กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน - Amarin Academy

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักโฟกัสที่การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ ทำยังไงก็ได้ให้ถูกที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่กว่าจะลดได้ก็หืดขึ้นคอ เพราะต้องวางระบบสารพัด ขณะที่การลดการจ้างพนักงานประจำ เปลี่ยนมาใช้พาร์ทไทม์แทนง่ายกว่ามาก ไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม เห็นผลจริงตั้งแต่เดือนแรก แถมได้ กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน เราจะเปรียบเทียบให้ฟัง

1.จ้างพนักงานประจำเต็มเวลาทุกคน

สมมติคิดจากเรทค่าแรงพนักงานร้านอาหารกลางๆ คือเดือนละ 13,000 บาท คูณ 12 เดือน เท่ากับ 156,000 บาท นี่ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ค่าสวัสดิการ ค่าโอที ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ฯลฯ

2.ลดพนักงานประจำ 1 คน และจ้างพนักงานพาร์ทไทม์เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน

สมมติว่าร้านคุณเปิด 10.00 – 20.00 ช่วงเวลาเร่งด่วนคือ 11.00 – 13.00 และ 17.00 – 19.00 น.

เท่ากับว่า วันหนึ่งคุณมีช่วงเวลาที่ต้องการคนเยอะจริงๆ แค่ 4 ชั่วโมง

ค่าจ้างพนักงานพาร์ทไทม์เรทพื้นฐานคือ 50 บาท / ชั่วโมง ตกวันละ 200 บาท คูณ 30 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท 1 ปี เป็นเงิน 72,000 บาท

เทียบกับการจ้างพนักงานประจำแล้วคุณจะมีเงินเหลือปีละ 84,000 บาทเลยนะ!

ไม่อยากลดจำนวนพนักงาน ก็เพิ่มกำไรได้

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับร้านอาหารที่จำเป็นต้องจ้างพนักงานประจำ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและการเทรนด์มากกว่าปกติ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

1.เข้างานพร้อมกัน เลิกงานพร้อมกัน

ตามปกติ หากพนักงานทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องจ่ายโอทีเป็นรายชั่วโมง สมมติร้านของเราเปิด 10.00 – 20.00 เท่ากับว่าต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้พนักงาน 2 ชั่วโมง สมมติจ่ายให้ชั่วโมงละ 50 บาทเท่ากับ 100 บาทต่อวัน

สมมติร้านคุณมีพนักงานทั้งหมด 4 คน ให้เข้างานพร้อมกัน เลิกงานพร้อมกัน เท่ากับว่าต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้พนักงานทั้งหมด 400 บาท คูณ 30 วัน เท่ากับเดือนละ 12,000 บาท 1 ปี 144,000 บาท

2.จัดการเข้างานใหม่เป็นระบบเหลื่อมกะ

ตอนเปิดร้าน 10.00 ให้พนักงานมาเปิดร้าน 2 คนและพนักงานอีก 2 คน ให้เข้างานช่วง 11.00 (เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าเริ่มเข้าร้านและต้องการพนักงานมาก) ช่วงเย็นก็ให้พนักงาน 2 คนที่เข้างานก่อน เลิกงานเวลา 19.00 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าเริ่มซาลง เท่ากับว่า พนักงานจะทำงานล่วงเวลาแค่คนละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น

วันหนึ่งต้องจ่ายเงินค่าล่วงเวลา 200 บาท คูณ 30 เท่ากับเดือนละ 6,000 บาท 1 ปี 72,000 บาท

ลดลงครึ่งหนึ่ง

เพียงแค่ปรับเวลาเข้างาน ไม่ต้องทำอะไรใหม่ๆ เลย

………………………………………………………..

เงินที่เหลือ

ใช้ทำโปรโมชั่นเรียกลูกค้า ได้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไร

ซื้อโฆษณา หาลูกค้าใหม่ๆ ได้กี่คน

ใช้พัฒนาปรับปรุงร้าน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้แค่ไหน

เงินที่เหลือ เอาทำประโยชน์ให้ร้านได้อีกเยอะ

แล้วคุณจะลองปรับไหม?

เรื่องแนะนำ

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.