เทคนิคเพิ่มยอดขายจากการ จัดโต๊ะร้านอาหาร - Amarin Academy

เทคนิคเพิ่มยอดขายจากการ จัดโต๊ะร้านอาหาร

เทคนิคเพิ่มยอดขายจากการ จัดโต๊ะร้านอาหาร

เมื่อพูดถึงการเพิ่มยอดขาย หลายคนอาจคิดถึงการทำโปรโมชั่น ขยายฐานลูกค้า ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือการขยายสาขา แต่รู้ไหมว่า แค่ปรับการ จัดโต๊ะร้านอาหาร และปรับการบริการ ก็อาจเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารได้เช่นกัน จะมีเทคนิคไหนบ้าง ไปดูกัน!

1.เลือกโต๊ะที่ปรับได้ เคลื่อนย้ายสะดวก

เคยไหม? นัดฉลองกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ อยากกินอาหารร้านนี้มาก แต่โต๊ะใหญ่ที่สุดนั่งได้แค่ 6 คน พนักงานจึงแนะนำให้ “แยกโต๊ะไหมคะ” เป็นใครก็คงรู้สึกเซ็งๆ เพราะอยากนั่งกับเพื่อนมากกว่า และอาจจะเลือกไปฉลองที่ร้านอื่นแทน กลายเป็นค่าเสียโอกาสของร้านอาหารในการสร้างรายได้

หรือกลับกัน ถ้าลูกค้ามาเป็นคู่ 2 คู่ (4 คน) แต่คุณมีโต๊ะว่างเพียงโต๊ะเดียว คือโต๊ะสำหรับ 4 ที่นั่ง จะให้ลูกค้าไปนั่งโต๊ะเดียวกันก็คงไม่ได้ ก็ต้องจำใจรับลูกค้าเพียงคู่เดียว อีกคู่หนึ่งอาจจะต้องรอจนกว่าโต๊ะอื่นๆ ลุก หรือเขาอาจจะไม่อยากรอและเลือกไปรับประทานร้านอื่นแทน

ฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียโอกาสในการรับลูกค้า ลองเลือกโต๊ะที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ สามารถแยกและต่อได้โดยอิสระ ก็จะช่วยให้ร้านของคุณมีโอกาสรับลูกค้าได้มากขึ้น (ร้าน Penguin Eat Shabu ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน)

2.โต๊ะอย่าใหญ่เกิน

ขนาดโต๊ะก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ร้านอาหารบางร้านเลือกโต๊ะตามสไตล์ที่ตัวเองชอบ เพราะเห็นว่าแต่งร้านแบบนี้ต้องสวยแน่ๆ แต่อย่าลืมว่า ยิ่งคุณเลือกโต๊ะขนาดใหญ่ (เกินไป) ก็ยิ่งทำให้พื้นที่ในการรับลูกค้าน้อยลง ฉะนั้นควรเลือกขนาดที่พอเหมาะ สามารถวางอาหารได้โดยไม่โล่งจนเกินไป หรือเล็กจนอาหารล้นโต๊ะ วางไม่พอ

(ต้องดูให้สมดุลกับขนาดของภาชนะที่เลือกใช้ด้วย บางร้านใช้จานขนาดใหญ่มาก แต่โต๊ะเล็กนิดเดียว ก็เป็นปัญหาเช่นกัน)

3.ให้พนักงานพาไปที่โต๊ะ

ลองสังเกตดูว่า ร้านอาหารตามห้างสรรพสินค้าหลายๆ ร้าน มักให้พนักงานเดินพาลูกค้าไปที่โต๊ะ นั่นเป็นเพราะว่า ร้านอาหารต้องการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ไม่ให้เดินเข้าไปแล้วสับสน ไม่รู้จะเลือกโต๊ะไหน เหตุผลที่สองคือ ประหยัดเวลา ลูกค้าเข้าไปนั่งที่โต๊ะทันที ไม่ต้องลังเลเลือกโต๊ะนาน และเหตุผลสุดท้าย เพื่อจัดที่นั่งให้เหมาะสมตามจำนวนของลูกค้า จะได้ประหยัดพื้นที่ร้าน

เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ ถ้าเห็นว่าร้านไม่แน่นมากนัก มักจะเลือกนั่งโต๊ะที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อความสบาย เช่น ลูกค้า 2 คน มักไม่ค่อยเลือกนั่งโต๊ะสำหรับ 2 คน แต่จะเลือกโต๊ะสำหรับ 4 คนแทน ซึ่งถ้าหลังจากนั้นไม่มีลูกค้า 4 คนเข้ามา ก็อาจไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเกิดมีลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้ามา แล้วเหลือโต๊ะสำหรับ 2 ที่นั่ง เพียงโต๊ะเดียว จะกลายเป็นปัญหาทันที

จะให้พนักงานเดินไปขอให้ลูกค้าที่กำลังนั่งรับประทานอาหารเปลี่ยนโต๊ะก็คงไม่ได้ วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องให้ลูกค้า 4 คน รอคิวจนกว่าลูกค้าโต๊ะอื่นๆ จะรับประทานเสร็จ (ซึ่งเขาอาจจะไม่รอ)

ดังนั้นร้านอาหารหลายๆ ร้านจึงเลือกให้พนักงานเดินนำลูกค้าไปที่โต๊ะแทน เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

