แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ป้องกันอาการขายดีจนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร

ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว
ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน!
.
📌ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
🔸ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40%
🔸ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15%
🔸ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20%
🔸ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำการตลาดค่าเสื่อม) ควรอยู่ที่ 10-15%
📌โดยต้นทุนเหล่านี้จะรวมกันอยู่ที่ 80% ดังนั้นกำไรร้านอาหารจึงไม่ควรต่ำกว่า 20%
🔸ยกตัวอย่างการตั้งราคาเมนูราดหน้าหมูนุ่ม🐷
.
สมมติเรารู้แล้วว่าค่าวัตถุดิบทั้งหมดของเมนูราดหน้าหมูนุ่มคือ 20 บาท
ให้เราถือว่า 20 บาทคือสาม 15% ของยอดขาย วิธีก็คือให้นำ 20 หารด้วย 35% จะได้ราคาขายราดหน้าหมูนุ่มในเบื้องต้นคือ 57 บาท
โดยที่ใน 57 บาทนั้นประกอบไปด้วย
✨ต้นทุนวัตถุดิบ COG = 20 บาท
✨ต้นทุนค่าเช่าที่ COR = 5.7 บาท
✨ต้นทุน พนักงาน COL 11.4 บาท
✨ต้นทุนอื่นๆ ETC = 8.55 บาท
✨ต้นทุนรวม คือ 80% = 45.65 บาท
กำไร 20% = 11.35 บาท
📌ทั้งนี้เราอาจจะปัดให้ราคาขายจาก 57 บาทเป็น 60 บาทก็ได้
🔸Competitive Base และ Branding Base✨
นอกจากนี้การตั้งราคาขายยังต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยนั่นก็คือ Competitive Base หรือการตั้งราคาโดยคำนึงถึงการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคำนวณต้นทุนต่างๆ แล้วราคาขาย ราดหน้าหมูนุ่มของร้านเราสูงกว่าราคาขายของร้านคู่แข่ง
หากร้านเราไม่มีจุดดึงดูดอื่นที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมนูนี้จะสร้างยอดขายได้ ร้านอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์บางอย่างเพื่อลดต้นทุนหรือทำให้เมนูของเราสามารถแข่งขันกับร้านอื่นได้
.
และอีกปัจจัย คือ Branding Base การตั้งราคาเพื่อให้เกิดรับรู้ของแบรนด์ เช่น การที่ร้านอาหารญี่ปุ่นตั้งราคาอาหารทุกจานให้เท่ากันที่ 88 บาท หรือร้านติ่มซำตั้งราคาทุกเมนูอยู่ที่ 15 บาท ซึ่งเป็นการตั้งราคาให้ถูกหรือแพงอย่างมีนัยยะ เพื่อสื่อถึงการมอบประสบการณ์ที่พิเศษเหนือกว่าคู่แข่ง
.
การตั้งราคาอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของร้านอาหารว่าจะขาดทุนหรือมีกำไร จะเจ๊ง หรือไปต่อได้สวยๆ ดังนั้นหากจะตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนวณโครงสร้างต้นทุน เพื่อให้ร้านคุณขายดีและมีกำไร ไม่ใช่ขายดีจนเจ๊งนะ❗️
.

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

ออกแบบเมนูร้านอาหาร เมนูไหนควรเชียร์ขาย เมนูไหนควรตัดทิ้ง!

ไม่รู้จะตัดเมนูไหนทิ้งหรือควรเชียร์ขายเมนใด เรามีหลักการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณ ออกแบบเมนูร้านอาหาร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มาแชร์ให้รู้กัน!

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน   ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน   เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ   ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น   แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด   วันนี้ผมมี SOP […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.