ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร - Amarin Academy

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร

ตั้งราคาอาหาร เท่าไรดี? คงเป็นคำถามที่เจ้าของร้านมือใหม่หลายคนสงสัย เพราะถ้าตั้งต่ำไปก็กลัวขาดทุน แต่ถ้าตั้งสูงก็กลัวไม่มีคนซื้อ ซึ่งทฤษฎีการตั้งราคาอาหารก็มีหลายวิธี ทั้งตั้งราคาโดยคิดจากต้นทุนอาหาร ตั้งราคาโดยเทียบเคียงจากคู่แข่ง ตั้งราคาตามภาพลักษณ์ของแบรนด์ ฯลฯ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ ไม่อย่างนั้นอาจจะขาดทุนโดยไม่ทันตั้งตัว!

1.วัตถุดิบที่ซื้อมา ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด

ร้านอาหารหลายๆ ร้าน มักตั้งราคาอาหารโดยคิดจากต้นทุนวัตถุดิบเป็นหลัก ซึ่งตามทฤษฎีมักบอกว่า ต้นทุนวัตถุดิบไม่ควรเกิน 30 – 35 % ของราคาอาหาร เช่น ถ้าต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 30 บาท ราคาอาหารควรอยู่ที่ 100 บาท นี่เป็นทฤษฎีทั่วไป ซึ่งบางคนพอซื้อวัตถุดิบมาปุ๊บ ก็คิดราคาทันที สมมติ ผักกาดขาว กิโลกรัมละ 40 บาท สุกี้ 1 ชาม ต้องใช้ผัก 100 กรัม แสดงว่าต้นทุนผักกาดขาวเท่ากับ 4 บาท ฟังดูก็สมเหตุสมผล

แต่จริงๆ แล้วผักกาดขาว 1 กิโลกรัม เราใช้ไม่ได้ทั้งหมด แต่ต้องตัดส่วนราก ใบแก่ ใบเหี่ยวออกก่อน จนอาจเหลือส่วนที่ใช้ได้จริงๆ แค่ 600 กรัมเท่านั้น เท่ากับว่าราคาผักกาดขาดไม่ใช่ กิโลกรัมละ 40 บาท แต่เป็น 66 บาท เท่ากับว่าสุกี้ 1 ชาม ต้นทุนผักกาดขาวเท่ากับ 6.6 บาท ส่วนต่างอาจจะไม่มาก แต่ลองคิดดูว่า วันหนึ่งๆ ร้านคุณขายสุกี้กี่ชาม ใช้ผักกาดขาวกี่กิโลกรัม และร้านคุณคงไม่ได้ใช้ผักกาดแค่เมนูเดียว ฉะนั้นลองคิดให้ดีก่อนว่า วัตถุดิบที่คุณซื้อมาใช้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วค่อยนำมาคำนวณ

ทั้งนี้ร้านอาหารบางร้านอาจจะใช้วิธีซื้อผักที่ตัดแต่งแล้ว ซึ่งเผลอๆ อาจจะถูกกว่าการซื้อมาตัดแต่งเองด้วยซ้ำ แถมไม่ต้องเสียเวลาและกำลังคนเพิ่มอีกด้วย

ผักสำหรับร้านอาหาร
ผักที่ซื้อมาจากตลาด อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากต้องตัดแต่งส่วนที่เสีย ก่อนนำมาปรุง

2.ราคาวัตถุดิบมีขึ้นลง แต่ราคาอาหารเราขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้

อย่าลืมว่าราคาวัตถุดิบขึ้นลงตลอด บางฤดูผักราคาถูก บางฤดูผักบางชนิดแพงกว่าเนื้อหมูซะอีก ฉะนั้นอย่าชะล่าใจคำนวณราคาวัตถุดิบจาก ณ วันที่ซื้อ แต่ควรลองดูค่าเฉลี่ยว่าทั้งปี ราคาวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณเท่าไร และคำนวณต้นทุนจากราคาเฉลี่ยจะดีกว่า เพราะถ้าเกิดเดือนไหนวัตถุดิบราคาพุ่งสูงขึ้นมา อาจจะขาดทุนได้ง่ายๆ

3.เผื่อเปอร์เซ็นต์วัตถุดิบเสียหายไว้ด้วย

ทั้งรับออร์เดอร์ผิด พ่อครัวปรุงอาหารพลาด ลูกค้ายกเลิกออร์เดอร์ ฯลฯ สารพัดข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งเจ้าของร้านอาหารต้องเผื่อเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเหล่านี้เอาไว้ด้วย

ยกตัวอย่างร้านโชนัน Chounan มีการกำหนดไว้ว่าค่าความเสียหายของวัตถุดิบ ไม่ควรเกิน 0.3% ของยอดขาย (ซึ่งถึงว่าต่ำมากๆ และต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม!) แต่ร้านอาหารทั่วไปลองประเมินศักยภาพของตัวเองดู และพยายามควบคุมไม่ให้เกินที่กำหนด

