5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery - Amarin Academy

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ทุกวันนี้มีบริษัทรับขนส่งสินค้าและอาหารเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง Lineman Lalamove food panda Uber eats ฯลฯ กลายเป็นโอกาสทองของธุรกิจร้านอาหาร ที่สามารถต่อยอดเป็นบริการ Food Delivery ส่งอาหารตรงถึงที่ให้ผู้บริโภค แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อยอดขายหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝากครับ

1.ปรับระบบคิว

เมื่อช่องทางการขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 ทาง ร้านอาหารส่วนใหญ่ก็มักปรับระบบคิว โดยแยกคิวเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนลูกค้าหน้าร้าน และส่วนลูกค้า Delivery และสลับกันรับออร์เดอร์ เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ไม่แยกคิว มักประสบปัญหาคือ ลูกค้านั่งรอเต็มร้าน แต่เสิร์ฟไม่ได้ซักที เพราะมัวแต่ทำอาหารให้ลูกค้าที่สั่งซื้อกลับบ้าน ลูกค้าในร้านย่อมไม่พอใจ Turn over ก็ลดลง (เพราะลูกค้าต้องนั่งรออาหารในร้านนานขึ้น) ดังนั้นถ้าอยากเพิ่มบริการ Delivery ต้องปรับระบบคิวด้วย

2.ปรับระบบครัว

หลังจากปรับระบบคิวแล้ว ระบบครัวก็ต้องปรับ โดยต้องแยกให้เห็นชัดเจนว่า ออร์เดอร์ไหนเป็นของลูกค้าหน้าร้าน และออร์ไหนเป็นการสั่งกลับบ้าน เพราะไม่อย่างนั้นหากทำผิด นำอาหารใส่กล่อง แทนการใส่จาน ก็ยิ่งเสียเวลาและสิ้นเปลืองต้นทุนเข้าไปใหญ่ และหากมีลูกค้า Delivery มากจริงๆ ก็ควรแยกครัวกันทำงาน เพราะการเสิร์ฟในร้านกับการห่อกลับบ้าน มีรายละเอียดการทำงานต่างกัน ฉะนั้นเพื่อให้การทำงานราบรื่นขึ้น แยกฝ่ายกันทำน่าจะดีที่สุด

3.ปรับเทคโนโลยี

ร้านอาหารสามารถรับออร์เดอร์ Delivery ได้หลากหลายช่องทาง ทั้งจากสื่อกลางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lineman Wongnai Uber eats ที่รับสั่งอาหารออนไลน์ หรือการรับออร์เดอร์โดยตรงจากลูกค้า จริงๆ แล้วทั้งสองช่องทางสามารถเพิ่มรายได้ที่ดีทั้งคู่ แต่การรับออร์เดอร์จากสื่อกลางจะมีระบบที่ชัดเจนและแม่นยำมากกว่า ไม่ต้องกลัวข้อผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการจดออร์เดอร์ผิด หรือตกหล่น แถมร้านอาหารไม่ต้องเสียกำลังคนในการรับโทรศัพท์ จดรายการอาหารหรือต้องจัดหารถเพื่อส่งสินค้าอีกด้วย ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับออร์เดอร์ผ่านสื่อกลางก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

4.ปรับหีบห่อ

หากอยากให้อาหารที่เราส่งถึงลูกค้าได้มาตรฐานเหมือนรับประทานที่ร้าน ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องหีบห่อ ร้านอาหารควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับการขนส่ง เช่น เดิมอาจจะใส่กล่องโฟมหรือถุงพลาสติก ซึ่งกว่าที่อาหารของเราจะถึงมือลูกค้าอาจแตก บุบ รั่ว หรือหากคุณภาพของหับห่อไม่ดีพออาจทำให้คุณภาพอาหารลดลง ลูกค้าย่อมไม่ประทับใจแน่นอน ดังนั้นลองมองหาบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่เหมาะสำหรับการบรรจุอาหารกลับบ้าน ซึ่งทุกวันนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ราคาไม่สูงนัก แต่ช่วยสร้างมาตรฐานให้ร้านอาหารได้ดีทีเดียว

5.ปรับการขนส่ง

ข้อสุดท้าย คือเรื่องการขนส่ง ร้านอาหารบ้างร้านอาจใช้การขนส่งโดยการเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นครั้งคราว หรือบางร้านที่มีลูกค้าสั่งอาหาร Delivery จำนวนมาก อาจจ้างพนักงานส่งอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งการทำงานอาจไม่เป็นระบบเท่าที่ควร แถมยังเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันมีธุรกิจบริการรับส่งอาหารมากมาย ซึ่งร้านอาหารสามารถติดต่อเพื่อใช้บริการได้โดยตรง ซึ่งอัตราค่าขนส่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะทางและการตกลงกันระหว่างธุรกิจ

ร้านอาหารไหนอยากเพิ่มบริการ Delivery อย่าลืมทำตามคำแนะนำเหล่านี้นะครับ หวังว่าจะช่วยให้ธุรกิจของเพื่อนๆ มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานมากขึ้น

