เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

ในการทำร้านอาหารนั้น มีรายละเอียดมากมายที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องของ กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่เจ้าของร้านควรศึกษาอย่างละเอียด ว่ามีกฎข้อบังคับใดบ้าง ที่ร้านอาหารจะต้องปฏิบัติตาม สำหรับใครที่ยังไม่ทราบรายละเอียด เราสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ

กฎกระทรวงสาธารณสุข

ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ประกาศกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษา  เพื่อให้กลุ่มร้านอาหารต้องปฏิบัติตาม แบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ สรุปได้ 22 ข้อ ดังนี้

 

ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (20 มิ.ย. 2561)

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้

“อาหารสด” หมายความว่า อาหารที่มีสภาพเป็นของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้

“อาหารประเภทปรุงสําเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทํา ประกอบหรือปรุงสําเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ

“อาหารแห้ง” หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทําให้แห้ง โดยการอบ รมควัน ตากแห้ง หรือวิธีการอื่นใด เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลงและเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น

“เครื่องปรุงรส” หมายความว่า สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ หรือกลิ่นรสชวนรับประทาน เช่น เกลือ น้ําปลา น้ำส้มสายชู ซอส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร หรือมัสตาร์ด

“วัตถุเจือปนอาหาร” หมายความว่า วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ในการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง และให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่บรรจุรวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน

“ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรอง การแจ้งจัดตั้งสถานที่จําหน่ายอาหาร และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม กํากับ หรือดูแลการดำเนินการของสถานที่จําหน่ายอาหารนั้น

 

หมวด 1 สุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร

ข้อ 3  สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีพื้นบริเวณที่ใช้ประกอบ หรือปรุงอาหารต้องสะอาด ทําด้วยวัสดุที่แข็งแรง ไม่ชํารุดและทําความสะอาดง่าย / ผนังหรือเพดานต้องสะอาด ทําด้วยวัสดุที่แข็งแรง และไม่ชํารุด / มีการระบายอากาศเพียงพอ / มีแสงสว่างเพียงพอ / ที่ล้างมือและอุปกรณ์สําหรับล้างมือถูกสุขลักษณะ / โต๊ะที่ใช้เตรียมประกอบหรือปรุงอาหาร หรือจําหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ทําความสะอาดง่าย สภาพดี / โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ต้องสะอาด ต้องแข็งแรง ไม่ชํารุด

ข้อ 4 สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีหรือจัดหาห้องส้วมที่มีสภาพดี พร้อมใช้ จํานวนเพียงพอ สะอาด พื้นระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง มีแสงสว่าง / อ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ / ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียมประกอบอาหาร ที่เก็บ ที่จําหน่าย ที่บริโภคอาหาร

ข้อ 5 สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาดถัง

ข้อ 6 สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย มีการแยกไขมันไปกําจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำ โดยใช้ถังดักไขมัน หรือบ่อดักไขมันที่ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ข้อ 7 สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีมาตรการในการป้องกันสัตว์ แมลงนําโรค และสัตว์เลี้ยง

ข้อ 8 สถานที่จําหน่ายอาหารต้องมีมาตรการอุปกรณ์ หรือเครื่องมือสําหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทํา ประกอบ หรือปรุงอาหาร

หมวด 2 สุขลักษณะของกรรมวิธีการประกอบ การเก็บรักษา และการจําหน่ายอาหาร

ข้อ 9 อาหารสดที่มาปรุง ต้องคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย เก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นสัดส่วน ไม่วางบนพื้นหรือที่อาจทำให้อาหารเปื้อน

ข้อ 10 อาหารแห้งต้องไม่มีการปนเปื้อน ในภาชนะที่บรรจุปิดสนิท เครื่องปรุงรส ต้องได้มาตรฐาน

ข้อ 11 อาหารปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด วางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

ข้อ 12 น้ำดื่ม เครื่องดื่มที่ปิดสนิท วางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ต้องทำความสะอาดภายนอกภาชนะก่อนให้บริการ ถ้าเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ได้อยู่ในภาชนะปิดสนิท ต้องวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

ข้อ 13 ต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของกรมอนามัย

ข้อ 14 ต้องจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งให้สะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด วางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ไม่ระบายน้ำจากถังสู่พื้นที่วางภาชนะ ใช้อุปกรณ์คีบหรือตักน้ำแข็ง สะอาดมีด้ามจับ ห้ามนำอาหารหรือสิ่งของไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค

