5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ - Amarin Academy

5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ

 

ร้านอาหารอร่อยอาจทำให้ลูกค้าหลายคนอยากลองมาชิม แต่ถ้าร้านอาหารนั้นบริการดีด้วย จะทำให้ลูกค้าอยากมาซ้ำ ๆ และบอกต่อคนรอบตัวเขา การบริการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของร้านอาหารต้องสร้างให้พนักงานมีใจในการบริการ (Service Mind ) ให้ได้ เพราะมันสามารถชี้ชะตาได้เลยว่า ร้านอาหารของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง แต่จะทำอย่างไรนั้นบทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ

1.สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และมีเป้าหมาย

ความรู้สึกทำตามหน้าที่ปกติ กับความรู้สึกทำอย่างมีเป้าหมายนั้น ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ยกตัวอย่างร้าน Starbuck  ทราบดีว่า พนักงานนั้น คือ Touch point สำคัญของแบรนด์  พวกเขาถูกวางให้เป็นพาร์ทเนอร์ไม่ใช่ลูกจ้าง มีการอบรมให้มีความเข้าใจในสินค้า และบริการของร้านอย่างถ่องแท้ ที่สำคัญคือสื่อสารเป้าหมายให้เห็น และสร้างความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้นด้วย

เคล็ดลับ ก็คือ แทนที่คุณจะมุ่งให้พนักงานสร้างความพึงพอใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่การบริหารคนให้เกิดความพอใจตั้งแต่แรก จะถูกส่งต่อถึงลูกค้าของคุณเอง ทั้งยังเป็นการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีมูลค่าผ่านพวกเขาอีกด้วย

 

2.สร้างระบบการบริการที่ดี

บางครั้งลูกค้าไม่ได้คอมเพลนที่ตัวพนักงาน แต่คอมเพลนระบบในการบริการที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานบริการให้ดี  ข้อกำหนดบางอย่างอาจสร้างปัญหาหน้างานด้วยซ้ำ เจ้าของร้านอาหารควรให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบการบริการของร้านที่เหมาะสม และกำหนดให้สามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ และสถานะของร้านอาหารในขณะนั้น

เคล็ดลับ ก็คือ  พนักงานเป็นตัวแปรสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ เพราะจะต้องเป็นคนสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ และจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าให้จบลงด้วยดีด้วย เทคนิค คือ ต้องฝึกให้รับฟังลูกค้าก่อน และเสนอทางแก้ไขปัญหาด้วยความกระตือรือร้น

 

3.สร้างความเข้าใจ โดยการฝึกให้เจอประสบการณ์จริง

ร้านอาหารหลายร้าน ลงทุนจ้างวิทยากรในการฝึกอบรม แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นก็เพราะการเรียนรู้ในระยะเวลาจำกัด มักให้ผลในระยะสั้น รวมถึงหากไม่มีแนวทางประยุกต์ใช้ หลังจากนั้นก็แทบไม่มีประโยชน์ เพราะธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ใช้ใจและต้องการพลังในการสร้างความรู้สึกด้านบวกที่มากกว่านั้น ซึ่งการบอกว่าจะต้องทำอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับการที่ได้รับประสบการณ์เหล่านั้นด้วยตนเอง

เคล็ดลับก็คือ สร้างการพัฒนาจิตสำนึกในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  แทนที่จะลงทุนไปกับการอบรมที่พนักงานอาจจะฟังบ้างไม่ฟังบ้างเพียงอย่างเดียว คุณอาจกำหนดให้มีการจัดงานเพื่อเลี้ยงอาหารพนักงานสักมื้อหนึ่ง และให้บริการที่แย่กับพวกเขาดูบ้าง เช่น ออกอาหารช้า พนักงานไม่สนใจให้บริการ ไม่ยิ้มแย้ม ไม่ได้รับความสะดวก รวมถึงการลองให้ประสบกับการให้บริการที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด เพื่อให้พนักงานของคุณสะท้อนวิธีการทำงานของตนเองกับบริการที่ได้รับ แล้วลองให้พวกเขาให้ความคิดเห็นที่เป็นแนวทางการแก้ไขที่เกิดจากพวกเขาเอง

 

4.เจ้าของร้านอาหารคนสำคัญ ต้องทำให้ดู

ไม่มีหางที่ดีได้ถ้าหัวไม่ดี เจ้าของร้านรวมถึงพนักงานในระดับหัวหน้างานมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการส่งต่อทัศนคติการบริการที่ดีเยี่ยมไปถึงพนักงานคนอื่น ๆ  ซึ่งถ้าอยากให้พนักงานปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร เจ้าของร้าน หรือหัวหน้างานต้องปฏิบัติสิ่งนั้นกับลูกค้าก่อน นอกเหนือจากการประกาศเป้าหมาย และนโยบายที่ทำให้ทีมงานเห็นภาพเดียวกัน นอกจากนั้น การสื่อสารโดยตรงของผู้บริหารไปถึงทีมงานจะทำให้เกิดความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ และทำให้เกิดผลลัพธ์มากกว่าการใช้การสื่อสารผ่านเอกสาร ควรหาโอกาสในการลงพื้นที่ รับฟังแก้ไขปัญหา และบอกแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานด้วย