เรื่องแนะนำ

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ? ปรับปรุงอาคาร ที่จอดรถ เพื่อพาณิชย์ กฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนทำคาเฟ่ ธุรกิจคาเฟ่ยังคงเป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนให้ความสนใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาด ด้วยความนิยมนี้จึงทำให้เราสามารถพบเห็นการเปิดร้านคาเฟ่ใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งก็มีทั้งร้านขนาดใหญ่ กลาง เล็กคละกันไป แม้ว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะเปิดได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าในการทำธุรกิจก็ยังต้องให้การคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะในการเริ่มต้นเปิดร้าน ที่จะมีกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลง ออกแบบอาคารเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงมีเสถียรภาพในเชิงภาษีและการทำบัญชีในอนาคต แม้ว่าร้านกาแฟขนาดเล็กอาจไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายบางข้อ แต่การรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ ก็จะช่วยเปิดมุมมอง หรือทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อถึงคราวที่ต้องการขยับขยาย ว่าแต่เราควรรู้กฎหมายอะไรบ้าง ? มาดูกัน   กฎหมายควบคุมอาคารเบื้องต้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามทางกฎหมายอาคารของ “ร้านกาแฟหรือคาเฟ่” ว่าร้านรูปแบบนี้เข้าข่ายทั้งการเป็น “อาคารพาณิชย์” และ “ภัตตาคาร” จึงต้องทำการพิจารณากฎหมายของทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน โดย ทางกฎหมายได้มีการนิยามว่า – อาคารพาณิชย์ คือ อาคารใด ๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ และเป็นอาคารที่ก่อสร้างห่างจากถนนไม่เกิน 20 เมตร – […]

รับช่วงต่อกิจการ

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน

เทคนิค วางผังครัว ให้ได้อาหารมากขึ้น ลดต้นทุนได้มหาศาล!

ทำครัวร้านอาหารใหญ่ ๆ เสียค่าใช้จ่ายสูง เหลือพื้นที่ขายนิดเดียว ทำกี่ปีถึงจะคืนทุน  แล้วถ้าลูกค้าเยอะแต่ทำครัวไว้เล็ก ทำอาหารออกไม่ทัน ขายกันทั้งวันรายได้นิดเดียว แถมลูกค้าหนีเพราะช้าอีก เพราะครัวไม่ใช่แค่พื้นที่ทำอาหาร แต่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำร้านอาหารว่าจะทำรายได้ให้คุณได้แค่ไหน การวางระบบร้านอาหารโดยคำนึงถึงครัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีก่อน แล้วครัวที่ดีต้องมีการ วางผังครัว อย่างไร?   ครัวที่ดีสัมพันธ์กับตุ้นทุนอย่างไร ต้นทุนแรงงาน ขนาดครัวที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถกำหนดกำลังคนในการทำงานได้ ช่วยลดต้นทุนแรงงานที่ไม่จำเป็น มีการปฏิบัติงานที่ได้ประสิทธิภาพ ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และการใช้งาน ต้นทุนวัตถุดิบ ผังครัวที่ดีต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ พื้นที่เตรียม การปรุง พื้นที่ทำความสะอาด ที่ง่ายต่อการใช้งาน การลดโอกาสของเสีย ช่วยให้เกิดต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสม ร้านจึงสามารถมีรายได้สุทธิที่มากขึ้น ต้นทุนเวลา การวางผังครัวที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ในการใช้งานทำให้ออกอาหารช้า ขายได้น้อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาพีคไทม์ที่ร้านต้องสามารถรันให้เร็วมากกว่าปกติ ผังครัวที่ไม่ได้คิดเผื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ อาจทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ต้นทุนเวลาในการไปซื้อของที่ขาด เสียหาย ครัวควรมีขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม             ควรกำหนดให้สัดส่วนของครัวสอดคล้องกับพื้นที่ขาย โดยมีพื้นที่เหมาะสมกับการปรุงและจัดเก็บวัตถุดิบ พื้นที่ครัวควรมีขนาด 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  เนื่องจากครัวถือเป็นพื้นที่ใหญ่ในการออกแบบร้านอาหาร ซึ่งส่งผลกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครัวใหญ่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย การกำหนดพื้นที่ครัวที่เหมาะสมจึงต้องสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารต่ำลง คืนทุนได้เร็วขึ้น   […]

กรณีศึกษา ร้าน The Grouchy Chef ทำไมกฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ?

กรณีศึกษา กฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ ร้าน The Grouchy Chef เชฟขี้หงุดหงิด ร้านอาหารมีกฎการเข้าใช้บริการลูกค้าเยอะมาก แต่ทำไมลูกค้าถึงอยากมาใช้บริการ อาหารอร่อยแต่ร้านมี กฎ เยอะมากคุณจะยังอยากไปใช้บริการไหม ? เชื่อว่าเมื่อหลายคนจะไปใช้บริการร้านอาหารก็คงไม่อยากเจอร้านที่มี กฎ ยิบย่อย จุกจิกหรอกใช่ไหม ? มากินอาหารนอกบ้านทั้งทีก็อยากผ่อนคลาย จะให้มาทำตาม กฎ อะไรเยอะแยะมันเหนื่อยนะ แต่กับร้านนี้ไม่ใช่แบบนั้น!!! เพราะหลายคนที่เคยไปใช้บริการต่างยอมที่จะทำตาม กฎ ถึงแม้มันจะมีอยู่มากมายก็ตาม เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น เรามาหาคำตอบกัน! 🔸เชฟขี้หงุดหงิด🤯 . ร้านอาหารที่เรากำลังพูดถึงนี้มีชื่อว่า The Grouchy Chef หรือแปลเป็นไทยว่า “เชฟขี้หงุดหงิด” เป็นร้านอาหารฝรั่งเศส ที่บริหารโดย Takayuki Masumoto หัวหน้าเชฟชาวญี่ปุ่น โดยร้านนี้ตั้งอยู่ในเมืองวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นในเรื่องของรสชาติที่หลาย ๆ ต่อหลายคนรีวิวว่าอาหารอร่อยมาก และที่สำคัญราคาถูก โดยราคาอาหารต่อจานของร้านนี้อยู่ที่ราว ๆ 11-30 ดอลลาร์ จึงถือว่าถูกมากถ้าหากเทียบกับราคาอาหารฝรั่งเศสของร้านอื่น ๆ ที่มักขายอยู่ที่ราคา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.