ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร - Amarin Academy

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวังเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร คือ การบริการ เขาไม่สนหรอกว่า ร้านจะตกแต่งสวยงาม หรูหราแค่ไหน อาหารจะอร่อยเพียงใด ถ้าบริการแย่ ทุกอย่างก็จบ นอกจากจะไม่ประทับใจในมื้ออาหารนั้น และไม่คิดจะกลับมาใช้บริการอีกแล้ว ยังอาจบอกต่อเพื่อนๆ หรือคนรู้จักไม่ให้มากินร้านอาหารของคุณอีกต่างหาก ฉะนั้นเจ้าของร้านต้องเอาใจใส่ในการบริการให้มากเป็นพิเศษ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง อย่างนั้นลองมาดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ กันดีกว่าว่า ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

1.ลูกค้าถูกเสมอ

นี่คือกฎข้อสำคัญในการทำธุรกิจทุกประเภท แม้ว่าลูกค้าจะผิดจริงๆ ก็ตาม คุณไม่ควรพูดออกไป เพราะนั่นอาจส่งผลเสียต่อร้านโดยตรง

ก่อนอื่นเจ้าของร้านต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกค้าว่า เขาต้องการบริการที่ดีที่สุด หากมีส่วนใดขาดตกบกพร่องไปจากที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความผิดของร้าน ฉะนั้นหากลูกค้าไม่พอใจ ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม สิ่งแรกที่พนักงานบริการควรทำคือ รับฟังคำตำหนิหรือข้อแนะนำอย่างเต็มใจ กล่าวคำขอโทษ และรีบแก้ไขข้อผิดพลาดโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้วิธีที่คุณนำมาใช้จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวตัดสินเลยว่า ลูกค้าจะกลับมาเป็นลูกค้าประจำ หรือไม่กลับมาที่ร้านคุณอีกเลย

2.บริการที่ดี ต้องดีแบบครบวงจร

เริ่มตั้งแต่พนักงานต้อนรับ ซึ่งเป็นเหมือนหน้าตาของร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานในครัว ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด ทุกคนในร้านต้องเต็มใจบริการ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้าน พนักงานต้องต้อนรับด้วยรอยยิ้ม สอบถามข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น เช่น มากี่ท่าน หากมีเด็กมาด้วย ต้องการเก้าอี้เสริมหรือไม่ จากนั้นจึงพาเข้าไปในร้าน ดูแลการนั่งให้เรียบร้อย และส่งเมนูอาหารให้เลือก รอสักพัก พนักงานจึงรับออร์เดอร์ โดยคอยให้คำแนะนำและใส่ใจสิ่งที่ลูกค้าพูดตลอดเวลา ไม่หันไปคุยกันเองหรือผละไปทำงานอื่นๆ

เมื่อลูกค้าสั่งเสร็จ ต้องทวนรายการอาหาร จากนั้นจึงส่งออร์เดอร์เข้าครัว  โดยพนักงานในครัวควรตรวจสอบรายการอาหารก่อนลงมือทำ และต้องสังเกตว่ามีคำขอพิเศษอื่นๆ หรือไม่ เช่น ไม่ใส่ผัก ไม่ใส่กระเทียม เป็นต้น เพื่อจะได้ทำอาหารให้ตรงตามที่สั่ง จากนั้นจึงนำมาเสิร์ฟ อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ปล่อยให้อาหารเย็นชืด หมดความอร่อย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบริการเท่านั้น  จริงๆ แล้วยังมีขั้นตอนอีกมาก เจ้าของร้านควรสร้างวัฒนธรรมภายในร้านให้พนักงานบริการดีที่สุด เพื่อจะได้ทำให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด

3.อย่าเปิดให้จองโต๊ะเกินจำนวน

หากร้านอาหารของคุณมีบริการจองโต๊ะ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่า คุณมีที่พอสำหรับช่วงเวลานั้นจริงๆ ไม่ใช่ลูกค้าจองโต๊ะตอน 6 โมงเย็น เมื่อเขาเดินทางมาถึงกลับบอกว่าต้องรอประมาณ 30 นาที แบบนี้เป็นใครก็ไม่ชอบใจจริงไหม

ทั้งนี้หากเจ้าของร้านบริหารจัดการการจองโต๊ะได้ดี จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จัดสรรโต๊ะอย่างเป็นระบบ พนักงานครัวรู้ว่าต้องเตรียมอาหารสำหรับคนลูกค้ากี่ที่ เป็นต้น

กลับกันหากวางแผนการจองที่ไม่ดี ก็อาจทำให้ร้านวุ่นวาย ที่นั่งไม่พอ ลูกค้าไม่พอใจ คนในครัวทำอาหารไม่ทัน เป็นต้น

สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ คุณควรสร้างสมดุลระหว่างคนที่จองโต๊ะกับแขกที่ Walk-in ด้วย โดยไม่ควรเปิดให้จองโต๊ะทั้งหมด โดยไม่เหลือที่สำหรับลูกค้า walk-in เลย เพราะถ้ามาถึงแล้วมีโต๊ะว่างเต็มไปหมด แต่กลับเข้าไปนั่งกินไม่ได้ เขาต้องอารมณ์เสียแน่นอน

 

