ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ? - Amarin Academy

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ?

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ?

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ? คำตอบคือ…เปิดได้ เพราะจากการที่เราไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายๆ ร้าน พวกเขาก็ตัดสินใจเปิดร้านอาหาร ทั้งๆ ที่ทำอาหารไม่เป็น ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ บางรายทำรายได้หลักล้านเสียด้วย! และจากการที่เราสังเกตและวิเคราะห์พบว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนกันบางอย่าง ที่ทำให้เขาเปิดร้านอาหารได้ ทั้งๆ ที่ ทำอาหารไม่เป็น เราจะมาสรุปให้ฟัง

1.ต้องชิมอาหารเป็น

คุณสมบัติพื้นฐานของเจ้าของร้านอาหารที่ดีคือ ต้องชิมอาหารเป็น ซึ่งการชิมอาหารในที่นี้ เราไม่ได้หมายถึงการบอกว่า “อาหารจานนี้อร่อยหรือไม่อร่อย” (เพราะความอร่อยเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่สามารถนำมาตัดสินได้อย่างชัดเจน) แต่เป็นการบอกว่าอาหารมีรสชาติที่ “ได้มาตรฐาน” หรือเปล่า หมายถึงรสชาติคงที่ กินกี่ทีรสชาติก็เหมือนเดิม

เช่น เมื่อชิมเมนูสเต๊กเนื้อ เจ้าของร้านต้องรู้ว่า ระดับความสุกของเนื้อนั้นตรงกับที่สั่งหรือเปล่า ซอสที่เสิร์ฟมาเค็มไป หวานไป จืดไป ข้นไป หรือรสชาติผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานไหม ฯลฯ เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้น และลูกค้าส่วนใหญ่ก็ยอมรับและชื่นชอบในรสชาตินี้ ฉะนั้นจึงต้องปรุงให้คงที่ เขาจะได้ไม่รู้สึกผิดหวัง

เราสามารถฝึกฝนการชิมอาหารได้ง่ายๆ ด้วยการหมั่นชิมอาหารบ่อยๆ และคอยสังเกตว่ารสชาติเป็นอย่างไร จะทำให้เราสามารถแยกแยะรสชาติและรสสัมผัสได้ดีขึ้น

2.ต้องมีสูตรอาหารเป็นของตัวเอง

หลายคนเริ่มทำร้านอาหารเพราะรู้จักกับเชฟฝีมือดี เลยคิดว่า อย่างนั้นจ้างเชฟมาเปิดร้านอาหารดีกว่า เรื่องในครัวให้เชฟคุม เรื่องอื่นๆ เราดูแล ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่บอกได้เลยว่าหากตัดสินใจเช่นนี้ ธุรกิจของคุณจะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจอาหารคือ “อาหาร” แล้วเราจะฝากความหวังทั้งหมดของร้านไว้ที่เชฟเพียงคนเดียวหรือ ?

ถ้าวันดีคืนดี เชฟลาออก ไม่อยากเป็นลูกจ้างคุณอีกต่อไปจะทำอย่างไร (บางร้านกลัวเกิดปัญหานี้ จึงตัดสินใจมอบหุ้นให้เชฟเป็นเครื่องดึงดูดใจ)

ทางที่ดีที่สุดคุณควรมีสูตรอาหารเป็นของตัวเอง หรือหากไม่มีก็ต้องเจรจากับเชฟตั้งแต่ต้น ให้ถอดสูตรอาหารออกมาเพื่อสร้างมาตรฐานให้ร้าน เวลาที่เชฟลาออก ร้านเราจะได้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

3.ต้องมีความรู้ด้านวัตถุดิบ

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้วที่ว่า เราไม่ควรฝากความหวังไว้ที่เชฟเพียงคนเดียว เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเขาจะลาออกเมื่อไร ฉะนั้นนอกจากสูตรอาหารแล้ว เราก็ควรศึกษาเรื่องวัตถุดิบเอาไว้ด้วย เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในร้านเราเป็นเกรดไหน คัดเลือกอย่างไร รับมาจาก Supplier เจ้าใด ราคาเท่าไร ช่วงเวลาใดที่วัตถุดิบราคาสูง – ราคาถูก

ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถหาได้ง่ายๆ จากการสังเกต การสอบถามจาก Supplier รวมทั้งการเก็บสถิติการสั่งของภายในร้าน ยิ่งเรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เราสามารถบริหารจัดการร้านได้ดียิ่งขึ้น เช่น หากเรารู้ว่าช่วงเวลานี้แซลมอนราคาถูกมาก ก็ควรนำมาจัดโปรฯ แซลมอน ดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการที่ร้าน เป็นต้น

4.ต้องมีระบบการทำงานที่เป๊ะ

แทบทุกบทความเราจะพูดเรื่องการวางระบบเสมอ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านไม่ต้องเหนื่อยกับการแก้ปัญหาเดิมซ้ำๆ ทุกวัน บางคนอาจไม่เข้าใจว่าจะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารอย่างไร เพราะไม่เคยมีความรู้ด้านการทำร้านอาหารมาก่อน จริงๆ เรากล้าบอกได้เลยว่าแทบทุกร้านมีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะมีระบบมาก หรือมีระบบน้อย

การกำหนดเวลาการเปิดร้าน ก็ถือเป็นระบบ การที่เจ้าของร้านกำหนดให้พนักงานเดินไปรับลูกค้า เดินไปส่งลูกค้าที่โต๊ะ ยื่นเมนู ยืนรอรับออร์เดอร์ ส่งออร์เดอร์เข้าครัว นำอาหารมาเสิร์ฟ คิดเงิน หรือหากย้ายไปที่ฝั่งครัว การที่เจ้าของร้านกำหนดว่าจะต้องเช็คสต๊อกวัตถุดิบทุกสิ้นวัน สั่งวัตถุดิบมาเติมใหม่ทุก 3 วัน ทุกเช้าต้องมีพนักงานเข้ามาเปิดร้าน จัดเตรียมวัตถุดิบ 3 คน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นระบบทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านจะกำหนดให้ชัดเจน และละเอียดมากน้อยแค่ไหน

ยิ่งเราระบุรายละเอียด ขั้นตอนการทำงานให้พนักงานชัดเจนเท่าไร ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงเท่านั้น เพราะคุณไม่ต้องมานั่งปวดหัว คอยบอกขั้นตอนการทำงานให้พนักงานแทบทุกวัน

5.ต้องพร้อมเปิดใจเรียนรู้อยู่เสมอ

การเปิดใจพร้อมเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ คือคุณสมบัติข้อสุดท้ายที่เจ้าของธุรกิจต้องมี โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร ที่ต้องทำงานกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปแทบทุกวัน

สังเกตไหมว่ากระแสต่างๆ เดี๋ยวนี้มาเร็วไปเร็วมาก เมื่อก่อนโดนัทมาแรง ต่อมาเป็นชาบู ปิ้งย่าง บิงซู ฮันนี่โทสต์ ส่วนตอนนี้คงเป็นชานมไข่มุก (ซึ่งเมื่อ 5-6 ปีก่อนเคยบูมอยู่พักใหญ่แล้วก็ดับไปแบบเงียบๆ) ถ้าคุณไม่ปรับตัว ไม่พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ธุรกิจที่เคยมีคนต่อคิวซื้อยาวเหยียด อาจต้องปิดตัวลงภายในเวลาไม่ถึงปีก็ได้

สำหรับใครที่ฝันอยากเปิดร้านอาหาร แต่กังวลว่าทำอาหารไม่เป็น กลัวจะเปิดไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลแล้ว ขอแค่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาครบ และเพิ่มเติมเรื่องความมุ่งมั่น ตั้งใจ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะต่าง คุณก็มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นเจ้าของร้านอาหารได้แล้ว

เรื่องแนะนำ

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ธุรกิจ Food Delivery กำลังมาแรง แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.