ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการลูกค้าเหมือนเจ้าของร้าน - Amarin Academy

ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการลูกค้าเหมือนเจ้าของร้าน

ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการลูกค้าเหมือนเจ้าของร้าน

ทำยังไงให้พนักงานบริการดี ? นี่คือปัญหาลำดับต้นๆ ที่เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่มักเจอ เพราะไม่ว่าจะเทรนด์พนักงานสักเท่าไร ก็ยังบริการไม่ดีเท่าที่เราคาดหวัง แล้วอย่างนี้จะมีวิธีไหนที่ช่วยให้พนักงานบริการดี เทียบเท่ากับที่เจ้าของร้านบริการเองได้บ้าง เราได้รวบรวมเทคนิคดีๆ จากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหารหลายๆ ร้าน ที่ใช้ในการ  ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการดี เหมือนที่เราบริการลูกค้าเองมาฝาก

1.ซื้อใจด้วยการกระทำ มากกว่าคำพูด

ปัญหาสำคัญที่ทำให้พนักงานบริการไม่ดีนัก มักมาจากตัวเจ้าของร้านเอง เจ้าของร้านอาหารหลายๆ รายมักใช้วิธี “บอกหรือสั่ง” ให้ลูกน้องทำตาม เช่น บริการลูกค้าดีๆ หน่อย ยิ้มให้เยอะๆ เขาจะได้ประทับใจ แต่ตัวเองกลับมีสีหน้าเคร่งเครียดทุกวัน ไม่เคยยิ้มแย้มเลย อย่างนั้นจะคาดหวังให้ลูกน้องบริการลูกค้าดี ได้อย่างไร

หรืออีกกรณีหนึ่งคือ สัญญากับลูกน้องว่าจะทำสิ่งนี้ให้ เช่น ขึ้นเงินเดือน มีโบนัส หรือแก้ปัญหาที่ลูกน้องกำลังเผชิญ แต่สุดท้ายก็ไม่ทำตามคำสัญญา ลูกน้องก็จะเริ่มหมดศรัทธาในตัวคุณ จนไม่อยากทุ่มเทในการทำงานอีกต่อไป

ฉะนั้นการทำให้ลูกน้องได้เห็น พิสูจน์ด้วยการกระทำ คือสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพราะจะทำให้เขารู้สึกเชื่อมั่น เชื่อใจว่าคุณเป็นต้นแบบที่ดีให้พวกเขาได้ จำไว้เสมอว่า “ถ้าอยากให้ลูกน้องบริการลูกค้าแบบไหน เราก็จงทำเช่นนั้น”

2.ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม

“อย่าคาดหวังงานที่มีคุณภาพสูง จากค่าตอบแทนที่ต่ำ” นี่คือประโยคสุดคลาสิกที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้ ลองคิดดูง่ายๆ ถ้าคุณได้เงินเดือนต่ำมาก ไม่สมกับค่าเหนื่อยที่เสียไป เจ้าของร้านจ่ายเงินตรงเวลาบ้าง ไม่ตรงเวลาบ้าง หรือจ่ายขาด โอทีไม่ครบคุณจะตั้งใจทำงาน ทุ่มเทในหน้าที่หรือเปล่า คำตอบก็คงไม่

สิ่งที่ทุกคนคาดหวังจากการทำงานคือค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ฉะนั้นเจ้าของร้านต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ลองคิดว่าตัวเองเป็นพนักงานคนหนึ่ง แล้วอยากให้ร้าน ทำอะไรให้บ้าง ก็ควรจะทำเช่นนั้นให้ลูกน้องเหมือนกัน