ข้อ 15 เกี่ยวกับน้ำใช้ ต้องเป็นน้ำประปา ถ้าไม่มีให้ใช้น้ำคุณภาพเทียบเท่า

ข้อ 16 สารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ ต้องติดฉลาก ป้ายให้เห็นชัดเจน แยกเป็นสัดส่วนจากบริเวณที่ใช้ทำ หรือ จำหน่ายอาหาร ห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมี

ข้อ 17 ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบหรือปรุงอาหารบนโต๊ะ หรือที่รับประทานในสถานที่จำหน่ายอาหาร

ข้อ 18 ห้ามใช้เมทานอล หรือเมทิลแอลกอฮอลล์ เป็นเชื้อเพลงในการประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหาร เว้นแต่เป็นแอลกอฮอล์แข็ง

 

หมวด 3 สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่น ๆ

ข้อ 19 ต้องใช้วัสดุปลอดภัย สภาพดี เก็บวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ปกปิดป้องกันการปนเปื้อน ให้มีช้อนกลาง ตู้เย็น ตู้แช่ ตู้อบ เตาอบ ไมโครเวฟ ต้องสภาพดี ไม่ชำรุด

ข้อ 20 เก็บอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ ฆ่าเชื้อภาชนะ หลังทำความสะอาด

 

หมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

ข้อ 21 ต้องสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือพาหะนำโรคติดต่อ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ผู้สัมผัสอาหารต้องสวมใส่เสื้อผ้า อุปกรณ์ป้องกันที่สะอาด ป้องกันปนเปื้อนสู่อาหารได้ ต้องล้างมือ ไม่กระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหาร หรือเกิดโรค

ข้อ 22 สถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้แก้ไขปรับปรุงภายใน 180 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่ ถ้าสถานที่นั้นมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตรให้แก้ไขภายใน 1 ปี ส่วนการดำเนินการตามข้อ 21 ในส่วนการอบรมตามเกณฑ์ฯนั้นให้ดำเนินการภายใน 2 ปี

 

สำหรับกฎกระทรวงสาธารณสุขที่เราได้นำมาแชร์ให้กับผู้ประกอบการ ได้มีการประกาศตั้งแต่ ปี 2561 ซึ่งผู้ประกอบร้านอาหารควรศึกษากฎเหล่านี้ แล้วนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับร้านของตัวเอง เพื่อความถูกต้องและเพื่อสุขอนามัยของเจ้าของร้านและผู้บริโภคครับ

 

ขอบคุณข้อมูล : ratchakitcha

เรื่องแนะนำ

ไวรัสโคโรน่า

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จากข่าวการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 โรคติดต่ออันตรายที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังที่ผ่านมานับพันราย และได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จากเหตุการณ์นี้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายรายในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้    ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้ ไวรัสกระทบร้านอาหาร เสียรายได้หลักหมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลกระทบต่อร้านอาหารตั้งแต่ SME รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ไปแล้วประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจจะสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท    พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดลงส่งผลอย่างมากต่อร้านอาหารในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี  รวมถึงร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่กระจายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้าคนไทยเองก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะ และใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เลือกทานอาหารในร้านที่คนไม่แออัด ซื้ออาหารสำเร็จรูปกลับไปทานที่บ้านแทน […]

เฟ้นหาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยดิจิทัล ในโครงการ SMART CITY D – BOOST CAMP, (EEC FORUM)

ดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และบริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด (DURIAN) จัดโครงการ SMART CITY D - BOOST CAMP

เทรนด์ขนม ปี 2017

7 เทรนด์ขนม ปี 2017 เมนูไหนมาแรง ไปดูกัน!

เดินไปที่ไหนก็เห็นขนมวางขายเรียงรายเต็มไปหมด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค สำหรับใครที่สนใจทำธุรกิตขนม ลองศึกษา เทรนด์ขนม ดูสิว่า ขนมอะไรกำลังเป็นที่นิยม

ผ่านวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน กับเทคนิคปรับตัวของร้านอาหารในช่วงวิกฤติ COVID-19 จาก Penguin Eat Shabu

Penguin Eat Shabu ในสถานการณ์ที่อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นใจ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเศร้าปกคลุม จะดีกว่าไหม ถ้าเรามาเติมไฟในตัวให้ลุกโชนด้วยการนั่งดูสาระดีๆ เก็บความรู้ไปต่อยอด สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารผ่าน LIVE บนช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business กันดีกว่าครับ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้นั่งฟัง “คุณต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu” พูดคุยถึงเรื่อง ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรในช่วง COVID-19? พร้อมคุณโซอี้-ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมในการใช้ LINE เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างน่าสนใจมาก ผมเลยนำประเด็นมาสรุปและเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ Penguin Eat Shabu ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูขวัญใจทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาพร้อมกับสโลแกนน่ารักๆ ว่า “ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น” […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.