6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม - Amarin Academy

6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม

6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม

หลายคนที่ฝันอยากเปิดร้านอาหาร แน่นอนว่าสิ่งที่ทำอย่างแรก ก็คือหยิบกระดาษและเครื่องคิดเลขขึ้นมา ทั้งจดทั้งกดคำนวณดูว่า “เงินที่คิดว่าจะขายได้” จะมากกว่า “เงินลงทุนที่ต้องใช้” หรือไม่? ถ้าเลขสุดท้ายออกมาเป็นบวก แสดงว่าไอเดียการเปิดร้านอาหารของเรา น่าสนใจไม่น้อย แต่หลายครั้ง การคำนวณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ ต้นทุนหลายอย่าง มักจะไม่ได้ถูกรวมเข้าไปหรือถูกรวมไม่ครบ ผลก็คือ ทุกเช้าคุณตื่นขึ้นมาพลิกป้ายหน้าประตูเป็นร้านเป็น “เปิด” ด้วยรอยยิ้ม แต่พอถึงสิ้นเดือนที่ทำบัญชี รอยยิ้มกลับหายไปเพราะขาดทุน วันนี้ผมมี 6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม มาแชร์ให้ฟังกัน

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ในยุคที่เทคโนโลยีเกือบจะเป็นเหมือนอีกหนึ่งอวัยวะที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าร้านอาหารที่เรากำลังจะเปิดไม่ได้ใหญ่โตเหมือนร้านอาหารตามห้างใหญ่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องคำนึงถึง

ค่าใช้จ่ายที่ผมพูดถึง เช่น ราคาเครื่องเก็บเงินสด ถาดใส่เงิน เครื่องพิมพ์สลิป ค่าระบบ POS หรือกล้องวงจรปิด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เหล่านี้มีตั้งแต่ราคาหลักพันบาท จนถึงหลายๆ หมื่น เพราะฉะนั้น ดูให้ละเอียดสักนิด ว่าร้านเราต้องการสิ่งไหนบ้าง และราคาเท่าไรที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมๆ ขึ้นมาก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยอยู่นะครับ

  1. การทำโฆษณา

ลองเริ่มจากการตอบคำถามว่า “คุณจะทำยังไงให้คนรู้ว่ามีร้านอาหารเปิดใหม่และอยากมาลองชิม?” วิธีเริ่มต้นก็มีมากมาย ตั้งแต่ แจกใบปลิว ลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ทำโปสเตอร์หน้าร้าน ทำโปรโมชั่นฉลองเปิดร้านใหม่ หรือใช้การตลาดออนไลน์ เจ้าของร้านอาหารต้องประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นค่าทำใบปลิว แค่แรงคนแจกใบปลิว ค่าลงโฆษณาตามสื่อ รวมถึงต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทำเพจของร้านด้วย

  1. ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค

ร้านอาหารบางประเภทใช้ไฟค่อนข้างมาก เช่น ร้านประเภทชาบู ปิ้งย่าง ในขณะที่บางประเภทก็จะหนักไปที่ค่าน้ำ ลองประเมินดูว่าพื้นที่ของร้าน จำนวนจานชาม (ถ้าร้านบุฟฟเฟ่ต์ก็ล้างกันมันเลยนะครับ) และรูปแบบการตกแต่งที่คิดไว้ จะมีผลอย่างไรต่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้บ้าง ที่สำคัญ หากกำลังจะเช่าพื้นที่ร้านต่อจากคนอื่น อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ !!! เช็คให้มั่นใจว่าไม่มีค่าสาธารณูปโภคอะไรที่ยังค้างจ่ายอยู่ ไม่อย่างนั้นละก็ ยังไม่ทันเปิดร้านเลย ก็มีภาะต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซะแล้ว

  1. ค่าเพลงต่างๆ ที่จะใช้เปิดในร้าน

ข้อนี้แล้วแต่รูปแบบร้าน บางร้านที่ไม่ได้ต้องการสร้างบรรยากาศเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องมี แต่สำหรับใครที่คิดอยู่ว่า อยากจะมีวงดนตรีสด ก็อย่าลืมดูค่าใช้จ่ายด้วยว่า วงดนตรีที่ชอบคิดค่าใช้จ่ายวันละเท่าไร เล่นกี่ชั่วโมง กี่เบรค รวมเครื่องดนตรีครบเซ็ทหรือไม่ ทางร้านต้องเตรียมจัดเตรียมบางส่วนหรือเปล่า