3.อย่าดูแลแค่ในหน้าที่

เจ้าของร้านอาหารบ้างคนมักแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวชัดเจน พนักงานมีหน้าที่ทำงาน รับเงินเดือน เจ้าของร้านก็มีหน้าที่จ่ายเงินเมื่อถึงเวลาที่กำหนดเท่านั้น แม้ว่าการทำแบบนี้จะมีข้อดีคือ เจ้าของร้านไม่ต้องเหนื่อยรับฟังปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะเมื่อช่องว่างระหว่างพนักงานกับเจ้าของร้านมีมากเกินไป เวลาที่งานมีปัญหา เขาก็จะไม่กล้าบอก กว่าเจ้าของร้านจะรู้อีกที ปัญหาก็อาจลุกลามจนแก้ไขได้ยากแล้ว และเขาจะรู้สึกว่าตัวเองก็แค่ทำตามหน้าที่ ไม่ต้องทุ่มเทอะไรมากมาย เพราะเจ้าของร้านก็ไม่เคยใส่ใจ หรือทุ่มเทเพื่อเขาเหมือนกัน

ดังนั้นหากอยากให้พนักงานรู้สึกอยากทุ่มเทให้ร้านมากขึ้น ลองเข้าไปคลุกคลีกับพวกเขา รับรู้ความเป็นไป ดูแลให้มากกว่าการเป็นนายจ้างกับลูกน้อง เขาจะเริ่มซึมซับกับวัฒนธรรมนี้และดูแลลูกค้าเหมือนที่เราดูแลเขา

4.ให้ความสำคัญกับความคิดเห็น

บางคน อาจเห็นว่าพนักงานเป็นแค่ลูกน้อง ไม่ได้มีหน้าที่ในการช่วยวางแผน แก้ไข หรือพัฒนาร้าน จึงเลือกวางแผนทุกอย่างเองและให้ลูกน้องทำตามเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ความคิดเห็นของพนักงานคือสิ่งสำคัญมาก อย่าลืมว่าเขาคือคนที่ทำงานทุกวัน อยู่กับร้านตลอดเวลา เห็นถึงกระบวนการและปัญหาต่างๆ มาโดยตลอด ดังนั้นลองรับฟังคำแนะนำจากพวกเขาดู เพราะนอกจากร้านจะได้วิธีการดีๆ มาพัฒนาหรือปรับปรุงร้านแล้ว ยังทำให้พนักงานรู้สึกภาคภูมิใจ ที่ความคิดเห็นของตัวเองมีส่วนช่วยร้านพัฒนายิ่งขึ้น ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และอยากจะช่วยทำให้ร้านของคุณเติบโตต่อไป

5.สวัสดิการต้องพร้อม

สวัสดิการคือสิ่งที่ลูกน้องคาดหวังจากการทำงาน (ไม่แพ้เงินเดือน) ร้านอาหารหลายๆ ร้านมักบอกกับเราว่า สวัสดิการคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานอยากทำงานกับร้านนานๆ โดยสวัสดิการที่ว่านี้ เช่น อาหารกลางวัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ลาพักร้อน ลาป่วย ยูนิฟอร์มพนักงาน ที่พัก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกมั่นคงในการทำงานมากขึ้น และอยากจะทำงานให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เจ้าของร้านมอบให้

6.คำชมต้องขยาย คำต่อว่าต้องส่วนตัว

ข้อสุดท้ายเป็นเรื่องของหลักจิตวิทยา สำหรับพนักงานที่ทำหน้าที่ได้ดี ย่อมต้องการคำชมเชย เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน และหากเราชมต่อหน้าคนอื่นๆ ก็ยิ่งทำให้เขารู้สึกภาคภูมิใจยิ่งขึ้น

แต่ข้อควรระวังคือ เจ้าของร้านต้องชมพนักงานด้วยใจที่เป็นกลาง ชมที่เนื้องานจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดข้อครหาว่าพนักงานคนนี้เป็น “คนโปรด” กลายเป็นข้อขัดแย้งได้ แต่ถ้าใครกังวลกับปัญหานี้อาจใช้วิธีให้พนักงานคนอื่นๆ ร่วมกันโหวต ว่าใครทำหน้าที่ได้ดีที่สุด แล้วให้รางวัลตอบแทน ก็จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

