เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน! - Amarin Academy

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า

 

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน!

WHAT  หาอะไร

ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้

Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix Cost ไม่ควรเกิน 20 % ของต้นทุนทั้งหมด และอย่าลืมกำหนดต้นทุนพนักงานพาร์ทไทม์ไว้ในโครงสร้างต้นทุนด้วย เพื่อให้แผนการคืนทุนร้านอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

WHERE หาที่ไหน

            แต่ก่อนเจ้าของร้านอาหารมักใช้วิธีติดสื่อหน้าร้าน หรือกรณีเช่าพื้นที่ห้าง อาจใช้พื้นที่ส่วนกลาง แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน พนักงานส่วนครัวเชฟ มักจะหาลูกทีมมาด้วยอยู่แล้ว แต่สำหรับพนักงานหน้าร้านปัจจุบันสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ โดยการเข้ากลุ่มคนหางานร้านอาหาร วิธีนี้จะทำให้เราเห็นข้อมูลค่าจ้างแรงงานด้วย  นอกจากนั้นอย่าลืมใช้ช่องทางสื่อโปรโมทเพจ เฟสบุ๊กของร้านเอง หรือสามารถใช้บริการจัดจ้างงาน ซึ่งก็ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ด้วย

Tips :  ลองใช้สื่อเฟสบุ๊คของตนเอง แล้วยิงแอดโฆษณาที่สามารถกำหนด Target ให้สอดคล้องกับความต้องการของคุณได้ เช่น เลือกกำหนดโลเคชั่น เพื่อสรรหาพนักงานที่อยู่ในโลเคชั่นร้าน ลดอัตราการมาสายของพนักงาน  

 

HOW หาอย่างไร

            ขั้นตอนสำคัญคือการสัมภาษณ์คน  ร้านอาหารเป็นธุรกิจขายบริการ เพราะฉะนั้นนอกจากประสบการณ์ ความสามารถการทำงานที่ตรงกับรูปแบบร้านอาหารของคุณแล้ว ทัศนคติของทีมงานก็สำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของร้านควรให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวัดทัศนคติในการทำงานด้วย โดยอาจใช้วิธีสร้างบทบาทสมมติ กำหนดสถานการณ์ เพื่อดูวิธีการแก้ปัญหาก็ได้

Tips : การที่เจ้าของร้านเป็นคนสัมภาษณ์ผู้สมัครเอง จะทำให้ได้คุณสมบัติลูกจ้างตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่มีเวลามากพอสามารถให้ผู้จัดการร้านสัมภาษณ์แทนได้ โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์ร่วมกันในช่วงแรกเพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการคัดเลือกคนที่อยากได้ก่อน รวมถึงควรนัดคนสัมภาษณ์ให้มากกว่าจำนวนที่อยากได้ประมาณ 80% เพราะโดยธรรมชาติของธุรกิจนี้ ผู้สมัครมักจะเปลี่ยนใจไม่มาสัมภาษณ์ตามนัด ทำให้เสียเวลาได้

 

WHEN หาเมื่อไหร่

            ตำแหน่งที่ควรจะจ้างเป็นอันแรกคือ เชฟ   เพราะมีส่วนร่วมในการกำหนดคอนเซปต์อาหาร เชฟยังมีบทบาทในการเลือกอุปกรณ์ครัวที่ต้องใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน การวางระบบครัว การใช้พื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์หรือจัดการพื้นที่ใช้งานที่ไม่เหมาะสมได้  ร้านควรจะสรรหาเชฟไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังจากนั้นถึงจะเป็นในส่วนของพนักงานร้านอาหาร ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟเพื่อเทรนการทำงาน และพนักงานส่วนอื่น ๆ สามารถจ้างได้ก่อนร้านเปิดเพียงไม่กี่วันก็ได้ เช่น พนักงานล้างจาน ขับรถ หรือพนักงานต้อนรับ เป็นต้น

Tips :  เลือกหัวหน้างานที่ดี เพื่อสามารถดูแลทีมงานให้กับคุณได้แทนคุณ และควรกำหนดให้มีการทำการ Test Run เพื่อทดสอบการทำงาน และแก้ไขจุดบกพร่องก่อนเปิดร้าน สัก 1 สัปดาห์

 

 WHO คนที่ใช่ รักษาอย่างไร

            คุณต้องใช้ระยะเวลาในการประเมินว่า คนที่มีอยู่เป็นคนที่ใช่หรือไม่ ร้านอาหารทั่วไปไม่ได้ประสบความสำเร็จจากการจ้างพนักงานชุดแรก อาจจะต้องเปลี่ยนทีมหลายครั้ง ซึ่งส่งผลต่อมาตรฐาน การบริหารการจัดการหน้าร้าน  ทั้งนี้ร้านสามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเทรนงาน และกำหนดการทำงานหน้าร้านให้มีระบบ เพื่อให้พนักงานชุดใหม่หรือพนักงานพาร์ทไทม์ สามารถเริ่มงานต่อโดยทันที เจ้าของร้านต้องดูแลพนักงานให้ดีเพื่อให้เขาสามารถดูแลลูกค้าของเราให้ดี โดยกำหนดแรงจูงใจในการผลักดันพนักงานเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Tips  : รักษาระดับการบริการ ไปพร้อมกับการเพิ่มยอดขาย ด้วยการมีการปรับลดเงินเดือนตามความสามารถ ให้รางวัลโบนัสระยะสั้น รวมถึงการให้ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดที่ขึ้นหน้าร้าน เช่น ทุกยอดขายน้ำดื่มที่เพิ่มขึ้น 100 แก้ว พนักงานได้รับ 500 บาทเป็นต้น

