6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร - Amarin Academy

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

ร้านอาหาร จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่อาหารอร่อยหรือบรรยากาศดี แต่ยังรวมไปถึงงานบริการด้วย มีลูกค้าไม่น้อยเลยที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพราะพนักงานดูแลดี มีงานบริการที่ประทับใจ ดังนั้น พนักงานจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการทำร้านอาหาร เพราะมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง และเปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรใส่ใจกับการบริหารจัดการพนักงาน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี และอยากกลับมาใช้บริการอีก ลองมาดูเคล็ดลับในการปรับปรุงการบริการในร้านของคุณกันครับ

 

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

  1. ฝึกอบรมพนักงาน

ผู้ประกอบการควรคัดเลือกคนที่มีใจรักงานบริการเข้ามาทำงาน และจัดอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของการบริการ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลัก จนถึงเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ ตัวอย่างเช่น 

  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน
  • ขั้นตอนการทำงานในช่วงต่างๆ (ก่อนเปิดร้าน, เปิดร้าน, หลังปิดร้าน)
  • การกล่าวต้อนรับเมื่อมีลูกค้าเข้าร้าน
  • ทวนรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • ใส่ใจดูแลลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร และรีบเข้าไปบริการเมื่อลูกค้าต้องการ เช่น การเติมน้ำ สั่งอาหารเพิ่ม หรือเรียกเก็บเงิน ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
  • เมื่อลูกค้าชำระเงิน ให้พนักงานนับเงินต่อหน้าลูกค้าและแจ้งจำนวนเงินที่รับมา ตอนทอนเงินให้แจ้งจำนวนเงินที่ทอน และเตือนให้ลูกค้าตรวจนับก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • มารยาทต่างๆ เช่น พูดจาสุภาพ มีคำลงท้ายประโยค (ค่ะ/ครับ) ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับลูกค้า กล่าวขอบคุณหรือขอโทษ มีความอดทนในการทำงาน
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเมนูอาหารในร้าน สามารถอธิบายส่วนประกอบหรือรสชาติของอาหาร และแนะนำเมนูให้ลูกค้าได้
  • Up Selling โดยเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มเติม หรือแนะนำเมนูใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน

 

  1. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริการร้านอาหารที่ดีควรมีการสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างพนักงานกับลูกค้า ระหว่างพนักงานที่รับออร์เดอร์กับพนักงานในครัว หากพนักงานสื่อสารกันผิดพลาดก็จะทำให้ลูกค้าได้อาหารไม่ตรงกับเมนูที่สั่ง หรือพนักงานที่พบปัญหาภายในร้านแต่ไม่กล้าบอกผู้จัดการ ก็อาจจะทำให้การทำงานภายในเกิดปัญหา และสร้างผลเสียต่อร้านได้ 

บางร้านเลือกที่จะแก้ปัญหานี้โดยจัดประชุมกับทีมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บอกถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คำแนะนำติชมของลูกค้า รวมถึงกล่าวชื่นชมหรือให้รางวัลกับพนักงานที่ทำงานได้ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน และทำให้ลูกค้าประทับใจต่อไป

ร้านอาหาร

  1. การรอคอยที่ไม่น่าเบื่อ

บางครั้งลูกค้าก็ต้องรออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การรอคิวเพื่อเข้าร้านอาหาร การทำเมนูบางชนิดที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ช่วงเวลาการรอคอยเหล่านี้น่าอึดอัดเสมอ และอาจจะทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ จะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้ได้บ้าง 

  • แจ้งเวลาที่ต้องรอโดยประมาณ

หากมีลูกค้าหลายรายรออยู่ พนักงานหน้าร้านควรแจ้งเวลาโดยประมาณที่ลูกค้าต้องรอ เพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจว่าจะรอหรือไม่ ระหว่างนั้นก็รีบเคลียร์โต๊ะใหม่ให้ลูกค้าเข้าไปนั่ง หรือรายการอาหารบางเมนูที่ต้องใช้เวลา ควรแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าก่อนลูกค้าจะสั่ง พร้อมกับเสิร์ฟเครื่องดื่มและเมนูอื่นๆ ที่ทำเสร็จไปก่อน

