9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง ! - Amarin Academy

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี และ 80 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนที่อยู่รอด ปิดกิจการภายใน 5 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

1.ทำเลไม่ดี

เรื่องนี้คือปัญหาหลัก ที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไปไม่รอด ทำเลไม่ดีในที่นี้คือ มองเห็นยาก ไม่มีที่จอดรถ อยู่ในจุดที่กลุ่มลูกค้าไม่มากพอ มีคู่แข่งมากเกินไป เพียงแค่ 3 ปัจจัยนี้ก็ถือว่าโอกาสในการประสบความสำเร็จลดลงไปครึ่งหนึ่งแล้ว ฉะนั้น คิดให้หนัก วิเคราะห์ให้ดี ก่อนเลือกทำเลร้าน

2.เจ้าของร้านไม่ทำงาน

เจ้าของร้านอาหารบางคน เพียงแค่อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร แต่ไม่อยาก “ทำ” ร้านอาหาร หมายถึง ใช้การจ้างผู้จัดการร้าน เพื่อดูระบบหน้าร้าน จ้างเชฟ เพื่อดูหลังร้าน ส่วนตัวเองเข้าร้านบ้าง ไม่เข้าบ้าง ถ้าอยู่ที่ร้านก็นั่งเม้ากับเพื่อนอยู่หลังเครื่องเก็บเงิน เป็นอย่างนี้นานๆ เข้า ไม่รอดแน่นอนครับ เพราะคุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า ตอนนี้ร้านคุณมีปัญหาอะไร ต้องแก้ไขอย่างไร และถ้าเกิดผู้จัดการร้านหรือเชฟลาออกล่ะ จะทำอย่างไร ฉะนั้นหากคิดจะเปิดร้านอาหารจริงๆ และอยากให้ร้านอยู่รอด ไม่ควรหวังพึ่งพนักงานร้านมากจนเกินไป คุณต้องเข้ามาดูแลเองด้วย

3.ผู้จัดการร้านไม่มีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปการจ้างผู้จัดการร้านจะช่วยแบ่งเบาภาระของเราลงไปได้มาก เรียกว่าเป็นตำแหน่งสำคัญ ที่ช่วยดูแลร้าน จัดการระบบและแก้ปัญหาต่างๆ แทนคุณ แต่หากผู้จัดการร้านของคุณไม่มีประสิทธิภาพนี่แย่เลย เพราะแทนที่คุณจะสบายใจ ปล่อยให้ร้านอาหารดำเนินการไปตามระบบ กลับต้องมานั่งปวดหัวกับปัญหาสารพัด เช่น วันนี้ผู้จัดการจะคุมลูกน้องได้ไหม ที่ร้านมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ระบบบัญชีเป็นอย่างไร และอื่นๆ อีกมาหมาย

ฉะนั้นก่อนจ้างผู้จัดการ อย่างเพิ่งรีบร้อน ดูแค่ประวัติการทำงานเพียงอย่างเดียว ลองศึกษาลักษณะนิสัยของเขาก่อน และที่สำคัญ อย่าไว้ใจเขาจนเกินไป คุณต้องลงมาตรวจงานเองด้วย เพราะไม่มีใครรักร้านของคุณเท่าตัวคุณเองหรอกครับ

4.บริการแย่

นี่คือปัญหาใหญี่ที่สุด ที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิดกิจการ บริการ ที่ว่านี้ เริ่มตั้งแต่คุณภาพของอาหาร ซึ่งคุณต้องตรวจสอบ Feedback จากลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ อาจจะใช้การสอบถามเป็นรายบุคคล ให้เขียนลงในใบแสดงความคิดเห็น หรือสังเกตว่าลูกค้ารับประทานอาหารหมดหรือเปล่า ถัดมาคือเรื่องการบริการของพนักงาน ที่ต้องสุภาพ และมีใจรักงานบริการ (อ่านเพิ่มเติม:10 พฤติกรรมพนักงานที่ร้านอาหารควรปรับปรุง) สุดท้ายคือเรื่องบรรยากาศร้าน ที่ต้องทำให้เอื้อต่อการรับประทานอาหาร เช่น สะอาด ไม่มีสัตว์หรือแมลงรบกวน หากร้านเป็นแบบ Open air ก็ควรมีพัดลมหรือเครื่องทำความเย็นบริการลูกค้า การบริการที่ดี จะทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง

