เทคนิคตกแต่งจาน ช่วยประหยัดวัตถุดิบ - Amarin Academy

เทคนิคตกแต่งจาน ช่วยประหยัดวัตถุดิบ

เทคนิคตกแต่งจาน ช่วยประหยุดวัตถุดิบ

ผักชี แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม ฯลฯ และอีกสารพัดเครื่องตกแต่งจานที่ทำให้อาหารของคุณดูน่ากินขึ้น (?) กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ (ซึ่งไม่รู้ใครเป็นคนริเริ่ม) ที่ร้านอาหารแทบทุกร้านจะต้องใส่มาในจาน แต่เมื่อลูกค้ากินอาหารเสร็จ กว่า 80% กลับไม่มีใครแตะต้องของตกแต่งพวกนั้นเลย อย่างนั้นเราจะ แต่งจาน ด้วยของเหล่านี้ไปทำไม ในเมื่อไม่มีใครสนใจแม้แต่น้อย และนอกจากลูกค้าไม่กินแล้ว ยังถือเป็นค่าใช้จ่ายที่คุณต้องแบกรับอีกด้วย วันนี้เราจึงมี เทคนิคตกแต่งจาน มาแนะนำ นอกจากสวยกว่าเดิมแล้ว ยังประหยัดวัตถุดิบอีกด้วย

ก่อนจะไปดูไอเดียในการตกแต่งจาน มีดูเหตุผลกันก่อนว่า เพราะอะไรเราจึงควรเลิกตกแต่งจาน (แบบเดิมๆ)

ข้อแรก ที่สำคัญที่สุดคือ คุณกำลังเสียเงินไปกับค่าวัตถุดิบโดยเปล่าประโยชน์ เพราะสุดท้ายผักเหล่านั้นก็ต้องวิ่งตรงสู่ถังขยะ โดยที่ลูกค้าไม่ได้แตะเลย ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณกำลังโปรยเงินลงถังขยะไปฟรีๆ แม้คุณคิดว่าเป็นเงินไม่กี่บาท แต่ลองบวกลบคูณหารดูดีๆ ปีหนึ่งๆ บางร้านอาจต้องจ่ายค่าผักแต่งจานหลักหมื่นเลยก็ได้

ข้อสอง นอกจากเสียเงินแล้ว คุณยังเสียเวลาอีกด้วย เพราะของแต่งจาน แม้จะเป็นแค่แตงกวาฝาบางๆ แต่ก็ต้องใช้กำลังคน และอาศัยเวลาในการจัดการให้สวยงามน่ากิน (ทั้งๆ ที่ไม่มีใครกิน) บางร้านที่พิถีพิถันมากก็อาจจะถึงขั้นแกะสลัก ก็ยิ่งเสียเวลาเข้าไปใหญ่

เมื่อทราบเหตุผลกันแล้ว เรามาดูไอเดียในการตกแต่งจานกันดีกว่า เผื่อเจ้าของร้านอาหารคนไหนจะนำไปปรับใช้ได้ครับ

1.จัดจานให้สวยงาม

ถ้าจัดอาหารภายในจานให้สวยงาม น่ารับประทาน ก็ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องตกแต่งจาน ให้ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบสูงขึ้นอีกต่อไปแล้ว โดยอาจจะวางรูปแบบอาหารในจาน ให้โดดเด่นมากขึ้น และน่าสนใจมากขึ้น เช่น แทนที่จะวางอาหารใส่จานธรรมดา อาจจะจัดวางให้มีรูปทรงที่แปลกตาน่าสนใจขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

2.เลือกภาชนะให้โดดเด่น

บางครั้งภาชนะที่ใส่อาหาร ก็ช่วยทำให้เมนูนั้นๆ โดดเด่นขึ้นมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมยังเป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่ได้ผลในระยะยาว ไม่ต้องเปลืองค่าวัตถุดิบ แถมไม่ต้องมาเสียเวลาตกแต่งจานอีกด้วย โดยภาชนะที่มีลวดลายสวยๆ ก็มีมากมาย และราคาก็ไม่สูงนัก ถือเป็นวิธีตกแต่งจานให้น่าสนใจที่ดีทีเดียว

 

3.ใช้ซอสตกแต่งแทน

แทนที่จะตกแต่งจานด้วยผักชนิดต่างๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ซอสตกแต่งแทน โดยการใช้ซอสนี้เหมาะกับอาหารแนวตะวันตก ที่มีซอสเป็นเครื่องเคียง โดยอาจจะบีบเป็นลวดลายต่างๆ ในจาน หรือ ตกแต่งด้านข้างก็สวยไปอีกแบบ นอกจากจะไม่ต้องเสียค่าวัตถุดิบเพิ่มแล้ว (เพราะอย่างไรเราก็ต้องเสิร์ฟคู่กัน) ยังรับประกันได้ว่า ลูกค้าต้องกินแน่นอน

4.ใช้วัตถุดิบที่มีในเมนู

หากตกแต่งจานด้วยวิธีนี้ รับรองว่าวัตถุดิบไม่เหลือทิ้งแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าตั้งใจจะสั่ง โดยการตกแต่งวิธีนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเราก็ไม่ต้องสั่งวัตถุดิบเพิ่ม แถมยังไม่ต้องเสียเวลา ในการจัดการวัตถุดิบใหม่อีกด้วย

ลองนำไอเดียเหล่านี้ไปใช้ดูนะครับ เชื่อว่าน่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาไปได้มากทีเดียว ส่วนเพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหารท่านไหนมีไอเดียที่ดีกว่า ลองแชร์กันมาได้เลยนะครับ

ขอบคุณภาพจาก pinterest

เรื่องแนะนำ

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

น้ำแข็ง

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!         แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ –  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส –  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?         […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.