กฎหมายการจ้างพนักงาน ร้านอาหาร ควรรู้ ! - Amarin Academy

กฎหมายการจ้างพนักงาน ร้านอาหาร ควรรู้ !

กฎหมายการจ้างพนักงาน ร้านอาหาร ควรรู้!

รู้ไหม เราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำธุรกิจบริการผ่านอาหาร ฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงการจ้างพนักงานไม่ได้เลย แต่มีผู้ประกอบการไม่น้อยที่ยังไม่รู้กฎหมาย หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างพนักงาน จึงอาจทำให้เกิดการจ้างงานผิดกฎหมาย อาจส่งผลเสียในภายหลังได้ วันนี้เราจึงนำ กฎหมายการจ้างพนักงาน ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้มาฝาก!

  1. เวลาทำงานปกติ

งานทั่วไปไม่เกิน 8 ชม./วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์

แต่ร้านอาหารส่วนใหญ่มักเปิดบริการนานกว่านั้น เช่น ช่วงเวลาเปิดร้าน 10.00 – 20.00 น. รวมเวลา 10 ชั่วโมง แต่อย่าลืมว่าเราต้องจ้างพนักงานเพื่อเปิดร้านและเตรียมของ อย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง และปิดร้านอีก 1 – 2 ชั่วโมง ฉะนั้นเมื่อรวมแล้ว ร้านอาหารต้องจ้างพนักงานไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเกินจากที่กฎหมายกำหนด จึงต้องมีการจ้างพนักงานเป็นกะ 2 – 3 กะ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการเปิด – ปิด รวมทั้งจำนวนลูกค้า หรือต้องมีการจ้างงานล่วงเวลาเพิ่มเติม

แต่การจัดสรรช่วงเวลาทำงานของพนักงานก็มีผลต่อต้นทุนเช่นกัน ฉะนั้นจึงต้องลองศึกษาช่วงเวลาที่ต้องการพนักงานแล้วจัดสรรให้เหมาะสม

  1. เวลาพัก

ระหว่างการทำงานปกติ

ไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชม. ติดต่อกัน หรืออาจตกลงกันพักเป็นช่วง ๆ ก็ได้แต่รวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน

งานในร้านอาหารหรือร้านเครื่องดื่ม ซึ่งเปิดจำหน่ายหรือให้บริการในแต่ละวันไม่ติดต่อกัน (เช่นหยุดพักช่วงบ่าย เปิดร้านอีกครั้งช่วงเย็น) อาจพักเกิน 2 ชม./วันก็ได้ นายจ้างอาจจะไม่จัดเวลาพักได้กรณีเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำ ติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน

ก่อนการทำงานล่วงเวลา

กรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม. ต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที

พนักงานร้านอาหาร
การจ้างงานพนักงานร้านอาหาร ต้องทำตามข้อกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง
  1. วันหยุด

วันหยุดประจำสัปดาห์

ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำ สัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

วันหยุดตามประเพณี

ไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี รวมวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตาม ประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี อาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อ ๆ ไปได้

  1. การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด

* อาจให้ลูกจ้างทำได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป

* อาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน

          * อาจให้ทำงานในวันหยุด สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม และสถานพยาบาลได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน

* ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม./สัปดาห์

  1. วันลา

วันลาป่วย

ลูกจ้าง ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น หนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ วันที่ลูกจ้างไม่อาจทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเกิดจาก การทำงาน หรือวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่ถือเป็นวันลาป่วย

วันลากิจ

ลูกจ้างลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

วันลาทำหมัน

ลูกจ้างลาเพื่อทำหมันและเนื่องจากการทำหมันได้ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง

วันลารับราชการทหาร

ลูกจ้างลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความ พรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้

วันลาคลอดบุตร

ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุด

วันลาฝึกอบรม

ลูกจ้าง มีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ต่อการแรง งานและสวัสดิการสังคมหรือการเพิ่มทักษะความชำนาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงานของลูกจ้างตามโครงการหรือหลักสูตร ซึ่งมีกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและชัดเจน และเพื่อการสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น

