ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด - Amarin Academy

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน 

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ
เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ


ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร

  • เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ
    ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ
  • สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP)
    เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น

    ต้นทุน

 

  • ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม
    อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น
  • หลักการปรุงแบบ Zero-waste
    คือความพยายามในการนำวัตถุดิบทุกส่วนมาปรุงอาหาร โดยตัดหรือหั่นให้เหลือทิ้งน้อยที่สุด เป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า เช่น เศษเนื้อปลาจากการตัดแต่งวัตถุดิบ สามารถนำไปมาดัดแปลงเป็นเมนูอื่นๆ อย่างลูกชิ้นปลา ห่อหมกปลา ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบ ลดปริมาณขยะในครัว และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้
  • แบ่งหน้าที่แก่พนักงานให้ชัด
    มอบหมายงานในการจัดการสต๊อกแก่พนักงานให้ชัดเจน และนับสต๊อกหลังจากที่ปิดร้านในแต่ละวัน เพื่อตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบที่ใช้จริงในแต่ละวัน ลดการทุจริตของพนักงานและช่วยให้ง่ายต่อการจัดการ 
  • สร้างความร่วมมือในทีม
    เจ้าของร้านอาจจะสร้างมีข้อตกลงร่วมกันกับพนักงานในการลดของเสียที่เกิดขึ้นในร้าน หรือระดมความคิดเปิดรับข้อเสนอแนะ จากพนักงานในแต่ละตำแหน่งเกี่ยวกับวิธีลดต้นทุนที่สามารถทำได้

พนักงานร้านอาหาร

รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

ปัญหาพนักงานลาออกบ่อย ๆ ส่งผลให้การทำงานในร้านไม่ต่อเนื่อง เจ้าของร้านต้องเสียเวลาเปิดรับสมัครพนักงาน เสียงบประมาณในการเทรนนิ่งเรื่องต่างๆ และพนักงานเก่าเองก็ต้องแบ่งเวลามาสอนงานให้พนักงานใหม่ เรียกได้ว่าเป็นต้นทุนแฝงชนิดหนึ่ง ดังนั้น เราต้องคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพ และพยายามรักษาเอาไว้กับร้าน เพื่อลดปัญหาเรื่องคนและการทำงานในร้านอาหาร  

ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

เจ้าของร้านควรตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายของทุกฝ่ายในร้าน ดูทั้งในภาพรวมและลงรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ของแต่ละวัน ค่าแรงพนักงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ทราบได้ทันทีหากเกิดปัญหาในด้านไหนขึ้น เช่น ถ้ายอดขายของร้านคงที่ แต่กำไรน้อยลงกว่าเดิม อาจจะต้องกลับไปเช็กว่าปัญหาเกิดจากค่าใช้จ่ายด้านไหน และคิดหาวิธีแก้ไขต่อไปให้ถูกจุด

เมนูทำกำไร

โปรโมทสินค้าที่ทำกำไร

นอกจากลดต้นทุนแล้ว เรายังสามารถเพิ่มกำไรจากการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในเมนูที่ได้กำไรสูง ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มพวกน้ำผลไม้ ชา กาแฟ ที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ได้กำไรสูงและขายได้ง่ายกว่า รวมถึงอาหารประเภทแป้งอย่างสปาเกตตี พิซซ่า พาสต้า ขนมปัง ก็มีต้นทุนที่ไม่สูงนักและทำกำไรได้ดี ฉะนั้นควรให้พนักงานโปรโมทการขายเมนูที่ทำกำไรได้สูงในร้านเป็นพิเศษ 


เมื่อรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ แล้ว เจ้าของร้านก็ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับร้านของตัวเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรและพัฒนาร้านอาหารกันต่อไปนะครับ

 

เรื่องแนะนำ

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” คือเมนูเดียวกันไหม?

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูคิดไม่ตก ทั้งร้านและลูกค้า สั่งอันนี้ได้อีกอย่าง ตกลงเมนูเดียวกันไหม? “กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูเดียวกันหรือเปล่า? เป็นเมนูที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับทั้งคนกิน คนขาย เป็นอย่างมากกับเมนู “กะหล่ำผัดน้ำปลา” และ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” ที่บางทีก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกค้าและร้านได้ เมื่อเมนูนี้มาเสิร์ฟ ซึ่งล่าสุดก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้มาทวีตภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าจริง ๆ แล้ว 2 เมนูนี้ คือคนละเมนูกัน! โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ได้ทวีตรูป 2 เมนูที่เป็นประเด็นพร้อมข้อความว่า “เทียบให้เห็นภาพ ซ้าย กะหล่ำ “ผัดน้ำปลา” ขวา กะหล่ำ “ทอดน้ำปลา” ที่เรามีปัญหาเพราะร้านอาหารส่วนมากจะเขียนลงเมนูว่า กะหล่ำทอดน้ำปลา แต่ทำออกมาหน้าตาแบบกะหล่ำผัด กะหล่ำผัดน้ำปลาจะน้ำเจิ่งนอง ผัดนิ่ม กะหล่ำทอดน้ำปลาจะแห้ง น้ำมันเคลือบผิวกะหล่ำ เกรียม ๆ น้ำปลาไหม้ ต่างอย่างเห็นได้ชัด” 🔸ความเห็นชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์ประสบการณ์ของตนเองด้วยเหมือนกัน เช่น 🗣💬 “เคยทำให้แฟนกินครั้งนึง เราทำออกมาแบบขวา ผช.บอกทำกับข้าวแค่นี้ก็ไหม้ […]

การบริหารพนักงาน

เทคนิค การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

ทุกวันนี้ร้านอาหารไทย มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติ กลายเป็นความท้าทายของเจ้าของร้านอาหารไทยในยุคนี้ว่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อ การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.