โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! - Amarin Academy

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง

 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

จะเปิดร้านต้องรู้!

สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost)

ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

 

  1. ต้นทุนค่าแรง (Labor Cost)

ต้นทุนค่าแรงส่วนนี้คือ เงินเดือนสำหรับพนักงานประจำ เงินค่าจ้างพนักงานแบบชั่วคราว (Part time) เงินเดือนของเจ้าของร้านเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการอื่นๆ ของพนักงาน เช่น ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินสมทบประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยขยัน ค่าอาหาร หรือโบนัสประจำปี ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละร้าน ต้นทุนแรงงานส่วนนี้ ถือว่าเยอะรองลงมาจากต้นทุนอาหาร อยู่ที่ประมาณ 20 – 25 % ขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน เช่น ร้านที่มีพนักงานเสิร์ฟและเน้นการบริการแก่ลูกค้า ก็จะมีต้นทุนค่าแรงสูงกว่าร้านอาหารที่ให้ลูกค้าบริการตัวเอง 

ในการบริหารจัดการต้นทุนแรงงาน เจ้าของร้านควรจะวางแผนตามยอดขายในแต่ละช่วง เช่น ในช่วงเทศกาลที่มีลูกค้ามาใช้บริการเยอะ แต่ร้านเรามีจำนวนพนักงานไม่มาก อาจจะจ้างพนักงานชั่วคราว (Part time) เข้ามาเสริมแทนที่จะจ้างพนักงานประจำ เพื่อไม่ให้จำนวนพนักงานมากเกินความจำเป็น และลดต้นทุนค่าแรงในช่วงที่ลูกค้าน้อย รวมถึงการเทรนพนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีมาตรฐานการบริการที่ดีก็จะส่งผลดีต่อร้านเช่นกัน 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

 

  1. ต้นทุนค่าเช่าสถานที่ (Occupancy cost) 

คือต้นทุนที่เกิดจากการเช่าพื้นที่ร้านอาหาร ควรอยู่ที่ประมาณ 20% ของยอดขาย หรืออาจจะคิดตามสัดส่วนรายได้ของร้าน ซึ่งอาจจะเพิ่มไปถึง 30% แล้วแต่ผู้ให้เช่ากำหนด โดยพื้นที่เช่าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า อาจมีต้นทุนค่าเช่าที่สูงกว่าพื้นที่ด้านนอก แต่ก็มีข้อดีอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น มีที่จอดรถ อยู่ในพื้นที่ร่ม รวมถึงห้างสรรพสินค้าบางแห่งจะมีทีมการตลาดที่ค่อยให้คำปรึกษาด้วย 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

  1. ต้นทุนอื่นๆ

ต้นทุนในส่วนนี้ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ประกอบไปด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กระดาษทิชชู กระดาษรองแก้วหรือจาน อุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าซ่อมแซมร้าน ค่าจ้างนักบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดโปรโมชั่น ทำการตลาดหรือโฆษณา รวมไปถึงค่าสิทธิ (Royalty fee) สำหรับร้านที่เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งอาจจะเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของร้าน ดังนั้น ร้านอาหารจะมีต้นทุนส่วนนี้ไม่เหมือนกัน และขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละร้าน 

จากโครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ทั้งหมด หากสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้อยู่ในสัดส่วนตามที่วางแผนไว้ ร้านอาหารควรจะเหลือกำไรประมาณ 15 – 20% ของยอดขาย จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และคุ้มค่าในการทำธุรกิจ หรืออย่างน้อยร้านควรจะได้กำไรมากกว่า 10% แต่หากทำได้น้อยกว่านั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ประกอบการว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนต่อไปหรือไม่ หรือจะต้องปรับปรุงการบริหารร้านอย่างไรต่อไป

 

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่คนทำร้านอาหารต้องรู้ เพื่อจะลงทุนในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม หากมีเงินทุนเริ่มต้นน้อย ก็ควรเริ่มจากร้านอาหารเล็กๆ ทำไปทีละขั้นตอน บริหารเงินทุนให้ดี และคุมต้นทุนให้ได้ เมื่ออยู่ตัวแล้วจึงค่อยๆ พัฒนา ขยายร้านตามกำลังที่มี เพื่อให้ร้านอาหารของคุณยังคงไปต่อได้