กลับกัน หากพนักงานทำผิด ไม่ควรต่อว่าเขาต่อหน้าพนักงานคนอื่นๆ อย่างรุนแรง อาจใช้วิธีตักเตือนได้ เพื่อไม่ให้คนอื่นทำตามได้ แต่ถ้าจะต่อว่าหรือตำหนิอย่างจริงๆ จังๆ ควรเรียกมาคุยส่วนตัว เพื่อไม่ให้พนักงานคนนั้นรู้สึกเสียหน้า หรืออับอาย และเปิดโอกาสให้เขาได้แก้ไขปรับปรุงตัวได้สะดวกใจยิ่งขึ้น (ไม่ต้องมานั่งกังวลกับสายตาและคำนินทาของเพื่อนร่วมงานว่า “โดนด่ายับ” )

การทำเช่นนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าเจ้าของร้านเข้าอกเข้าใจเขา และอยากทุ่มเทให้ร้านมากยิ่งขึ้น เป็นการตอบแทน

6 ข้อนี้คือส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้พนักงานบริการดี อยากทุ่มเทกับร้านมากยิ่งขึ้น แต่มีอีกสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านจะมองข้ามไม่ได้คือ ต้อง “จริงใจ” กับลูกน้อง เพราะถ้าเขารู้สึกว่าเจ้าของร้าน “ให้ใจ” เขาก็จะให้ใจคุณกลับเช่นกัน

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

โครงสรา้ง ต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร คือตัวชี้แนะแนวทางว่า ถ้าคุณจะเปิดร้านอาหารสัก 1 ร้าน ควรลงทุนกับสิ่งใดเท่าไรบ้าง และถ้าลงทุนเท่านี้ กี่ปีถึงจะคืนทุน

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

เมนูเยอะ

จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ?

เชื่อว่าหลายคนที่เคยไปรับประทานอาหารนอกบ้าน น่าจะเคยเจอร้านที่มีเมนูอาหารเยอะมาก บางร้านมีเป็นร้อยเมนู เพราะอาจจะคิดว่า การมีเมนูอาหารเยอะๆ ไว้ก่อน จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย แต่คำถามก็คือ การที่ร้านอาหารมี เมนูเยอะ ช่วยทำให้ลูกค้าพอใจจริงหรือ?     จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ? การที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกเมนูนาน เมื่ออยู่ในร้านอาหารที่มีเมนูหลากหลายนั้น สามารถอธิบายในทางจิตวิทยาได้จากปรากฏการณ์ The Paradox of Choice คือ เมื่อคนเรามีทางเลือกมากขึ้น เรามักจะพอใจกับสิ่งที่เลือกน้อยลง พูดง่าย ๆ คือการรักพี่เสียดายน้องนั่นเอง และในบางครั้ง ความเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ อาจจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลยก็ได้ เช่น ร้านอาหารที่มีเล่มเมนูอยู่หน้าร้านและมีเมนูให้เลือกเยอะเกินไป อาจทำให้ลูกค้าแค่ดูเฉยๆ เลือกไม่ได้ และเดินผ่านไปก็เป็นได้ ดังนั้น ร้านอาหารที่มีเมนูอาหารมากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้าสับสน และตัดสินใจเลือกได้ยากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อร้านอาหารในอีกหลายๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ : ร้านจะต้องสต๊อกวัตถุดิบหลายชนิด เพื่อเตรียมสำหรับทำทุกเมนูในร้าน แม้ว่าบางเมนูอาจจะไม่เป็นที่นิยมและไม่มีลูกค้าสั่ง จึงอาจจะทำให้วัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้มีคุณภาพลดลงหรือหมดอายุไปก่อน เหล่านั้นล้วนเป็นต้นทุนวัตถุดิบทั้งสิ้น ต้นทุน : ทางร้านจะต้องใช้ต้นทุนในการสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.