6.ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของลูกค้าประจำ

ร้านอาหารหลายร้านคงมีลูกค้าประจำที่มาร้านคุณบ่อยมากๆ (แต่อาจจะไม่ได้สั่งอาหารมาก) เช่น คู่รักที่มากินมื้อเย็นที่ร้านคุณทุกสัปดาห์ พนักงานออฟฟิศที่มานั่งดื่มเบียร์ร้านคุณทุกเย็น เจ้าของร้านอาหารควรลองสังเกตว่าพวกเขาชอบรับประทานอะไร มาเวลากี่โมง เมื่อเขามาครั้งถัดไป อาจลองทักทายว่า วันนี้มาตรงเวลาเหมือนเดิมเลยนะครับ หรือพวกพูดว่า เมนู…เหมือนเดิมใช่ไหมครับ พร้อมรอยยิ้ม เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่า คุณจำเขาได้และใส่ใจเขาจริงๆ

5.เงินทิป บอกอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

เงินทิป คือเครื่องมือที่บ่งชี้ว่าลูกค้าประทับใจในร้านอาหารของคุณมากน้อยแค่ไหน การที่ร้านคุณได้ทิปน้อย ไม่ได้หมายความว่า บริการของพนักงานเสิร์ฟย่ำแย่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจหมายถึงเขาไม่พอใจในรสชาติอาหาร ไม่พอใจเรื่องความสะอาดของร้าน หรือไม่พอใจเรื่องราคา ก็เป็นได้ ฉะนั้น แทนที่คุณจะไล่บี้กับพนักงานเสิร์ฟเพียงอย่างเดียว ต้องลองสังเกตส่วนอื่นๆ ของร้านประกอบด้วย

6.สอบถามความพึงพอใจจากลูกค้าเสมอ

ทุกครั้งที่ลูกค้าเรียกเก็บเงิน ควรสอบถามความพึงพอใจจากเขา เช่น รสชาติอาหารเป็นอย่างไรบ้างครับ การบริการเป็นอย่างไร อยากให้ปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่าครับ เป็นต้น แต่ลูกค้าบางคนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น คุณอาจใช้วิธีให้เขียน Comment แทน

เมื่อรวมรวม Feedback แล้ว ไม่ว่าดีหรือแย่ ควรแจ้งพนักงานทุกครั้ง แม้ว่าคำตำหนิจะเป็นสิ่งที่พวกเขา หรือแม้แต่คุณเองไม่อยากได้ยิน แต่มันคือเครื่องมือชิ้นสำคัญในการพัฒนาร้านอาหารให้ดีขึ้น

7.รู้วิธีจัดการกับลูกค้าที่ “มีปัญหา”

หากร้านอาหารของคุณเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอฟันธงเลยว่า ต้องเจอปัญหาลูกค้า “ดื่มมากเกินไป” อย่างแน่นอน ดังนั้น คุณต้องเทรนด์พนักงานทุกคนให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวให้ได้ เพื่อที่ลูกค้าคนนั้นจะได้ไม่สร้างความรำคาญใจให้พนักงานคนอื่น

อย่างแรก คุณต้องงดเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสนอเครื่องดื่มอื่นๆ หรือให้เขาแทน โดยใช้การเจรจาอย่างสุภาพ แต่ถ้าเขาเริ่มโวยวายหรือส่งเสียงดัง ควรพาเขาออกนอกร้านโดยเร็ว และสุดท้ายหากควบคุมสถานการณ์ไม่ได้จริงๆ อาจต้องแจ้งตำรวจให้มาจัดการแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกการกระทำต้องทำอย่างสุภาพ และให้เกียรติลูกค้าให้มากที่สุด

8.ใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์

หากร้านอาหารของคุณมีเพจในเฟซ์บุ๊ก หรือ IG ลองใช้ช่องทางนี้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ตอบโต้กับเขาด้วยความเป็นกันเอง หากพวกเขาลงรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารของคุณ ก็ควรเข้าไปขอบคุณ กดไลค์ หรือแชร์ลงเพจ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ แม้ไม่ได้เดินทางมาใช้บริการที่ร้านก็ตาม

หากร้านอาหารไหน สามารถทำได้ตามนี้ รับรองว่าลูกค้าจะประทับใจในการบริการของคุณแน่นอน

เรื่องแนะนำ

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

ประหยัดค่าใช้จ่าย

8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน

เป็นที่ทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายของธุรกิจร้านอาหารค่อนข้างสูง เราจึงมี 10 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน ที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ช่วยลดรายจ่ายได้จริง คอนเฟิร์ม!

ตลาดเด็กรุ่นใหม่

แนวคิดจับ ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ที่ใครๆ กำลังจับตา

ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ถ้าทำให้เขารักได้ เขาจะรักเลย คือแนวคิดการทำการตลาดของ Hotto bun ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับจะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

วิเคราะห์ SWOT

วิธี วิเคราะห์ SWOT อย่างง่ายๆ เปิดร้านอาหารไม่มีเจ๊ง

การ วิเคราะห์ SWOT คือเทคนิคการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง - โอกาส อุปสรรค เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เจ้าของกิจการรู้ว่าควรจะดำเนินกิจการไปในทิศทางใดจะประสบความสำเร็จ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.