วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด ต้องทำอย่างไร - Amarin Academy

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

ถ้าคุณเปิดร้านอาหาร แล้วไม่เคยเจอลูกค้าร้องเรียนเรื่องบริการหรือคุณภาพอาหารเลย ถือว่าคุณทำบุญมาดีมาก! เพราะเราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำ “ธุรกิจบริการ” ผ่าน “อาหาร” ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับลูกค้าไม่ได้เลย และหากเกิดปัญหาขึ้นแล้วพนักงานรับมือได้ดี ก็รอดตัวไป แต่ถ้าตอนนั้นแก้ปัญหาผิด ร้านคุณอาจโด่งดังในโลกโซเชียลชั่วข้ามคืน ถ้าไม่อยากให้ร้านกลายเป็น Talk of The Town เรามี วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด มาฝาก

1.ขอโทษอย่างจริงใจ

สิ่งแรกที่คุณต้องบอกพนักงานทุกคนคือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดก็ตาม ต้องกล่าวขอโทษลูกค้าอย่างจริงใจ เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ จะช่วยลดความไม่พอใจของลูกค้าลงได้ระดับหนึ่ง และหากปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่มากนัก พนักงานสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ ก็ต้องเร่งแก้ไขข้อผิดพลาดโดยเร็วที่สุด

2.ทุกปัญหา ผู้จัดการต้องรู้!

ไม่ว่าปัญหาจะเล็กน้อยแค่ไหน หลังจากขอโทษลูกค้าแล้ว พนักงานต้องแจ้งให้ผู้จัดการรับทราบ เพราะบางครั้งพนักงานที่ประสบการณ์ยังไม่มากนัก อาจประเมินไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นร้ายแรงมากแค่ไหนและควรแก้ไขอย่างไร ฉะนั้นแจ้งผู้จัดการร้านคือทางออกที่ดีที่สุด เพราะผู้จัดการร้านจะถูกฝึกมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ

พนักงานบางคนอาจคิดว่า “ปัญหาแค่นี้ผู้จัดการไม่ต้องรู้ก็ได้ ลูกค้าก็ไม่เห็นจะว่าอะไร แค่ขอโทษก็คงจบแล้ว” จะบอกว่าการที่ลูกค้าไม่ว่า หรือไม่ตำหนิในร้าน ไม่ได้หมายความว่าเขาจะปล่อยเลยตามเลยนะครับ การที่เขาไม่โวยวายนี่แหละเป็นสถานการณ์ที่เดาได้ยากที่สุดและน่ากลัวที่สุดด้วย

เรามีเหตุการณ์หนึ่งมาแชร์ให้ฟัง มีร้านอาหารประเภทสุกี้ ชาบู ชื่อดังร้านหนึ่งเคยเล่าปัญหาให้เราฟัง วันนั้นเกิดข้อผิดพลาด พนักงานนำเนื้อไปเสิร์ฟให้ลูกค้า โดยไม่ได้สังเกตว่า เนื้อถาดนั้นมีแมลง…นอนสงบนิ่งอยู่ ลูกค้าโต๊ะนั้นก็แจ้งพนักงาน ซึ่งพนักงานเสิร์ฟเห็นว่าลูกค้าไม่ได้ตำหนิอะไรมากมาย จึงขอโทษและนำเนื้อไปเปลี่ยนให้ใหม่ โดยไม่บอกผู้จัดการร้านว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น ไม่นานลูกค้าก็เช็คบิลและออกจากร้านไป ซึ่งพนักงานก็คิดว่าเรื่องคงจะจบแล้ว

ผ่านไป 1 ชั่วโมง ภาพแมลงที่อยู่บนเนื้อถูกโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊ก พร้อมข้อความตำหนิร้านนั้นๆ อย่างรุนแรง…ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้นะครับว่าหายนะแค่ไหน

ฉะนั้นเจ้าของร้านต้องแจ้งพนักงานเลยว่า ไม่ว่าลูกค้าจะตำหนิหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นต้องแจ้งผู้จัดการร้าน เพื่อที่เขาจะได้ประเมินสถานการณ์ และแก้ปัญหาได้เหมาะสม

3.ความเร็วคือสิ่งสำคัญที่สุด

อีกหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาคือ ถ้าเกิดปัญหาขึ้น ต้องรีบแก้ไขทันที เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหา และยิ่งเราแก้ไขได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งลดความไม่พอใจของลูกค้าได้มากเท่านั้น ลองคิดดูง่ายๆ ถ้าเราเข้าร้านอาหารแล้วพนักงานบริการพลาด เรายังต้องมานั่งรอนั่น รอนี่ รอผู้จัดการ รอเปลี่ยนโต๊ะ… สารพัดจะรอ ความหงุดหงิดก็ยิ่งทวีคูณมากขึ้น ฉะนั้นไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดๆ ต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อจบปัญหาให้เร็วที่สุด

4.แสดงความรับผิดชอบโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ

ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจบริการ ความพึงพอใจของลูกค้าคือเป้าหมายสูงสุดที่เราต้องมอบให้ลูกค้า ปกติการทำให้ลูกค้าประทับใจก็ยากแล้ว แต่นี่เรายังบริการผิดพลาด ทำให้เขาไม่พอใจ (ความรู้สึกก็ยิ่งติดลบเข้าไปอีก) ฉะนั้น เราต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างถึงที่สุด ร้านอาหารบางร้านอาจเลือกลดราคาอาหารมื้อนั้น ให้รับประทานมื้อนั้นฟรี หรือมอบของขวัญบางอย่างเป็นการชดเชยความรู้สึกที่เสียไป โดยไม่จำเป็นต้องให้ลูกค้าร้องขอ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกดีขึ้น ลดความหงุดหงิด หรือไม่พอใจลงไปได้บ้าง

5.เรื่องต้องจบภายในร้าน

ข้อสุดท้าย ไม่ว่าปัญหาจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าเดินยิ้มออกไปจากร้านให้ได้ (หรือน้อยที่สุดก็ต้องไม่หน้าบึ้งตึง) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าไม่ได้ติดใจกับปัญหาเหล่านั้น พร้อมจะให้อภัยและกลับมาเป็นลูกค้าเราอีกครั้ง (ถ้าคุณปล่อยให้ลูกค้าเดินหน้าบึ้งออกไปจากร้าน อาจจะต้องเตรียมตัวรับมือกับโลกโซเชียลได้เลย)

จริงๆ วิธีรับมือกับปัญหาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น แต่แน่นอนว่าไม่ว่าจะระวังแค่ไหน ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องแก้ไขอย่างมืออาชีพ และทำให้ลูกค้าพึงพอใจให้ได้มากที่สุด ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กันนะครับ น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้บ้าง

 

เรื่องแนะนำ

จัดการธุรกิจร้านอาหาร

5 เหตุผลที่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้การจัดการสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยใช้ข้อมูลการขายเพื่อคาดการณ์ความต้องการและลำดับการผลิต เพื่อลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด จึงสามารถรับประกันการสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือจำกัดการสูญเสียและเพิ่มรายได้ให้กับร้านอาหารนั่นเอง

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

copper buffet

ถอดบทเรียน Copper Buffet ทำอย่างไรให้ยอดขายทะลุร้อยล้าน!

Copper Buffet ร้านอาหารที่มาแรงสุดๆ ในตอนนี้ เราจะมาถอดบทเรียนให้ฟังว่า เพราะอะไรร้านที่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง กลับมีลูกค้าจองเต็มแทบทุกวัน!

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ” ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย . ทำไมต้องล้าง ? . จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้ เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.