เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร - Amarin Academy

เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร

เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร

ร้านอาหารหลายๆ ร้านมักจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ลูกค้า เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ทำกำไรสูง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าลูกค้าดื่มมากไปจนมึนเมา แล้วพนักงานจะต้องเข้าไปจัดการกับเขาอย่างไรนี่สิ ปัญหา เพราะถ้าแก้ไขไม่ดี อาจเกิดปัญหาใหญ่โตตามมาทีหลังได้ วันนี้เราจึงมีข้อแนะนำดีๆ สำหรับการ จัดการกับ ลูกค้าเมา มาแนะนำครับ

1.สังเกต

พนักงานเสิร์ฟต้องคอยสังเกตว่า ลูกค้าที่ดื่มมากๆ เริ่มมีอาการมึนเมาหรือยัง โดยสังเกตจากสีหน้า ท่าทาง คำพูด ของลูกค้า อย่าประเมินเพียงแค่ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ลูกค้าดื่มไปเท่านั้น เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการทนต่อแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน

2.หยุดเสิร์ฟ เสนออย่างอื่นแทน

เมื่อสังเกตว่าลูกค้าเริ่มมึนเมา พนักงานต้องหยุดเสิร์ฟเครื่องดื่มให้ลูกค้าทันที (อย่ามัวแต่เสียดายรายได้ เพราะถ้าลูกค้าเมาอาละวาดขึ้นมา จะได้ไม่คุ้มเสีย) แต่การหยุดเสิร์ฟไปเฉยๆ อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้ ฉะนั้นแทนที่จะรอให้ลูกค้าสั่งแอลกอฮอล์เพิ่ม อาจจะลองเข้าไปเสนอเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น ชา กาแฟ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการมึนเมาได้บ้าง หรือถ้าลูกค้ายังคงไม่ยอมอาจจะเสนอเครื่องดื่มตัวอื่นที่มีแอลกอฮอล์เจือจางแทน และทางที่ดี อย่าปฏิเสธลูกค้าแบบตรงๆ แต่พูดในเชิงแนะนำว่า ตอนนี้ทางร้านมีสูตรเครื่องดื่มตัวใหม่ อยากให้ลูกค้าลองดื่ม เป็นต้น

แต่ถ้ายังไม่ยอม หรือแสดงอาการโวยวาย เริ่มส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น เจ้าของร้านหรือผู้จัดการ อาจจะต้องพาลูกค้าออกไป สงบสตินอกร้าน หรือหากเกินกว่าที่จะจัดการได้จริงๆ อาจจะต้อง แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

3.บริการด้วยความสุภาพ

ร้านอาหารหลายร้าน คงเจอลูกค้าที่เริ่มเมาแล้ว โวยวาย พูดจาไม่สุภาพ แต่พนักงานทุกคน ต้องจำไว้เสมอว่า อย่าใช้อารมณ์ในการตอบโต้กับลูกค้าที่เมาโดยเด็ดขาด เพราะอาจยิ่งทำให้ สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ดังนั้นควรส่งพนักงานที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เข้าไปจัดการแทน โดยพยายามพูดคุยด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ทำให้เขาพึงพอใจมากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เชื่อว่าเหตุการณ์น่าจะดีขึ้นแน่นอน โดยร้านอาหารที่เปิดบริการในเวลากลางคืนส่วนใหญ่ เช่น ข้าวมันไก่โกอาง ประตูน้ำ ก็ใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหา

4.ส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัย

หากลูกค้าดื่ม ในปริมาณเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเดาได้ว่าหากปล่อยเขากลับตามลำพัง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุแน่นอน พนักงานต้องแนะนำให้เขากลับโดยรถแท็กซี่แทน โดยเสนอให้เขาจอดรถไว้ที่ร้าน แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยมาขับกลับไป หากเขายังยืนยันที่จะขับกลับ หรือ ปฏิเสธการนั่งรถแท็กซี่ เจ้าของร้าน จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะหากปล่อยให้เขา ขับรถกลับอาจเป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง หรือผู้อื่นอีกด้วย หน้าที่นี้นับเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด

วิธีที่แนะนำมานี้ เป็นเพียงเทคนิคการจัดการกับลูกค้าเมาเบื้องต้นเท่านั้น เพราะสถานการณ์แต่ละสถานการณ์นั้นแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นเจ้าของร้านอาจจะต้องนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป

เรื่องแนะนำ

ข้อผิดพลาดทางการตลาด

5 ข้อผิดพลาดทางการตลาด ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

หากก้าวแรกที่เริ่มเดินก็ผิดเสียแล้ว ก้าวต่อๆ ไปก็ไม่แคล้วผิดตามไปด้วย อย่างนั้นมาดู 5 ข้อผิดพลาดทางการตลาด ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้กันดีกว่า

บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว! ปัจจัยที่ต้องทำ ถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ”

ถอดบทเรียน บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว ร้านตั้งข้อสังเกต ลูกค้าไม่กลับมาอีก เพราะร้านไม่พร้อม ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ” บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว… เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์เล่าเรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ ไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาได้ตั้งขอสงสัยว่าอาจเป็นเพราะว่าวันที่ลูกค้ากลุ่มนั้นมาใช้บริการ ทางร้านมีโต๊ะไว้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ไม่ตอบโจทย์จึงไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาโพสต์ว่า “บางทีลูกค้าก็ไม่ได้มีให้โอกาสเราแก้ตัวนะครับ มาครั้งแรกวันที่โต๊ะไม่พอกันนั่ง หลังจากวันนั้น ผมซื้อโต๊ะใหม่เลย ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่ได้มาอีกเลยครับ แต่ก็ขอบคุณมากๆ ครับ ที่มาในครั้งนั้น ทำให้รู้ว่าเรายังมีส่วนไหนที่ต้องปรับ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มาอีกนะครับ เพราะตอนนี้ร้านเงียบมาก โล่งสุด พ่อค้านั่งตบยุงรอครับ ”   🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟรวมถึงลูกค้าต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเจ้าของร้านรายนี้กันอย่างล้นหลาม บ้างก็ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะเป็นลูกค้าขาจร ที่อาจจะผ่านและแวะเข้ามาใช้บริการ เช่น “เขาอาจจะแค่แวะมาแบบขาจรแล้ววันนั้นร้านคุณสวยเลยมาบรรจบที่ร้านคุณ เรื่องที่นั่งไม่แปลกหรอกค่ะ ร้านเปิดแรก ๆ ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ใส่ใจเรื่องรสชาติของสินค้าในร้านดีกว่าค่ะ ต่อให้ไม่มีที่นั่ง ถ้าของอร่อยลูกค้าก็มาซื้อค่ะ แต่ก็ดีแล้วที่ใส่ใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข สู้ ๆ นะคะ ” “บางทีเป็นขาจรมาแวะค่ะ อย่าหมดหวัง ถ้าเขาผ่านมา เชื่อว่าเขาแวะแน่นอนค่ะ” […]

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

ทำอาหารไม่เป็น

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ?

จากการที่เราสังเกตและวิเคราะห์พบว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนกันบางอย่าง ที่ทำให้เขาเปิดร้านอาหารได้ ทั้งๆ ที่ ทำอาหารไม่เป็น เราจะมาสรุปให้ฟัง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.