3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา - Amarin Academy

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าของกิจการ คงจะหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร หลายคนเมื่อเจอปัญหาหนักๆ อาจจะถึงขั้นล้มเลิกความตั้งใจและเลือกที่จะปิดกิจการ แต่คงไม่มีใครอยากให้วันนั้นมาถึง วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติ ในยามที่ ธุรกิจมีปัญหา ให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติมาฝาก

1.หยุดมองโลกในแง่ดี และต้องยอมรับความจริง

“ไม่เป็นไร เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว” ประโยคให้กำลังตัวเองเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่ว่าหลังจากให้กำลังใจตัวเองแล้ว เราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นด้วย โดยการยอมรับความจริงนี้ เป็นขั้นแรกของการแก้ไขปัญหา เพราะหากคุณเอาแต่คิดว่า ไม่เป็นไร และปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม ปัญหาเหล่านั้นก็จะสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ ทับไปทับมา หากคิดจะแก้ไขอีกทีก็อาจจะสายไปเสียแล้ว

เช่น หากคุณพบว่าพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มที่ แล้วคุณละเลย เพราะคิดว่าอย่างไรงานโดยภาพรวมก็ยังได้มาตรฐาน ต่อไปพนักงานคนอื่นอาจจะเอาเยี่ยงอย่าง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกปลูกฝังไปเรื่อยๆ จนเมื่อคุณคิดจะแก้ไขอีกทีก็กลายเป็นว่าคุณกำลัง “ไล่บี้” ทำให้พนักงานไม่พอใจได้ ฉะนั้น หากทำธุรกิจแล้วพบเจอปัญหาเมื่อไร ควรวางแผนแก้ไขทันที เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลายโดยเร็วที่สุด

2.ทำความเข้าใจปัญหาให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด

หลังยอมรับว่าธุรกิจมีปัญหาแล้ว คุณต้องทำความเข้าใจปัญหาโดยละเอียดและรอบด้าน ว่าเกิดจากสาเหตุภายใน เช่น การบริหารงาน การจัดการงานที่ไม่เป็นระบบ ลูกน้องทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดจากปัญหาภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจไม่ดี คู่แข่งมากขึ้น วัตถุดิบขึ้นราคา เป็นต้น

การทำความเข้าใจปัญหานี้ จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุด โดยอาจลองหาทางออกไว้หลายๆ ทาง เผื่อแผนหนึ่งแก้ไม่ได้ ก็จะได้ใช้แผนสอง หรือแผนสามแทน

เช่น หากประสบปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ก็ควรต้องทำความเข้าใจปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใด เกิดจากปัจจัยภายนในหรือภายนอก แล้วค่อยๆ วางแผนในการแก้ปัญหาต่อไป (อ่านเพิ่มเติม: เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย)

3.ยอมรับความช่วยเหลือ

เมื่อเจอต้นตอของปัญหาแล้ว เจ้าของธุรกิจหลายคนก็พยายามหาทางแก้ไข แต่บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็นับว่าใหญ่เอาการ จนไม่รู้จะแก้ไขด้วยตัวคนเดียวอย่างไร ดังนั้นแทนที่จะมัวลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณคงต้องยอมรับความช่วยเหลือ

ขั้นแรก อาจจะลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจก็มีมากมาย และหาได้ง่ายๆ เพียงแค่เสิร์จ Google ก็เจอบทเรียนและวิธีแก้ไขเต็มไปหมด คุณอาจลองนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองดู แต่หากปัญหาของคุณค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อาจจะต้องลองหาเพื่อนทางธุรกิจที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แน่นอนว่าเขาย่อมต้องเคยผ่านปัญหาเหล่านี้มาก่อนบ้าง และอาจจะได้รับคำแนะนำดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ที่สุด และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คุณอาจจะต้องลองหาที่ปรึษาทางธุรกิจที่เชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้มากมาย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมัวลองผิดลองถูกเอง แต่ข้อเสียคือคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร อย่างไรลองเลือกวิธีแก้ไขตามที่ตนเองถนัดดูนะครับ

เมื่อเจอปัญหา อย่าเอาแต่วิตกกังวลไป ลองค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ไขดูนะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ

เรื่องแนะนำ

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

รับช่วงต่อกิจการ

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!!

สมัยนี้คนที่อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือลงทุนอะไรเพิ่มเลยด้วยซ้ำ ด้วย “Ghost.Kitchen” หรือร้านอาหารที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ลองมาดูความเป็นมาและข้อดีข้อเสียของโมเดลร้านอาหารนี้กันครับ “Ghost Kitchen” ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ที่มาของครัวที่มองไม่เห็น “Ghost.Kitchen”  “Ghost.Kitchen” ก็คือการเปิด “ร้านอาหารที่มีแต่ครัว” โดยไม่ต้องเปิดขายหน้าร้าน แต่เน้นรับออเดอร์อาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่เท่านั้น โดยเจ้าของร้านเหล่านี้อาจจะขายอาหารได้แม้จะอยู่ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กภายในตัวเมือง แค่เชื่อมต่อร้านกับแอปลิเคชันเดลิเวอรีต่างๆ หรือรับออเดอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ถ้าใครสะดวกก็จัดส่งเองได้เลย หรือบางคนก็ใช้วิธีจัดส่งเป็นรอบๆ ในพื้นที่บริเวณที่กำหนด เทรนด์อาหารเดลิเวอรี่กับการเติบโตของ Ghost.Kitchen สถิติจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่มีเติบโตขึ้นราวปีละ 10% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของร้านอาหารทั่วไปที่โตแค่ 3-4% ต่อปี สอดคล้องกับการโตของธุรกิจ Ghost.Kitchen โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดที่กระตุ้นให้การเกิดเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่าแม้แต่คนรอบตัวของเรา ก็หันมาขายอาหารผ่าน application หรือออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ก็มีการแชร์ครัวประเภทนี้ร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงทุนทำครัวของแต่ละร้านเอง ตัวอย่างเช่น Grab Kitchen ที่รวมเอาร้านอาหารยอดนิยม 12 ร้าน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.