  • สร้างกิจกรรมระหว่างรอ

 ร้านอาหารบางแห่งมีกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกค้าทำระหว่างรอ ตัวอย่างที่เด่นมากๆ คงจะเป็นร้าน Haidilao Hotpot ร้านชาบูหมาล่าจากประเทศจีนที่มีลูกค้ารอคิวกันนานหลายชั่วโมง ระหว่างที่ลูกค้ารอนั้น ทางร้านจะมีทั้งการเสิร์ฟของหวาน ผลไม้ น้ำดื่ม บริการทำเล็บ เก้าอี้นวด เกมต่างๆ ให้เล่นรอได้ฟรีๆ รวมถึงพนักงานที่ใส่ใจบริการ ทำให้ช่วงเวลาที่ต้องรอกลายเป็นจุดขายเด่นอีกแบบของร้านนี้เลยครับ

  1. จัดการกับข้อร้องเรียน

‘ลูกค้าถูกเสมอ’ เป็นประโยคที่รู้จักกันดีในกลุ่มธุรกิจบริการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือความกังวลของลูกค้าในเรื่องใด ผู้ประกอบการควรดูแลตามลำดับความสำคัญ เช่น ในโซเชียลมีเดียต่างๆ อาจจะมีลูกค้าโพสต์ข้อติชมลงสื่อออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ รับรู้ตามไปด้วย ร้านอาหาร ก็ไม่ควรเพิกเฉย แต่ควรตอบกลับอย่างสุภาพ โดยเริ่มจากขั้นตอนเหล่านี้

  • รับทราบข้อร้องเรียนของลูกค้า

หากลูกค้าของคุณไม่พอใจกับการบริการของร้าน ให้ทางร้านรับฟัง กล่าวขอโทษกับลูกค้าอย่างจริงใจ พร้อมกับแจ้งอธิบายเหตุผล แสดงออกถึงความรับรู้และใส่ใจจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ปัดความรับผิดชอบหรือตอบกลับอย่างไม่สุภาพ เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ของร้านดูไม่ดี

  • ลงมือแก้ปัญหาทันที

หากลูกค้าแจ้งปัญหาขณะอยู่ในร้าน พนักงานควรจะมีแนวทางในการแก้ปัญหา โดยกล่าวขอโทษลูกค้าทันที ถ้าเป็นปัญหาด้านรสชาติอาหาร อาจจะให้เชฟออกมากล่าวขอโทษด้วยตัวเอง หรือบางกรณีควรให้ผู้จัดการร้านหรือเจ้าของร้านออกมาขอโทษด้วยตัวเอง และชดเชยด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เหตุการณ์สงบและไม่บานปลาย  

  • เสนอการชดเชย

นอกจากคำขอโทษอย่างจริงใจแล้ว การชดเชยให้ลูกค้าจะช่วยลดความรู้สึกแย่ หรือเปลี่ยนเป็นความประทับใจในการแก้ปัญหาของร้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอาหารให้ใหม่ การไม่คิดเงิน ให้เมนูพิเศษ มอบส่วนลดหรือบัตรสมาชิกให้แก่ลูกค้า ก็ช่วยให้ลูกค้าของคุณรู้สึกพึงพอใจและมีโอกาสกลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย

  • ถามความคิดเห็น

เมื่อลูกค้าทานอาหารเสร็จแล้ว ทางร้านอาจจะมีแบบสอบถามสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีที่ในการแสดงความคิดเห็น ลดการวิจารณ์ในด้านลบบนโซเชียลมีเดีย และนำคำตอบของลูกค้ามาปรับปรุงต่อไป

 

  1. ใช้เทคโนโลยีช่วย

มีร้านอาหารขนาดใหญ่มากมายที่เลือกใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งระบบ POS (Point of Sale System) ที่ช่วยเก็บข้อมูลการขาย และทำให้งานบริการง่ายขึ้น เช่น หากลูกค้าเปลี่ยนโต๊ะ ก็สามารถโอนข้อมูลจากโต๊ะหนึ่งไปโต๊ะหนึ่งได้ทันที หรือช่วยบันทึกเมนูที่ลูกค้าสั่ง เพื่อป้องกันการหลงลืมของพนักงาน หรือการทำใบสั่งเมนูหาย

นอกจากนี้ ยังมีการจองร้านผ่านระบบออนไลน์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ การใช้แท็บเล็ตให้ลูกค้าสั่งอาหารด้วยตัวเอง หรือแม้แต่เครื่องคิดเงินอัตโนมัติที่มีความถูกต้องรวดเร็ว และช่วยให้งานในร้านอาหารสะดวกสบายมากขึ้น 

ร้านอาหาร

 

