงความรับรู้และใส่ใจจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ปัดความรับผิดชอบหรือตอบกลับอย่างไม่สุภาพ เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ของร้านดูไม่ดี

  • ลงมือแก้ปัญหาทันที

หากลูกค้าแจ้งปัญหาขณะอยู่ในร้าน พนักงานควรจะมีแนวทางในการแก้ปัญหา โดยกล่าวขอโทษลูกค้าทันที ถ้าเป็นปัญหาด้านรสชาติอาหาร อาจจะให้เชฟออกมากล่าวขอโทษด้วยตัวเอง หรือบางกรณีควรให้ผู้จัดการร้านหรือเจ้าของร้านออกมาขอโทษด้วยตัวเอง และชดเชยด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เหตุการณ์สงบและไม่บานปลาย  

  • เสนอการชดเชย

นอกจากคำขอโทษอย่างจริงใจแล้ว การชดเชยให้ลูกค้าจะช่วยลดความรู้สึกแย่ หรือเปลี่ยนเป็นความประทับใจในการแก้ปัญหาของร้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอาหารให้ใหม่ การไม่คิดเงิน ให้เมนูพิเศษ มอบส่วนลดหรือบัตรสมาชิกให้แก่ลูกค้า ก็ช่วยให้ลูกค้าของคุณรู้สึกพึงพอใจและมีโอกาสกลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย

  • ถามความคิดเห็น

เมื่อลูกค้าทานอาหารเสร็จแล้ว ทางร้านอาจจะมีแบบสอบถามสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีที่ในการแสดงความคิดเห็น ลดการวิจารณ์ในด้านลบบนโซเชียลมีเดีย และนำคำตอบของลูกค้ามาปรับปรุงต่อไป

 

  1. ใช้เทคโนโลยีช่วย

มีร้านอาหารขนาดใหญ่มากมายที่เลือกใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งระบบ POS (Point of Sale System) ที่ช่วยเก็บข้อมูลการขาย และทำให้งานบริการง่ายขึ้น เช่น หากลูกค้าเปลี่ยนโต๊ะ ก็สามารถโอนข้อมูลจากโต๊ะหนึ่งไปโต๊ะหนึ่งได้ทันที หรือช่วยบันทึกเมนูที่ลูกค้าสั่ง เพื่อป้องกันการหลงลืมของพนักงาน หรือการทำใบสั่งเมนูหาย

นอกจากนี้ ยังมีการจองร้านผ่านระบบออนไลน์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ การใช้แท็บเล็ตให้ลูกค้าสั่งอาหารด้วยตัวเอง หรือแม้แต่เครื่องคิดเงินอัตโนมัติที่มีความถูกต้องรวดเร็ว และช่วยให้งานในร้านอาหารสะดวกสบายมากขึ้น 

ร้านอาหาร

 

  1. การดูแลรักษาสุขอนามัยภายในร้าน

นอกจากรสชาติอาหารและการบริการ ความสะอาดของร้านอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงจะมีผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า แต่ยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของร้านอาหาร พนักงานควรดูแลความสะอาดภายในร้าน ทั้งโต๊ะ อุปกรณ์ทานอาหาร รวมถึงป้องกันและกำจัดหนู แมลงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความสะอาดในห้องน้ำด้วย เพราะสิ่งที่ลูกค้าผู้หญิงมักจะร้องเรียนคือห้องน้ำที่ไม่สะอาด ดังนั้น ร้านอาหารต้องมีมาตรฐานความสะอาดและสุขอนามัย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมาใช้บริการ ยิ่งในช่วงที่มีโรคติดต่อด้วย ร้านอาหาร อาจจะต้องมีมาตรการการคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วย 

 

อย่าลืมว่า ร้านอาหารที่ดีควรจะตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าทั้งในเรื่องอาหารและการบริการ การจัดอบรมพนักงานเกี่ยวกับมาตรฐานการบริการ และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา จะช่วยให้การบริหารจัดการร้านเป็นระบบชัดเจน และพัฒนาการบริการในร้านให้น่าประทับใจมากขึ้น หวังว่าข้อแนะนำเหล่านี้จะสามารถช่วยปรับปรุงการบริการในร้านของคุณให้ดีมากขึ้นได้นะครับ

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

5 เคล็ดลับ จัดการร้านอาหาร ดี บริการเร็ว ยอดขายเพิ่ม

5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ

ร้านอาหาร บริการลูกค้า ต่างกลุ่มยังไง ให้โดนใจทุกคน

เรื่องแนะนำ

นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ

5 สิ่งที่ นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ ทำทุกวัน

ใครๆ ก็รู้ว่า เจ้าของธุรกิจแต่ละคนล้วนมีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องแบกรับในแต่ละวัน ทั้งเข้าพบลูกค้า ทำการตลาด ให้สัมภาษณ์สื่อ และทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมหาศาล

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ” ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย . ทำไมต้องล้าง ? . จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้ เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur […]

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.