4.ตั้งป้าย Reserved

วิธีสุดท้าย สมมติว่าร้านของคุณเป็นร้านขนาดไม่ใหญ่ มีพนักงานไม่มากนัก ทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วน พนักงานอาจบริการไม่ทัน จึงไม่ได้กำหนดให้พนักงานพาลูกค้าไปที่โต๊ะ วิธีที่พอจะทำได้คือตั้งป้าย Reserved ไว้ที่โต๊ะใหญ่ๆ สงวนไว้สำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่ม และเมื่อมีลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้ามาจึงค่อยนำป้ายออกแล้วให้ลูกค้านั่งที่โต๊ะนั้น แต่หากมีลูกค้า 2-3 คนเข้ามา แล้วโต๊ะเล็กเต็มจริงๆ จึงค่อยนำป้าย Reserved ออก แล้วพาลูกค้าไปนั่งที่โต๊ะใหญ่ เพราะสุดท้ายไม่ว่าลูกค้าจะมาจำนวนน้อย หรือจำนวนมาก เขาก็คือลูกค้าของคุณ และคาดหวังที่จะได้รับบริการที่ดีที่สุดเช่นกัน

แค่ปรับเปลี่ยนการจัดโต๊ะ และเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการบริการ ก็สามารถเพิ่มยอดขายได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติม ลองนำไปปรับใช้กันได้เลยครับ

เรื่องแนะนำ

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

Omni media ช่วยร้านอาหารของคุณ ทำการตลาดได้ตรงจุด

ใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่าเดิม การใช้ Omni Media ก็เหมือนกับการที่คุณมีประตูเปิดรับลูกค้าได้หลาย ๆ ช่องทาง ที่สุดแล้วลูกค้าจะเลือกรับบริการจากช่องทางที่สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินหน้าร้านหรือการสั่งแบบเดลิเวอรี่  ความนิยมในสื่อออนไลน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าโฆษณาออนไลน์สูงขึ้น แต่อาจไม่ได้ตอบโจทย์แคมเปญการตลาดทั้งหมด สื่อออฟไลน์จึงถูกนำมาพูดถึงเพื่อหาจุด Touch Point ที่มีประสิทธิภาพที่สุด  ข้อดีของ Omni Media ทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารผ่านสื่อการตลาดออฟไลน์ที่เชื่อมโยงออนไลน์ได้โดยทันที  ยกตัวอย่าง ร้านค้าใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่ในห้าง ติดตั้งสื่อ POP ที่ทำการสแกน QR Code เพื่อเข้าถึงข้อมูลร้านและโปรโมชั่นได้ทันที  หรือเทคโนโลยี Location Base Service สามารถส่งข้อความเข้ามือถือลูกค้าที่อยู่ในรัศมีร้านเพื่อแนะนำสินค้าและบริการ  ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านข้อความได้เลยทันที นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงกัน ยังช่วยในเรื่องการสื่อสาร ลดความเข้าใจผิด เพราะเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ทำให้จัดการแคมเปญต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น   ใช้เพื่อรู้จักลูกค้ามากกว่าที่เคย การสื่อสารออฟไลน์ที่เคยเป็นการสื่อสารทางเดียว สามารถเชื่อมโยงออนไลน์ได้ และมีเครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลลูกค้า สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น และข้อมูลของลูกค้าจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการทำกิจกรรมทางการตลาด ร้านอาหารดัง ๆ หลายแห่ง เริ่มเก็บข้อมูลความต้องการพิเศษ […]

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน แชร์ประสบการณ์โดยสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” พร้อมรวมคำแนะนำต่าง ๆ ที่น่าสนใจ แอดได้ไปเจอ Topic หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แล้วเห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือเรื่อง ความเข้าใจของลูกค้า กับคนขายกาแฟ ที่บางครั้งอาจจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด นำไปสู่การทำเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แบบที่ลูกค้าสั่ง หรือไม่ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้ แต่เจ้าของร้านจะสื่อสารอย่างไร ไม่ให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” ล่ะ ? ซึ่งสำหรับปัญหาความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟที่บางครั้งอาจจะต่างกันนั้น ได้มีผู้ประกอบการร้านกาแฟท่านหนึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงแนะนำได้อย่างน่าสนใจว่า “ความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟมักจะต่างกัน แต่หากลูกค้าเอื้อนเอ่ยออเดอร์ใด ที่เราคิดว่าชื่อไม่ถูก เราแค่ทวนออเดอร์และส่วนผสมก็พอ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า ลูกค้าบางท่านอาจจำชื่อมาแค่นั้น หรือไม่ได้เข้าร้านกาแฟบ่อยๆ และเขาไม่ต้องการให้เราสอนเขา 1.ถ้าลูกค้าสั่งเครื่องดื่มไม่หวาน เราแค่ทวนว่าไม่หวานเลยหรือใส่นิดหน่อย 2.ถ้าลูกค้าสั่งเอสเพรสโซ่ร้อนใส่น้ำเยอะ ๆ ถ้าเขาไม่ได้เรียกอเมริกาโน่ ก็ไม่เป็นไร ทำให้เขานะ มันเหมือนกัน 3.คาปูชิโน่ไม่ใส่ฟองนม ไม่ใส่ช็อคโกเลต ก็แค่ตอบว่า ค่ะ แล้วถามว่า “หวานปกติไหมคะ” ตอนวัยรุ่นเคยสั่งชาเขียวปั่นร้านหนึ่ง เขาบอกไม่มีค่ะ มีแต่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.