เคล็ดลับ ก็คือ ไม่ใช่เพียงดูแลลูกค้า เจ้าของร้านต้องดูแลพนักงานให้ดีด้วยทั้งในแง่สวัสดิการและจิตใจ เพราะพนักงานจะเป็นคนที่ไปดูแลลูกค้าให้กับคุณ

5.ระบบการประเมิน พนักงานแบบมีส่วนร่วม

การประเมินการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ วิธีที่ใช้ในการประเมิน และทิศทางในการแก้ไขหลังจากนั้น นอกจากวิธีการประเมินโดยหัวหน้างาน หรือจ้างคนมาสังเกตการณ์โดยเฉพาะแล้ว เราสามารถประเมินด้วยวิธีให้พนักงานประเมินตัวเอง หรือเชิญลูกค้าประจำมาเป็นคนประเมิน เพราะเขาจะได้เจอกับผู้ประเมินที่เป็นคนใช้บริการจริง  ได้รับฟังความคิดเห็นจริง ๆ

เคล็ดลับ ก็คือ การทำร้านอาหารหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะโดนตำหนิการให้บริการ พนักงานส่วนใหญ่มี แนวโน้มที่จะต่อต้าน เกิดความคิดเชิงลบเมื่อโดนตำหนิ วิธีการแก้ไขคือเปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อเท็จจริง แยกแยะว่าสิ่งที่ลูกค้าคอมเพลนนั้น เป็นการมุ่งตำหนิไปที่การบริการที่ไม่ได้รับความสะดวกที่เกิดจากระบบ ซึ่งไม่ได้เป็นการตำหนิพนักงานโดยตรง เพื่อให้พนักงานลดความรู้สึกเชิงลบ และรู้สึกว่ามีส่วนสำคัญในการแก้ไขสิ่งนั้นให้ดีขึ้นด้วย

 

ดังนั้นเซอร์วิสมายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการร้านอาหารในยุคนี้ เพราะความคิดเห็นของลูกค้าสามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  ถ้าร้านของคุณมีบริการที่ดีลูกค้าจะประทับใจ กลับมาบ่อย ๆ  และบอกต่อคนรอบตัวเขาเป็นทอดไปอย่างไม่รู้จบ ในทางกลับกันถ้ามันเป็นประสบการณ์เชิงลบ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เมื่อเรื่องกระจายออกไปแล้ว  จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กลับมาอีกครั้ง

 

เรียนรู้เทคนิคการบริหารคน และสร้างเซอร์วิสมายเพื่อนำมาปรับใช้กับร้านอาหาร คาเฟ่ กับหลักสูตรที่ทำให้คุณเรียนรู้เรื่องคน ได้ทะลุปรุโปร่งมากกว่าที่เคย จากอาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง ซึ่งมีประสบการณ์บริหารงานบุคคลร้านอาหารดังหลายแห่งในประเทศไทย รวมถึงร้านแมคโดนัลด์ ประเทศไทย คลิกดูรายละเอียดหลักสูตร HR For Food Business การบริหารคน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร รุ่นที่ 2

 

>> หลักสูตรการ บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร (HR for Food Business) รุ่นที่ 2 <<

 

หลักสูตรนี้ จะตอบและแก้ไขปัญหาทุกสิ่งที่คุณอยากรู้

หยุดทุกปัญหาน่าปวดหัวของการทำธุรกิจอาหาร!!

เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

ในการบริหารคนภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ระยะเวลาในการอบรม : 2 วัน ในวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00-17.00 น.
📍สถานที่: ณ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
.
ค่าใช้จ่ายการอบรม: 12,000 บาท
🔥โปรโมชั่น : สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ท่านละ 11,000 บาท
วิทยากร : อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง (อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)

👉🏻 รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2ZQMeTA
👉🏻 สมัครเลย !! http://bit.ly/2RAeOFR
📍ด่วน!!ที่นั่งมีจำนวนจำกัด🔥