5.ไม่ตรวจสอบกระแสเงินสดในร้าน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เงิน คือปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร ไหนจะค่าวัตถุดิบ ค่าแรงพนักงาน ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ที่ต้องจ่ายแทบทุกวัน ทุกสัปดาห์ ร้านไหนระบบดีหน่อยก็เป็นรายเดือน ฉะนั้นกระแสเงินสดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เรียกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจก็ว่าได้

หากสิ้นเดือนไม่มีเงินจ่ายค่าวัตถุดิบ จะเปิดร้านอย่างไร หากไม่มีเงินจ่ายค่าพนักงาน ก็คงต้องเดินเสิร์ฟ เดินเก็บโต๊ะเองแน่ ดังนั้นเจ้าของร้านจึงควรตรวจสอบกระแสเงินสด หากปลายเดือนยอดรายได้รวมเป็นตัวเลขสีแดงบ่อยๆ ก็ถึงเวลาต้องมาจัดการระบบใหม่ ลดต้นทุน เพิ่มกำไรแล้วละ

6.ไม่เข้าใจการคำนวณต้นทุนอาหาร

ปัญหาข้อนี้คือจุดเริ่มต้นของคำว่า คำว่า “ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน” เพราะถ้าคุณไม่รู้ว่าอาหารแต่ละจานมีต้นทุนเท่าไร แล้วจะตั้งราคาได้อย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละวันเรามีกำไรเท่าไร คุ้มค่าเหนื่อยหรือเปล่า

นอกจากนี้ การรู้ต้นทุนอาหารยังช่วยในด้านการทำการตลาดอีกด้วย เช่น หากจะทำโปรโมชั่นร้านอาหาร ควรเลือกเมนูใด ควรลดราคาเท่าไร จึงจะไม่ขาดทุน เป็นต้น

7.เจ้าของร้านลงมือทำเองทุกอย่าง

ส่วนใหญ่ปัญหานี้จะเจอกับร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ยังไม่มีระบบการทำงานที่ชัดเจน เจ้าของร้านมักทำเองแทบทุกหน้าที่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด จริงๆ วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ผิด แต่หากคุณคิดจะขยับขยายร้าน การวิธีนี้คงไม่ใช่วิธีที่ดีแน่ เพราะแทนที่คุณจะมีเวลาไปดูแผนการตลาด กลับต้องมายืนรับออร์เดอร์ แทนที่จะมีเวลาไปทำแผนธุรกิจ กลับต้องมาเสิร์ฟอาหาร หรือแทนที่จะใช้เวลาหลังปิดร้านทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางป้องกันหรือแก้ไข กลับต้องมานั่งคิดคำนวณรายรับ-รายจ่าย

หากคุณอยากจะเติบโตจริงๆ อย่ากอดงานไว้คนเดียว ควรจ้างผู้จัดการร้านเข้ามาดูแล แบ่งเบาภาระยิบๆ ย่อยๆ ของคุณ แล้วเอาเวลาไปพัฒนาร้านของคุณจะดีกว่า

8.ไม่โฆษณา/ประชาสัมพันธ์ร้าน

ในอดีต ร้านอาหารส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคิดถึงการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ร้านเท่าไรนัก จึงทำให้หลายร้านไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และอาจถึงขั้นต้องปิดตัวลง เนื่องจากในอดีตงบประมาณในการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาค่อนข้างสูง ต่างจากปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมากมาย ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ ที่ช่วยให้การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ร้านทำได้ง่ายขึ้น แถมราคาถูกลงอีกด้วย

 

9.ลงทุนมากเกินไป

อันนี้ก็ปัญหาใหญ่ของคนเริ่มต้นทำร้านอาหาร ที่กำหนดงบไว้เท่านี้ ทำๆ ไปเพิ่มอีกเท่าตัว เพราะการเปิดร้านอาหารมีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่คุณคิด (อ่านเพิ่มเติม : ค่าใช้จ่ายไม่คาดคิดในการเปิดร้านอาหาร) ฉะนั้นต้องวางแผนดีๆ อย่าใช้เงินเกินความจำเป็น ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ทั้งหมด หรือต้องเป็นของมียี่ห้อทุกชิ้น เช่น เครื่องครัว จาน ชาม เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น แทนที่จะเอาเงินไปทุ่มกับจานสวยๆ โต๊ะไม้เนี๊ยบๆ เอางบมาลงกับการตลาดดีกว่า คุ้มค่ากว่ากันเยอะ