 

เพราะคนคือหัวใจของร้านอาหาร การบริหารการจัดการร้านที่ดี คุณภาพของอาหารและบริการ ขึ้นอยู่กับพนักงานทั้งหลังบ้านและหน้าบ้านทั้งสิ้น คนจึงเป็นหัวใจของร้านอาหาร ร้านของคุณจะทำกำไรหรือขาดทุนก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความสำคัญ และมีกึ๋นแค่ไหนในการบริหารงาน และบริหารคน

 


 

                     การทำร้านอาหาร ยังมีอีกหลายเรื่องราว หลายขั้นตอนที่เจ้าของร้านควรรู้ ดังนั้น ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง กับงานใหญ่ส่งท้ายปี  Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect  งานครบรอบ 3 ปีของ Amarin Academy กับการรวมตัวของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหารกว่า 150 ร้าน พร้อมโอกาสการสร้าง Connection กับร้านชื่อดังต่างๆมากมาย อีกทั้งยังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนงที่จะมาอัพเดทเทรนด์ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า / งานดีไซน์ร้านสุดเจ๋ง / กลยุทธ์เรียกลูกค้าเข้าร้านสไตส์ Influencer ชื่อดัง ปิดท้ายด้วยปาร์ตี้สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ร่วมพูดคุยกับเหล่ากูรูและเจ้าของร้านผู้มากประสบการณ์ในบรรยากาศเป็นกันเอง ซึ่งงานจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562

 

สมัครเข้าร่วมงาน Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect  คลิก!!

Amarin Academy

 

เรื่องแนะนำ

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

เทคนิค วางผังครัว ให้ได้อาหารมากขึ้น ลดต้นทุนได้มหาศาล!

ทำครัวร้านอาหารใหญ่ ๆ เสียค่าใช้จ่ายสูง เหลือพื้นที่ขายนิดเดียว ทำกี่ปีถึงจะคืนทุน  แล้วถ้าลูกค้าเยอะแต่ทำครัวไว้เล็ก ทำอาหารออกไม่ทัน ขายกันทั้งวันรายได้นิดเดียว แถมลูกค้าหนีเพราะช้าอีก เพราะครัวไม่ใช่แค่พื้นที่ทำอาหาร แต่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำร้านอาหารว่าจะทำรายได้ให้คุณได้แค่ไหน การวางระบบร้านอาหารโดยคำนึงถึงครัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีก่อน แล้วครัวที่ดีต้องมีการ วางผังครัว อย่างไร?   ครัวที่ดีสัมพันธ์กับตุ้นทุนอย่างไร ต้นทุนแรงงาน ขนาดครัวที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถกำหนดกำลังคนในการทำงานได้ ช่วยลดต้นทุนแรงงานที่ไม่จำเป็น มีการปฏิบัติงานที่ได้ประสิทธิภาพ ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และการใช้งาน ต้นทุนวัตถุดิบ ผังครัวที่ดีต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ พื้นที่เตรียม การปรุง พื้นที่ทำความสะอาด ที่ง่ายต่อการใช้งาน การลดโอกาสของเสีย ช่วยให้เกิดต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสม ร้านจึงสามารถมีรายได้สุทธิที่มากขึ้น ต้นทุนเวลา การวางผังครัวที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ในการใช้งานทำให้ออกอาหารช้า ขายได้น้อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาพีคไทม์ที่ร้านต้องสามารถรันให้เร็วมากกว่าปกติ ผังครัวที่ไม่ได้คิดเผื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ อาจทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ต้นทุนเวลาในการไปซื้อของที่ขาด เสียหาย ครัวควรมีขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม             ควรกำหนดให้สัดส่วนของครัวสอดคล้องกับพื้นที่ขาย โดยมีพื้นที่เหมาะสมกับการปรุงและจัดเก็บวัตถุดิบ พื้นที่ครัวควรมีขนาด 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  เนื่องจากครัวถือเป็นพื้นที่ใหญ่ในการออกแบบร้านอาหาร ซึ่งส่งผลกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครัวใหญ่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย การกำหนดพื้นที่ครัวที่เหมาะสมจึงต้องสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารต่ำลง คืนทุนได้เร็วขึ้น   […]

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!

การบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นกฎเหล็กของคนทำร้านอาหารที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนอาหารได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน มาดูกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับคนทำร้านอาหารในด้าน ปัญหาวัตถุดิบ มีอะไรบ้าง แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีใด   5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!   1. วัตถุดิบเน่าเสีย วัตถุดิบเน่าเสีย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดเก็บผิดวิธี ขาดขั้นตอนในการนำไปใช้งาน เจ้าของร้านอาหารจึงต้องให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิด การตัดแต่งก่อนการจัดเก็บที่ถูกต้อง  รวมถึงวางระบบสต็อกวัตถุดิบ การจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน การทำบันทึกเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ในลักษณะ first in first out  ให้ความสำคัญกับการกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การนำวัตถุดิบมาใช้เป็นระบบ รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่าทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเน่าเสียได้   2.คุณภาพของวัตถุดิบลดลง             การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง แต่ในบางครั้งจัดเก็บวัตถุดิบไว้อย่างดีแล้ว แต่คุณภาพของวัตถุดิบกลับลดลง เพราะการทำงานที่ซ้ำซ้อนของทีมงานครัว เช่น การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนจัดเก็บ และก่อนปรุง ทำให้สูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผักบางชนิด นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการขาดการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่รับจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง สินค้าตรงตามที่ต้องการ หรือการทดแทนวัตถุดิบที่ขาดตลาดทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การกำหนด SOP ในแต่ละขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.