5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ - Amarin Academy

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

ใครที่เปิดร้านอาหารอยู่ คงพอจะทราบว่า ปัญหากับร้านอาหารเป็นของคู่กัน ยิ่งช่วงแรกๆ ที่เปิดร้าน ต้องแก้ปัญหาเป็นรายวันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจึงขอรวบรวม ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมักเจอมาแชร์ให้ทุกคนทราบกัน เผื่อใครที่กำลังวางแผนเปิดร้าน จะได้เตรียมตัวรับมือถูก

1.พนักงานไม่เป๊ะ!

ปัญหาเรื่องคน ถือเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ขาด ลา มาสาย ทำงานผิดพลาด ถูกลูกค้าตำหนิ ทะเลาะกันเอง ลาออกเป็นว่าเล่น ฯลฯ เรื่องพวกนี้คนเป็นเจ้าของร้านต้องทำใจยอมรับเอาไว้เลยครับ เพราะแทบทุกร้านต้องเจอเหตุการณ์นี้ ซึ่งพอจะมีทางแก้อยู่บ้างคือ ต้องสร้างระบบการทำงานให้ชัดเจน อาจจะมีระบบลงเวลาเข้า-ออก ระเบียบการลา มีการจัดเทรนด์การทำงาน เพื่อป้องกันการทำงานผิดพลาด มีสวัสดิการที่ดี ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อดึงให้เขาอยากอยู่กับเรานานๆ หรือมอบรางวัลให้พนักงานดีเด่นทุกครึ่งปี เพื่อเป็นกำลังใจให้ตั้งใจทำงาน เป็นต้น

2.ระบบไม่พร้อม

ระบบคือสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามมองข้าม เพราะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุณไม่ต้องเหนื่อยเข้าร้านทุกวัน และมีเวลาไปคิดพัฒนาธุรกิจในด้านอื่นๆ สังเกตง่ายๆ ร้านอาหารไหนที่ไม่วางระบบการทำงาน เจ้าของร้านจะต้องวิ่งวุ่นเข้าร้านทุกวันเพื่อคอยควบคุมการทำงานของพนักงาน ตั้งแต่การต้อนรับ รับออร์เดอร์ ส่งออร์เดอร์เข้าครัว ปรุง เสิร์ฟ เช็คสต็อกแล้วสั่งซื้อวัตถุดิบ ซึ่งมักมีข้อผิดพลาดได้ตลอดเวลา หากไม่มีระบบพนักงานอาจทำงานข้ามขั้นตอน หรือผิดพลาดจนเกิดความเสียหายได้ แต่หากมีระบบที่เป็นมาตรฐาน เช่น หากลูกค้าเข้าร้านจะต้องพูดต้อนรับด้วยคำว่าอะไร การรับออร์เดอร์ต้องมีการทวนออร์เดอร์ทุกครั้งก่อนส่งเข้าครัว พ่อครัวต้องมีสูตรมาตรฐานในการปรุงเพื่อไม่ให้รสชาติผิดเพี้ยน ฯลฯ หากเจ้าของร้านอาหารวางระบบดี พนักงานก็สามารถทำงานตามขั้นตอนได้โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด

ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

3.ต้นทุนพุ่ง

หัวใจสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ ไม่ใช่การเพิ่มยอดขายให้สูงเพียงอย่างเดียว แต่คือการควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงจนเกินไป โดยส่วนใหญ่ ร้านอาหารมักประสบปัญหาต้นทุนพุ่งจนควบคุมไม่ได้ ซึ่งมักเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การจ้างพนักงานที่มากเกินไป หรือต้องจ่ายค่าโอทีโดยไม่จำเป็น การจัดการวัตถุดิบไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีวัตถุดิบเหลือทิ้งหรือมีไม่เพียงพอต่อการปรุง จนพนักงานต้องไปซื้อในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งราคาสูงกว่า ฯลฯ แม้ว่าร้านอาหารจะเพิ่มยอดขายได้มากแค่ไหน ถ้าไม่มีการควบคุมต้นทุนที่ดี ก็เหมือนกับการเติมน้ำลงแก้วที่รั่ว ซึ่งเติมเท่าไรก็ไม่มีวันเต็ม

4.ยอดขายตก

ยอดขายตก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ ซึ่งปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุ ทั้งคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เศรษฐกิจไม่ดีทำให้ใช้จ่ายน้อยลง ฯลฯ หากร้านอาหารเจอปัญหานี้อาจจะต้องงัดหมัดเด็ดขึ้นมาเพื่อทำการตลาด ดึงยอดขายให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชันพิเศษ เพิ่มเมนูใหม่ๆ หรือทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งทุกวิธีก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่วิธีที่ไม่แนะนำเลย คือการลดราคา เพราะเป็นการดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ “อ่อนไหวเรื่องราคา” หากคุณหยุดลดราคา ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่กลับมาใช้บริการอีก นั่นเท่ากับว่า คุณต้องลดราคาไปเรื่อยๆ และหากมีคู่แข่งลดราคาต่ำกว่าคุณ ลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะย้ายไปเข้าร้านคู่แข่งแทน คุณก็ต้องลดราคาลงต่ำลงอีก เพื่อดึงเขากลับมา สุดท้ายก็ไม่มีใครได้ประโยชน์ทั้งคู่ ฉะนั้นเลือกวิธีอื่นๆ ในการจูงใจลูกค้าจะดีกว่า

5.เงินรั่วไหล

เรื่องเงินถือเป็นเรื่องที่คุณจะไว้ใจใครไม่ได้เลย ยิ่งธุรกิจร้านอาหาร มีช่องทางให้เงินรั่วไหลได้ทุกจุด ตั้งแต่งานหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเช็คสต็อกวัตถุดิบ ที่พนักงานอาจเช็คพลาดทำให้ได้วัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ไม่ครบถ้วน งานในครัวที่พ่อครัวอาจปรุงอาหารผิดทำให้ต้องทิ้งอาหารจานนั้นๆ ไป หรืองานหน้าบ้าน ที่พนักงานคิดเงินผิด ทอนเงินพลาด เป็นต้น ทางแก้ที่ดีที่สุดคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น ระบบ POS ที่ช่วยเก็บข้อมูลการขาย ระบบบัญชีออนไลน์ที่แสดงยอดขายต่อวันอย่างชัดเจน ก็จะช่วยอุดรอยรั่วต่างๆ ได้

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าปัญหากับร้านอาหารเป็นของคู่กัน ฉะนั้นใครที่อยากเข้ามาทำธุรกิจนี้อาจจะต้องทำใจยอมรับปัญหาเหล่านี้ให้ได้ แต่ขณะเดียวกัน หากคุณมีการวางแผนที่ดีพอ ก็จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้ระดับหนึ่ง

เรื่องแนะนำ

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

เทคนิคการขยายสาขา

7 เทคนิคการขยายสาขา จาก 7 ร้านดัง

ร้านอาหารหลายๆ ร้านอาจกังวลว่าหากขยายไป สาขาสองอาจไม่เปรี้ยงเท่าสาขาแรก เราจึงรวบรวม เทคนิคการขยายสาขา จากร้านดังที่ประสบความสำเร็จมาฝากกัน

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

ร้านอาหารบริการดี

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวัง เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านอาหารคือ การบริการที่ดี อย่างนั้นลองมาดูเทคนิคง่ายๆ กันดีกว่า ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.