จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ? - Amarin Academy

จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ?

เชื่อว่าหลายคนที่เคยไปรับประทานอาหารนอกบ้าน น่าจะเคยเจอร้านที่มีเมนูอาหารเยอะมาก บางร้านมีเป็นร้อยเมนู เพราะอาจจะคิดว่า การมีเมนูอาหารเยอะๆ ไว้ก่อน จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย แต่คำถามก็คือ การที่ร้านอาหารมี เมนูเยอะ ช่วยทำให้ลูกค้าพอใจจริงหรือ?

 

 

จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ

ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ?

การที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกเมนูนาน เมื่ออยู่ในร้านอาหารที่มีเมนูหลากหลายนั้น สามารถอธิบายในทางจิตวิทยาได้จากปรากฏการณ์ The Paradox of Choice คือ เมื่อคนเรามีทางเลือกมากขึ้น เรามักจะพอใจกับสิ่งที่เลือกน้อยลง พูดง่าย ๆ คือการรักพี่เสียดายน้องนั่นเอง และในบางครั้ง ความเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ อาจจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลยก็ได้ เช่น ร้านอาหารที่มีเล่มเมนูอยู่หน้าร้านและมีเมนูให้เลือกเยอะเกินไป อาจทำให้ลูกค้าแค่ดูเฉยๆ เลือกไม่ได้ และเดินผ่านไปก็เป็นได้ ดังนั้น ร้านอาหารที่มีเมนูอาหารมากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้าสับสน และตัดสินใจเลือกได้ยากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อร้านอาหารในอีกหลายๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • วัตถุดิบ : ร้านจะต้องสต๊อกวัตถุดิบหลายชนิด เพื่อเตรียมสำหรับทำทุกเมนูในร้าน แม้ว่าบางเมนูอาจจะไม่เป็นที่นิยมและไม่มีลูกค้าสั่ง จึงอาจจะทำให้วัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้มีคุณภาพลดลงหรือหมดอายุไปก่อน เหล่านั้นล้วนเป็นต้นทุนวัตถุดิบทั้งสิ้น
  • ต้นทุน : ทางร้านจะต้องใช้ต้นทุนในการสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น รวมถึงของเสียที่เพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่หมดอายุก็ทำให้ต้นทุนของร้านเพิ่มขึ้นด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนวัตถุดิบทั้งสิ้น
  • ระบบครัว : ต้องเตรียมอุปกรณ์ครัว และแบ่งสเตชั่นในครัวสำหรับรองรับทุกเมนู
  • คุณภาพอาหาร : การที่เชฟจะต้องทำเมนูอาหารหลากหลาย อาจจะทำให้เกิดความสับสน และมีโอกาสทำให้คุณภาพของอาหารต่ำกว่ามาตรฐานได้
  • การบริการ : ลูกค้าใช้เวลาตัดสินใจเลือกเมนูอาหารนานขึ้น ทำให้พนักงานต้องเสียเวลารอมากขึ้น กระทบต่อเวลาการบริการให้กับลูกค้าโต๊ะอื่นๆ
  • ยอดขาย : เมื่อลูกค้าใช้เวลานานขึ้น ทำให้ร้านรับจำนวนลูกค้าต่อวันได้น้อยลง และเสียโอกาสในการขายให้กับลูกค้าคนอื่นๆ  

เมนูเยอะ

จะเห็นได้ว่าร้านอาหารไม่จำเป็นต้องมีเมนูอาหารที่หลากหลายเกินไป แต่ควรมีเมนูอาหารจำนวนพอประมาณ และเลือกเมนูที่เด่นๆ ของร้านจริงๆ เพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบ และตัดสินใจสั่งได้ สำหรับร้านไหนที่มีรายการอาหารมาก ทางผู้ประกอบการควรพยายามลดจำนวนเมนูอาหารลง โดยมีแนวทางในการแก้ปัญหา ดังนี้

  • ตัดเมนูที่ไม่เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้านออก เพราะมีโอกาสน้อยที่ลูกค้าจะสั่ง
  • ตัดเมนูที่ไม่เป็นที่นิยม ขายไม่ดี หรือกำไรน้อย เพื่อไม่ให้ต้นทุนจมกับค่าวัตถุดิบ
  • ตัดเมนูที่ใช้วัตถุดิบและมีกระบวนการทำที่เฉพาะเจาะจงเกินไป
  • พนักงานสามารถช่วยให้คำแนะนำกับลูกค้า ทำให้การตัดสินใจของลูกค้าง่ายขึ้น 
  • ทางร้านอาจจะตั้งเมนูแนะนำ หรือโปรโมชั่น เพื่อลดเวลาในการตัดสินใจของลูกค้าได้ 
  • จัดเป็นชุดเมนู (Set Menu) โดยการนำเมนูที่น่าสนใจ มาจัดไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และได้ลองเมนูอื่นๆ ที่อยากทาน

เมนูเยอะ

ในกรณีที่ลูกค้านึกไม่ออกว่าจะทานอะไรดี มีบางร้านที่แก้ด้วยวิธีสร้างสรรค์ โดยการตั้งเมนู “อะไรก็ได้” ซึ่งเป็นอาหารแบบสุ่มตามใจเชฟ โดยระบุได้ว่าไม่ชอบกินวัตถุดิบใดบ้าง หรือบางร้านมีไอเดีย เซียมซีอาหารให้ลูกค้าเขย่า เพื่อเสี่ยงทายเมนูอาหารสำหรับคนที่คิดไม่ออกว่าจะกินอะไร ลูกค้าเองก็สนุกสนาน และเจ้าของร้านเองก็ไม่ต้องรอนาน เป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลดีทั้งสองฝ่าย และยังเป็นจุดขายของร้านได้อีกด้วย 

ดังนั้นการที่ร้านอาหารมี เมนูเยอะ เกินไป อาจจะไม่ได้มีข้อดีอย่างที่เราคิดเสมอไป การที่ลูกค้ามีตัวเลือกให้เลือกเยอะ ส่งผลต่อภาพรวมของร้านในหลายๆด้าน อย่างที่กล่าวมา หากร้านคุณกำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่ ลองปรับรูปแบบเมนูตามที่เราแนะนำ เชื่อว่าลูกค้าจะเลือกเมนูของคุณได้รวดเร็วขึ้นแน่นอน

 

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จิตวิทยาการใช้สี เปิดร้านอาหารควรใช้สีอะไร

กลุ่มลูกค้าองค์กร 5 ประเภท ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่ ควรเจาะตลาด

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

 

เรื่องแนะนำ

ถอดความสำเร็จ “ฌานา” ต้นแบบร้านอาหารออร์แกนิก

อยากทำร้านอาหารออร์แกนิก...แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี? ใครกำลังเจอปัญหานี้ ลองใช้โมเดลของร้าน “ฌานา (Charna)” เป็นต้นแบบดู โอกาสสำเร็จสูงแน่นอน

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ธุรกิจ Food Delivery กำลังมาแรง แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

การจัดการธุรกิจอาหาร

เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการธุรกิจอาหาร ระดับโลก

เมื่อพูดถึงธุรกิจอาหาร หลายคนมักนึงถึง ร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารมากกว่านั้น เราเลยอยากแชร์เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจอาหาร รูปแบบอื่นๆ ให้รู้กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.