 

อ่านต่อบบทความที่น่าสนใจ

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

เรื่องแนะนำ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ปัญหาเรื่องวัตถุดิบเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัว วันนี้เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม? ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม? ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers) แอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งที่สมาชิก “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” ได้มาตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องน้ำจิ้มได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งประเด็นนี้ได้มีการตั้งคำถามถึง “การพกน้ำจิ้มไปร้านบุฟเฟต์ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ให้เกียรติร้านหรือไม่?” โดยสมาชิกเจ้าของโพสต์ ได้ยกตัวอย่างว่าเธอก็เป็นคนหนึ่งที่พกน้ำจิ้มซีฟู้ดไปร้านบุฟเฟต์ ด้วยเหตุผลว่าบางร้านน้ำจิ้มไม่ถูกปาก เลยพกไปเองดีกว่าจะได้กินได้เยอะ ๆ และเปรียบเทียบว่าถ้าตนเป็นเจ้าของร้านก็น่าจะชอบ ที่ไม่ต้องเปลืองน้ำจิ้มที่ร้าน . ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มดังกล่าวต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันด้วยเหตุผลที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ๆ คือฝ่ายที่คิดว่าสามารถพกน้ำจิ้มไปได้ ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ต้องมีการสอบถามหรือขออนุญาตร้านก่อนพกน้ำจิ้มเข้าไปด้วย กับฝ่ายที่คิดว่าไม่ควรนำอาหารอื่น ๆ เข้าร้านอาหาร โดยสรุปเป็นเหตุผลหลัก ๆ ได้ ดังนี้  มองว่า พกน้ำจิ้มไปได้ กินคีโต “คนกินคีโตต้องพกไปค่ะ ต้องปรุงน้ำจิ้มเอง แล้วไปทานเนื้อสัตว์ (ที่ไม่หมัก) ที่ร้าน แต่คิดว่ายังไงก็ควรพูดคุยตกลงกันก่อนว่าโอเคทั้งสองฝ่ายไหม เพราะบางร้าน Signature เขาคือน้ำจิ้ม” “คนกินคีโตบางที่ก็เรื่องปกติเลย พกไปเองเพราะไม่อยากหลุดหรือปนเปื้อนเยอะกว่าจะเข้าใหม่ลำบาก” “เราทานคีโต พกน้ำจิ้มไปเอง ร้านน่าจะชอบนะคะ เพราะเราทานน้ำจิ้มทั่วไปไม่ได้” […]

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

งานบริการ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารก็ว่าได้ ซึ่งถ้าอยากให้ร้านของคุณมีงานบริการที่ดี การทำ SOP สำหรับงานบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีแบบแผนการบริการที่เป็นระบบ ถูกต้องตาม มาตรฐานของร้าน แล้ว เทคนิคทำ SOP เพื่อให้งานบริการดี ลูกค้าประทับใจทำได้อย่างไร มาดูกันครับ เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา การกำหนดบทบาทหน้าที่ พนักงานมีส่วนสำคัญในการชี้วัดว่า SOP ที่เขียนขึ้นมา สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมมาตฐานงานบริการได้ดีจริงหรือไม่ การกำหนด SOP ที่ดี ควรทำให้พนักงานแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ของตัวเอง ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้   รูปแบบที่นำมาใช้ และความชัดเจน รูปแบบเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกระชับและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใช้แผนผัง หรือภาพประกอบที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้จดจำง่าย ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีภาษาที่สอดคล้องกับผู้ที่นำไปปฏิบัติจริง และตรวจสอบให้แน่ใจในการนำเอกสารมาใช้ มีการกำกับเลขที่เอกสารเพื่อใช้อ้างอิง   วัตถุประสงค์และการวัดผล วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการกำหนด SOP ด้านการบริการ คือ การรักษามาตรฐานที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด  […]

ซื้อแฟรนไชส์

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

หลายคนอยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการ ซื้อแฟรนไชส์ สักร้าน เพราะได้ยินใครต่อใครพูดให้ฟังว่า การทำแฟรนไชส์มีเปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจรวดเร็ว

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.