  1. การดูแลรักษาสุขอนามัยภายในร้าน

นอกจากรสชาติอาหารและการบริการ ความสะอาดของร้านอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงจะมีผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า แต่ยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของร้านอาหาร พนักงานควรดูแลความสะอาดภายในร้าน ทั้งโต๊ะ อุปกรณ์ทานอาหาร รวมถึงป้องกันและกำจัดหนู แมลงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความสะอาดในห้องน้ำด้วย เพราะสิ่งที่ลูกค้าผู้หญิงมักจะร้องเรียนคือห้องน้ำที่ไม่สะอาด ดังนั้น ร้านอาหารต้องมีมาตรฐานความสะอาดและสุขอนามัย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมาใช้บริการ ยิ่งในช่วงที่มีโรคติดต่อด้วย ร้านอาหาร อาจจะต้องมีมาตรการการคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วย 

 

อย่าลืมว่า ร้านอาหารที่ดีควรจะตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าทั้งในเรื่องอาหารและการบริการ การจัดอบรมพนักงานเกี่ยวกับมาตรฐานการบริการ และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา จะช่วยให้การบริหารจัดการร้านเป็นระบบชัดเจน และพัฒนาการบริการในร้านให้น่าประทับใจมากขึ้น หวังว่าข้อแนะนำเหล่านี้จะสามารถช่วยปรับปรุงการบริการในร้านของคุณให้ดีมากขึ้นได้นะครับ

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

5 เคล็ดลับ จัดการร้านอาหาร ดี บริการเร็ว ยอดขายเพิ่ม

5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ

ร้านอาหาร บริการลูกค้า ต่างกลุ่มยังไง ให้โดนใจทุกคน

เรื่องแนะนำ

วางระบบร้านอาหาร

เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นวางระบบร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารหลายคนไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน เราจึงมีวิธี วางระบบร้านอาหาร ที่ทำเองได้ง่ายๆ มาแนะนำ

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์

5 ข้อควรระวังหาก เปิดร้านบุฟเฟ่ต์

หลายคนอาจคิดว่าบุฟเฟ่ต์ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วหลังร้านไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด วันนี้จึงขอนำ ข้อควรระวังหาก เปิดร้านบุฟเฟ่ต์ มาให้พิจารณากัน

เมนูเยอะ

จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ?

เชื่อว่าหลายคนที่เคยไปรับประทานอาหารนอกบ้าน น่าจะเคยเจอร้านที่มีเมนูอาหารเยอะมาก บางร้านมีเป็นร้อยเมนู เพราะอาจจะคิดว่า การมีเมนูอาหารเยอะๆ ไว้ก่อน จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย แต่คำถามก็คือ การที่ร้านอาหารมี เมนูเยอะ ช่วยทำให้ลูกค้าพอใจจริงหรือ?     จิตวิทยาร้านอาหาร เมนูเยอะ ทำให้ลูกค้าพอใจ จริงหรือ? การที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกเมนูนาน เมื่ออยู่ในร้านอาหารที่มีเมนูหลากหลายนั้น สามารถอธิบายในทางจิตวิทยาได้จากปรากฏการณ์ The Paradox of Choice คือ เมื่อคนเรามีทางเลือกมากขึ้น เรามักจะพอใจกับสิ่งที่เลือกน้อยลง พูดง่าย ๆ คือการรักพี่เสียดายน้องนั่นเอง และในบางครั้ง ความเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ อาจจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลยก็ได้ เช่น ร้านอาหารที่มีเล่มเมนูอยู่หน้าร้านและมีเมนูให้เลือกเยอะเกินไป อาจทำให้ลูกค้าแค่ดูเฉยๆ เลือกไม่ได้ และเดินผ่านไปก็เป็นได้ ดังนั้น ร้านอาหารที่มีเมนูอาหารมากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้าสับสน และตัดสินใจเลือกได้ยากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อร้านอาหารในอีกหลายๆ ด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ : ร้านจะต้องสต๊อกวัตถุดิบหลายชนิด เพื่อเตรียมสำหรับทำทุกเมนูในร้าน แม้ว่าบางเมนูอาจจะไม่เป็นที่นิยมและไม่มีลูกค้าสั่ง จึงอาจจะทำให้วัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้มีคุณภาพลดลงหรือหมดอายุไปก่อน เหล่านั้นล้วนเป็นต้นทุนวัตถุดิบทั้งสิ้น ต้นทุน : ทางร้านจะต้องใช้ต้นทุนในการสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น […]

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.