เรื่องแนะนำ

5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ

  ร้านอาหารอร่อยอาจทำให้ลูกค้าหลายคนอยากลองมาชิม แต่ถ้าร้านอาหารนั้นบริการดีด้วย จะทำให้ลูกค้าอยากมาซ้ำ ๆ และบอกต่อคนรอบตัวเขา การบริการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของร้านอาหารต้องสร้างให้พนักงานมีใจในการบริการ (Service Mind ) ให้ได้ เพราะมันสามารถชี้ชะตาได้เลยว่า ร้านอาหารของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง แต่จะทำอย่างไรนั้นบทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ 1.สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และมีเป้าหมาย ความรู้สึกทำตามหน้าที่ปกติ กับความรู้สึกทำอย่างมีเป้าหมายนั้น ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างร้าน Starbuck  ทราบดีว่า พนักงานนั้น คือ Touch point สำคัญของแบรนด์  พวกเขาถูกวางให้เป็นพาร์ทเนอร์ไม่ใช่ลูกจ้าง มีการอบรมให้มีความเข้าใจในสินค้า และบริการของร้านอย่างถ่องแท้ ที่สำคัญคือสื่อสารเป้าหมายให้เห็น และสร้างความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้นด้วย เคล็ดลับ ก็คือ แทนที่คุณจะมุ่งให้พนักงานสร้างความพึงพอใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่การบริหารคนให้เกิดความพอใจตั้งแต่แรก จะถูกส่งต่อถึงลูกค้าของคุณเอง ทั้งยังเป็นการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีมูลค่าผ่านพวกเขาอีกด้วย   2.สร้างระบบการบริการที่ดี บางครั้งลูกค้าไม่ได้คอมเพลนที่ตัวพนักงาน แต่คอมเพลนระบบในการบริการที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานบริการให้ดี  ข้อกำหนดบางอย่างอาจสร้างปัญหาหน้างานด้วยซ้ำ เจ้าของร้านอาหารควรให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบการบริการของร้านที่เหมาะสม และกำหนดให้สามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ และสถานะของร้านอาหารในขณะนั้น เคล็ดลับ ก็คือ  พนักงานเป็นตัวแปรสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ เพราะจะต้องเป็นคนสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ […]

รีวิวร้านอาหารแบบไหนให้เข้าถึงใจสายกิน !

รีวิวสายจิ้น…สร้างจินตนาการให้มากที่สุด เมื่อพูดถึงการรีวิวร้านอาหาร หลายคนคงนึกถึงการรีวิวด้วยภาพเป็นอันดับแรก แต่เชื่อไหมว่าคุณสามารถเรียกลูกค้าให้ต่อคิวหน้าร้านได้โดยที่ไม่ได้มีการโพสต์รูปอาหารใด ๆ ด้วยซ้ำ เพียงแค่ทำให้เขาจินตนาการถึงอาหารของคุณ  ยกตัวอย่าง เช่น ร้านของคุณกำลังจะทำเมนูใหม่ซึ่งเป็นเมนูที่ขายรสชาติที่เผ็ดร้อน อาจเลือกใช้ภาพสีหน้าของคนที่เกิดจากการกินอาหารจานนั้น และเลือกใช้ภาพสีหน้าที่บอกระดับความเผ็ดในระดับต่าง ๆ  คนที่ได้เห็นภาพจะเกิดความรู้สึกสนใจ คิดว่าเมนูนี้จะเผ็ดขนาดไหน และต้องการเปรียบเทียบระดับความเผ็ดเมื่อได้กินเมนูนี้ด้วยตัวเอง ยิ่งคุณสามารถสร้างจินตนาการขึ้นในหัวของคนได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างความรู้สึกคาดหวังที่จะสัมผัสของจริงได้มากขึ้นเท่านั้น อีกหนึ่งรูปแบบในการสร้างจินตนการที่นิยมในปัจจุบันก็คือ  Content ประเภทร้านลับ เมนูลับที่ไม่บอกว่าเป็นเมนูอะไร หรือการรีวิวการกินหน้ากล้องของยูทูเบอร์เกาหลี   รีวิวสายยั่ว…ยั่วเก่งด้วยภาพ กูรูด้านการทำตลาดร้านอาหารให้ทรรศนะว่า การทำร้านอาหารให้น่าสนใจไม่ต่างอะไรกับการยั่วให้คนมาจีบ ขั้นตอนแรกก็คือ การสร้างเสน่ห์ให้ร้านอาหารของตัวเองออกไปยั่วลูกค้าให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพอาหารที่น่ากินที่สุด เสียงของอาหารที่แสดงให้เห็นถึงความกรอบ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่งและวิดีโอ  ที่จะสามารถทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นอยากกิน หรือถ้าร้านสวยมาก ๆ มีมุมถ่ายภาพเยอะ ก็ต้องนำเสนอภาพที่ทำให้ลูกค้าต้องการมาถ่ายรูปในจุดที่สวยที่สุดของร้านของคุณ   รีวิวสายเล่า…จีบให้ติดด้วยเรื่องเล่า             ถ้าภาพสวย ๆ คือยั่วให้อยากรู้จัก เรื่องที่เล่าคือการจีบลูกค้าให้ติด  เพราะคนไม่ได้มาร้านอาหารเพียงเพื่อ ‘กิน’ เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงประสบการณ์รอบด้านที่จะทำให้ลูกค้าได้รับกลับไป ร้านอาหารที่เก่งในการเล่าเรื่อง นอกจากจะสร้างมูลค่าให้เกิดกับสินค้าที่ขายได้แล้ว ยังทำให้เกิดการติดตามในด้านเนื้อหาอีกด้วย นอกจากจะนำจุดขายของร้านมาสร้างเรื่องเล่าในการรีวิวแล้ว คุณต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของร้าน เพื่อเลือกรูปแบบของการเล่าที่สอดคล้องกับความสนใจ […]

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ   เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! เซฟเงินแต่ได้ภาพ แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย   ท้าทายและน่าแชร์ กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย   […]

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.