ลูกจ้างต้องแจ้งเหตุในการลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลา นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลาหากในปีที่ลาลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลามาแล้วไม่ น้อยกว่า 30 วัน หรือ 3 ครั้ง หรือแสดงได้ว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อ การประกอบธุรกิจของนายจ้าง

  1. ค่าตอบแทนในการทำงาน

ค่าจ้าง

จ่าย เป็นเงินเท่านั้น จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้ากำหนดเวลาทำงานปกติเกิน ๘ ชม./วัน ให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนสำหรับการทำงานที่เกิน ๘ ชม.ขึ้นไปไม่น้อยกว่า ๑.๕ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันทำงาน และในอัตราไม่น้อยกว่า ๓ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันหยุด

ค่าจ้างในวันหยุด

จ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์

ค่าจ้างในวันลา

  • จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี
  • จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมัน
  • จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกิน 60 วัน/ปี
  • จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร ไม่เกิน 45 วัน/ครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.mol.go.th/employer/duty

รายละเอียดการจ้างพนักงานยังมีอีกมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของร้านอาหารควรทำความเข้าใจ

เพื่อจะได้จ้างงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

แต่หากอยากเรียนรู้เทคนิคเกี่ยวกับการบริหารงานพนักงานร้านอาหารเพิ่มเติม

>> พบกันได้ในหลักสูตรการ บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร (HR for Food Business) รุ่นที่ 2 <<

หลักสูตรนี้ จะตอบและแก้ไขปัญหาทุกสิ่งที่คุณอยากรู้

หยุดทุกปัญหาน่าปวดหัวของการทำธุรกิจอาหาร!!

เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

ในการบริหารคนภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

_________________________________

หลักสูตร “HR For Food Business”  การบริหารคน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร รุ่นที่ 2
_______________________________
ระยะเวลาในการอบรม : 2 วัน ในวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00-17.00 น.
📍สถานที่: ณ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
.
ค่าใช้จ่ายการอบรม: 12,000 บาท
🔥โปรโมชั่น : สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ท่านละ 11,000 บาท
วิทยากร : อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง (อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)

👉🏻 รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2ZQMeTA
👉🏻 สมัครเลย !! http://bit.ly/2RAeOFR
📍ด่วน!!ที่นั่งมีจำนวนจำกัด🔥

เรื่องแนะนำ

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

ปัญหาหลักของร้านอาหารหลายๆ ร้านคือ ขายได้มาก แต่ได้กำไรเพียงน้อยนิด รู้ไหมว่า ปัญหานี้เกิดจากต้นทุนวัตถุดิบ ที่ส่งผลให้ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

ร้านอาหารของคุณเป็นแบบไหน วางระบบ อย่างไรให้สำเร็จ

การเปิดร้านอาหาร ถ้าอยากให้ร้านของคุณราบรื่น มีปัญหาให้น้อยที่สุด แน่นอนว่าก็ต้องมีการวางระบบร้านที่ดี ซึ่งในการวางระบบร้านนั้น ก็ต้องดูด้วยว่าร้านของคุณเป็นแบบไหน จะได้มีการ วางระบบ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับร้าน แล้วต้องวางระบบอย่างไร กับร้านแต่ละประเภท มาดูกัน ร้านอาหารของคุณเป็นแบบไหน วางระบบ อย่างไรให้สำเร็จ ประเภทของร้านอาหาร ร้านอาหารประเภท Fast Food             ร้านอาหารประเภทจานด่วน หรือที่เรียกว่า Quick Service  Restaurant  ราคาไม่สูงและเน้นความรวดเร็วเป็นหลัก ส่วนใหญ่ร้านอาหารประเภทนี้จะเน้นการ Pre Cook ไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อสามารถเสิร์ฟลูกค้าได้เร็วขึ้น และเน้นการบริการแบบ Self Service ความรวดเร็ว        : ★★★★★ การบริการ            : ★★ ความหลากหลายเมนู/คุณภาพอาหาร : ★★   ร้านอาหารแบบ Fast Casual             เป็นร้านที่ยกระดับการบริการขึ้นมาจากร้าน Fast Food เน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว มีการบริการที่ไม่เป็นทางการมากนัก  โดยจะมีพนักงานมาเสิร์ฟให้ที่โต๊ะ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.