4.ถ้ามีบริการห่อกลับ อย่าลืมคิดค่าบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่ร้านอาหารไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสิ่งที่คุณต้องแบกรับเช่นกัน ยิ่งร้านไหนที่ทำธุรกิจรักษ์โลก ใช้บรรจุภัณฑ์จำพวกชานอ้อย ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือบางร้านที่มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม มีลูกเล่นหรือลวดลายต่างๆ ค่าบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก บางร้านอาหารจึงแก้ไขด้วยการคิดค่าบริการห่อกลับบ้าน 10-20 บาท ซึ่งมีข้อดีคือคุณไม่ต้องแบกรับต้นทุนเอง แต่ข้อเสียคือลูกค้าบางคนอาจไม่เข้าใจ คิดว่าคุณกำลังเอาเปรียบ ดังนั้นต้องลองหาวิธีดีๆ ว่า ควรจะหาทางออกอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าไม่เคือง และเราเองก็ไม่เจ็บตัว

food-packaging

5.ปรุงอาหารต้องมีการชั่ง ตวง วัดเสมอ

ข้อสุดท้าย หลังจากคำนวณต้นทุนเตรียมตั้งราคาอาหารจนเป๊ะแล้ว อย่าลืม! ชั่ง ตวง วัด วัตถุดิบทุกชนิดขณะที่ปรุงด้วย เพราะการปรุงที่คิดว่าคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าคลาดเคลื่อนทุกจาน นอกจากทำให้คุณไม่สามารถประเมินได้ว่ากำไร ขาดทุน เป็นเท่าไรแล้ว ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่มั่นใจในมาตรฐานร้านของคุณด้วย วันนี้มากินได้เยอะ อีกวันมากินได้น้อย

ร้านอาหารบางร้านที่ต้องการความรวดเร็ว อาจคิดว่าการชั่ง ตวง วัด จะทำให้เสียเวลา ทำให้เสิร์ฟอาหารได้ช้าลง เรามีวิธีแก้ปัญหาของโกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำมาแชร์

“ตอนนี้ทุกอย่างเป็นระบบชั่งตัวงวัดทั้งหมด เหลือแต่เนื้อไก่ที่เรายังทำไม่ได้ เพราะว่าลูกค้าเยอะชั่งไม่ทัน จึงต้องอาศัยความชำนาญ แต่เราก็จะทดสอบเขาอยู่เสมอ เช่น สุ่มหยิบมาหนึ่งจาน เอาไปชั่ง แล้วบอกเขาว่า อันนี้พอดีนะ หรืออันนี้น้อยไป มากไป ครั้งหน้าต้องปรับ เพื่อให้เขาทำได้มาตรฐานตลอด

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร

หลายคนที่ลงทุนเปิดร้านอาหาร มีทำเลมี ทีมงานแน่น อาหารอร่อย แต่ตกม้าตายตรงการจัดการซะนี่ อย่างนั้นมาดูวิธี เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร กันดีกว่า

7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน!

ตั้งชื่อร้าน ว่าอะไรดี ? เชื่อว่าผู้ที่กำลังจะเปิดร้านอาหารหลาย ๆ คน ต้องมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัว คุณอาจจะมีชื่อที่ชอบอยู่ในใจอยากนำมาตั้งชื่อร้านอาหารในฝัน หรือยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อร้านของคุณว่าอะไรดี ลองใช้เทคนิคการตั้งชื่อเหล่านี้เป็นตัวช่วย   7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน! 1. จำง่าย อ่านง่าย           ถ้าลูกค้าเห็นร้านคุณครั้งแรกว่าเป็นร้านที่อยู่ในโลเคชั่นที่เดินทางผ่าน  แต่แล้วพอจะไปกินกลับจำชื่อร้านไม่ได้ จะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อไปกินที่ร้านก็ไม่ถูก เพราะชื่อจำยาก ทำให้คุณเสียโอกาสที่คุณจะขายลูกค้าคนนั้นไปเลยก็ได้  ชื่อที่จำง่าย สะกดง่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเทคนิคอันดับแรก ๆ ของการตั้งชื่อร้านที่คุณต้องคำนึงถึง  รวมถึงยังส่งผลดีต่อการออกแบบโลโก้ร้าน หรือทำการตลาดในช่องทางต่าง ๆอีกด้วย  การใช้คำที่อ่านง่าย ที่สามารถใส่เรื่องราวให้กับชื่อร้าน ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เช่น ร้านขนมหวาน After You ตั้งชื่อจากโลเคชั่นแรกของร้านที่เปิดอยู่บนร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อยู สิ่งที่ควรระวังก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ก่อให้เกิดความสับสน และคำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ร้านของคุณในด้านลบ   2. บอกรูปแบบของร้านชัดเจน หรือรู้ทันทีว่าขายอะไร การตั้งชื่อร้านที่สามารถบอกได้ทันทีว่าขายอะไร มีข้อดีนอกจากช่วยให้จดจำได้ ทำการตลาดง่ายแล้ว ยังสามารถสื่อถึงจุดขายของร้านของคุณไม่ว่าจะเป็น รสชาติ หรือคุณภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจมากินร้านของคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มสโลแกนเข้าไปท้ายชื่อ […]

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ คือการ กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ให้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้ทราบว่าอาหาร 1 จานมีต้นทุนเท่าไรและควรตั้งราคาเท่าไรจึงเหมาะสม

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.