วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร! - Amarin Academy

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

        ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอาหารมักจะมีคำถามว่า ต้องขายจนถึงเมื่อไหร่ถึงจะคืนทุน? การลงทุนเปิดร้านอาหารจะคุ้มค่าไหม? แล้วต้องขายเยอะแค่ไหนถึงจะได้กำไร? ร้านอาหารจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขายของร้าน และขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนเปิดร้านอาหารใหม่ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการร้านให้ได้กำไร

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร คืออะไร ?

        จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือมีรายรับ = รายจ่ายนั่นเอง เป็นจุดที่ร้านอาหารขายแล้วไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะทำให้ทราบว่าร้านอาหารจะต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะทำกำไรได้ ควรลดต้นทุนลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางการวางแผนธุรกิจให้มีกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

        การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even point) ต้องเริ่มจากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของร้าน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่แปรผันตามยอดขาย ต่อให้ขายได้มากหรือน้อยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในจำนวนเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าแรงพนักงานประจำ ค่าเช่าระบบ ค่าเสื่อม และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ 
  • ต้นทุนผันแปร (Variable cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับยอดขายของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ เครื่องปรุง และบรรจุภัณฑ์ ค่าแรงพนักงานพาร์ทไทม์ ต้นทุนการตลาด ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ การหาต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วย คิดได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย เช่น อาหารในร้านมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (ทั้งต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่นๆ) อยู่ที่ 20 บาทหรือคิดเป็น 40% หรือ 0.4 ของราคาขาย ซึ่งตัวเลข 0.4 นี้จะถูกนำไปคิดหาจุดคุ้มทุนต่อไป

        นอกจากนี้ เจ้าของร้านอาจจะใช้ข้อมูลของต้นทุน หรือราคาขายโดยเฉลี่ยที่ลูกค้ามักจะซื้ออาหารในร้าน สำหรับร้านขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหารจานเดียว ลูกค้าหนึ่งคนมักซื้ออาหาร 1 รายการ และเครื่องดื่ม 1 แก้ว ก็สามารถคำนวณโดยดูจากราคาต่อหน่วยได้เลย แต่ถ้าเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ขึ้น ลูกค้ามักจะสั่งอาหารมาทานร่วมกันเป็นกลุ่ม อาจจะต้องคำนวณจากข้อมูลหรือสถิติ ว่าลูกค้ามีค่าใช้จ่ายกี่บาทโดยเฉลี่ยต่อคน

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ในการคำนวณหา จุดคุ้มทุนร้านอาหาร เราสามารถหาได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้

  1. จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  2. ยอดขายที่คุ้มทุน = จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย หรือ
    ยอดขายที่คุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  3. ระยะเวลาคืนทุน (เดือน) = เงินลงทุนทั้งหมด / กำไรในแต่ละเดือน


ลองมาดูตัวอย่างแบบง่าย ๆ กันครับ ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวเปิดใหม่ มีข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้

  • ขายก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท
  • ต้นทุนในการทำก๋วยเตี๋ยว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ชามละ 20 บาท
  • ค่าแรงพนักงาน 2 คน คนละ 9,000 บาท และค่าแรงเจ้าของร้านอีก 1 คน รวมเป็น 33,000 บาท
  • ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า และค่าแก๊ส เฉลี่ยต่อเดือนที่ 5,000 บาท
  • ค่าเช่าที่เดือนละ 7,000 บาท

        หากลองคำนวณหาจุดคุ้มทุนของร้าน จะได้ว่า

ต้นทุนคงที่  33,000 (ค่าแรง) + 5,000 (ค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส ) + 7,000 (ค่าเช่าที่) = 45,000 บาทต่อเดือน   

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย  ต้นทุน ÷ ราคาขาย  

= 20 ÷ 50 = 0.4  

จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน  ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) 

=  45,000 ÷ (50 – 20) 

= 1,500 คน  

ยอดขายที่คุ้มทุน จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย 

= 1,500 x 50 

= 75,000 บาท

หรือใช้สูตร ยอดขายที่คุ้มทุน =  ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

 = 45,000 ÷ (1 – 0.4) 

 = 75,000 บาท 

        ดังนั้น เจ้าของร้านจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อย 1,500 ชามต่อเดือน หรือตกวันละ 50 ชาม และต้องทำยอดขายให้ได้อย่างน้อย 75,000 บาทต่อเดือน จึงจะไม่ขาดทุน 

        หากคำนวณ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร แล้ว เป้าหมายยอดขายในแต่ละเดือน ควรบวกเพิ่มจากจุดคุ้มทุนไปอีก 10-20% เพื่อเป็นกำไรของร้าน และควรจะคำนวณเป้าหมายยอดขายรายวันด้วย โดยคำนึงถึงความแตกต่างของยอดขายในแต่ละวัน ว่าทำเลของร้านจะขายได้ดีในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ หรือช่วงวันหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อตั้งเป้ายอดขายรายวันตามความเป็นไปได้ หรือหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายต่อไป

 

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!? เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ! . หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ” . <<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>> ข้อดี 1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า 2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ 3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ […]

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน . 1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ” . 2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น “ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.