นี่เป็นเพียงปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลให้ร้านอาหารไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ เรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่ต้องเดินตามนะครับ โอกาสเจ๊งน้อยลง โอกาสประสบความเร็จเพิ่มขึ้นแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.thebalance.com

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

รีวิวร้านอาหารแบบไหนให้เข้าถึงใจสายกิน !

รีวิวสายจิ้น…สร้างจินตนาการให้มากที่สุด เมื่อพูดถึงการรีวิวร้านอาหาร หลายคนคงนึกถึงการรีวิวด้วยภาพเป็นอันดับแรก แต่เชื่อไหมว่าคุณสามารถเรียกลูกค้าให้ต่อคิวหน้าร้านได้โดยที่ไม่ได้มีการโพสต์รูปอาหารใด ๆ ด้วยซ้ำ เพียงแค่ทำให้เขาจินตนาการถึงอาหารของคุณ  ยกตัวอย่าง เช่น ร้านของคุณกำลังจะทำเมนูใหม่ซึ่งเป็นเมนูที่ขายรสชาติที่เผ็ดร้อน อาจเลือกใช้ภาพสีหน้าของคนที่เกิดจากการกินอาหารจานนั้น และเลือกใช้ภาพสีหน้าที่บอกระดับความเผ็ดในระดับต่าง ๆ  คนที่ได้เห็นภาพจะเกิดความรู้สึกสนใจ คิดว่าเมนูนี้จะเผ็ดขนาดไหน และต้องการเปรียบเทียบระดับความเผ็ดเมื่อได้กินเมนูนี้ด้วยตัวเอง ยิ่งคุณสามารถสร้างจินตนาการขึ้นในหัวของคนได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างความรู้สึกคาดหวังที่จะสัมผัสของจริงได้มากขึ้นเท่านั้น อีกหนึ่งรูปแบบในการสร้างจินตนการที่นิยมในปัจจุบันก็คือ  Content ประเภทร้านลับ เมนูลับที่ไม่บอกว่าเป็นเมนูอะไร หรือการรีวิวการกินหน้ากล้องของยูทูเบอร์เกาหลี   รีวิวสายยั่ว…ยั่วเก่งด้วยภาพ กูรูด้านการทำตลาดร้านอาหารให้ทรรศนะว่า การทำร้านอาหารให้น่าสนใจไม่ต่างอะไรกับการยั่วให้คนมาจีบ ขั้นตอนแรกก็คือ การสร้างเสน่ห์ให้ร้านอาหารของตัวเองออกไปยั่วลูกค้าให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพอาหารที่น่ากินที่สุด เสียงของอาหารที่แสดงให้เห็นถึงความกรอบ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่งและวิดีโอ  ที่จะสามารถทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นอยากกิน หรือถ้าร้านสวยมาก ๆ มีมุมถ่ายภาพเยอะ ก็ต้องนำเสนอภาพที่ทำให้ลูกค้าต้องการมาถ่ายรูปในจุดที่สวยที่สุดของร้านของคุณ   รีวิวสายเล่า…จีบให้ติดด้วยเรื่องเล่า             ถ้าภาพสวย ๆ คือยั่วให้อยากรู้จัก เรื่องที่เล่าคือการจีบลูกค้าให้ติด  เพราะคนไม่ได้มาร้านอาหารเพียงเพื่อ ‘กิน’ เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงประสบการณ์รอบด้านที่จะทำให้ลูกค้าได้รับกลับไป ร้านอาหารที่เก่งในการเล่าเรื่อง นอกจากจะสร้างมูลค่าให้เกิดกับสินค้าที่ขายได้แล้ว ยังทำให้เกิดการติดตามในด้านเนื้อหาอีกด้วย นอกจากจะนำจุดขายของร้านมาสร้างเรื่องเล่าในการรีวิวแล้ว คุณต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของร้าน เพื่อเลือกรูปแบบของการเล่าที่สอดคล้องกับความสนใจ […]

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.