แต่บางคนคิดว่า ไม่ต้องขนาดนั้น เดี๋ยวใช้วิธีเปิดเพลงแทน ก็อย่าลืมดูเรื่องค่าลิขสิทธิ์เพลงด้วยนะครับ ตอนนี้เจ้าของค่ายเพลงเริ่มเอาจริง เดี๋ยวจะเป็นเรื่องบานปลาย

  1. ค่าธรรมเนียมกรณีรับชำระลูกค้าเป็นบัตรเครดิต

สมัยนี้ลูกค้าพกเงินสดน้อยลงเรื่อยๆ และบัตรเครดิตก็เป็นตัวเลือกสำคัญที่เขานิยมใช้ เพราะฉะนั้นการรับบัตรเครดิตอาจจะไม่ใช่จุดเด่นของธุรกิจอีกต่อไป แต่แทบจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่ร้านอาหารต้องมีเพื่อบริการลูกค้า

อย่าลืมว่าการรับบัตรเครดิต เราจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 2-3% จากทางบัตรเครดิต ดังนั้น เผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย และที่สำคัญ เตรียมเงินหมุนเวียนให้เพียงพอนะครับ เพราะการรับชำระเงินทางบัตรเครดิต ร้านอาหารไม่ได้รับเงินสดในทันที แต่ใช้เวลาอีกอย่างน้อยเกือบ 1 สัปดาห์ที่จะได้รับเงิน

ความคิดเห็น ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน

การวางแผนให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่งครับ แต่อีกครึ่งหนึ่งก็อยู่ที่การแก้ปัญหาของเรา ไม่มีใครรู้หรอกว่าระหว่างทางเราจะเจออะไรบ้าง หรือจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้แผนที่วางไว้อย่างดี ไม่เป็นไปตามนั้น แต่ที่แน่ๆ คือความมุ่งมั่น และพยายาม จะทำให้เราผ่านมันไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

5 เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แต่มาตรฐานเท่าเดิม!

เรื่องแนะนำ

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

Company

ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

อาจจะถึงเวลาแล้วที่ผู้อ่านจะต้องเริ่มคิดถึงการ จดทะเบียนบริษัท เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากเริ่มลองทำธุรกิจมาสักพักแล้วถึงจุดหนึ่งที่รายได้สูงพอสมควร การจ่ายภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบได้ เพราะเป็นการจ่ายภาษีแบบขั้นบันได แต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว อัตราภาษีจะคงที่อยู่ที 20% ในบทความนี้เราเลยรวบรวมเกี่ยวกับการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอน และต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรไว้บ้าง? 1.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับใช้ยื่นจดทะเบียนบริษัท ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนว่าชื่อบริษัทที่คุณต้องการนั้นไม่ได้ซ้ำกับบริษัทอื่น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ต้องลงทะเบียนบนเว็บไซต์ก่อนและหากพบว่าชื่อที่ตั้งใจจะใช้ไม่ได้ซ้ำกับใครแล้ว ก็ทำเรื่องจองชื่อบริษัทที่ต้องการและมองหาบริการรับจดทะเบียนบริษัทได้เลย 2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนที่จะจ้างบริการรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากได้รับการรับรองชื่อบริษัทแล้ว ภายใน 30 วันต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม ชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท จำนวนของทุนจดทะเบียน ชื่อ อายุ ที่อยู่ พร้อมจำนวนของกรรมการและพยาน 2 คน จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน ชื่อผู้ตรวจสอบบัญชี พร้อมเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าตอบแทน ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้นและรายละเอียดจํานวนหุ้นของแต่ละคน 3.เตรียมเอกสารสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท แบบจองชื่อนิติบุคคลในข้อแรก สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท รวมทั้งของกรรมการทุกคน หลักฐานการรับชําระค่าหุ้น แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัท 4.เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสาร หลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อมูลจากฝ่ายทะเบียน ให้เซ็นรับรองเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมยื่นสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากนายทะเบียนตามแต่การพิจารณา 5.ยื่นคำขอให้ได้รับจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานของกรมธุรกิจการค้าใกล้บ้าน เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนบริษัทและออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน […]

เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

ก่อนเปิดร้านอาหาร เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? เราจึงรวบรวม 8 Checklists ที่เจ้าของร้านที่อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ มาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.