ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ ! - Amarin Academy

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเบเกอร์รี่ มีผู้เล่นรายใหม่ๆ กระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายใหม่มักให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้าน การพัฒนาสูตรอาหาร การทำโปรโมชั่น การประชาสัมพันธ์ร้านอาหารให้เป็นที่รู้จัก ฯลฯ แต่ลืมมองข้ามสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือ เตรียมทีมงานร้านอาหาร ให้พร้อม

ลองสังเกตดูว่าวันแรกของการเปิดร้าน เจ้าของร้านจะพบสารพัดปัญหา ทั้งๆ ที่ตัวร้านก็เรียบร้อยดี แอร์เย็น อุปกรณ์เครื่องครัวก็พร้อม สินค้าและวัตถุดิบก็สั่งเข้ามาครบถ้วน ฯลฯ แต่ปัญหามักเกิดขึ้นที่การบริการ ทีมงานรับออร์เดอร์ผิด เสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ ลูกค้าโต๊ะนั้นมา 2 คนแต่พนักงานดันพาไปนั่งโต๊ะใหญ่ พอลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้ามา ที่นั่งเต็ม…นั่นเป็นเพราะเราไม่มีการเทรนด์พนักงานให้พร้อมก่อนเริ่มเปิดร้านนั่นเอง

อย่างที่รู้กันว่าหัวใจของการทำธุรกิจอาหารให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารคุณภาพ (Quality) บริการ (Service) และความสะอาด (Cleanliness) ซึ่งผู้ที่กุมหัวใจสำคัญนี้ก็คือทีมงานนั่นเอง หากเราไม่เตรียมทีมงานให้พร้อมก่อนการเปิดให้บริการ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเกิดขึ้นแน่นอน และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าผู้ประกอบการจะวิเคราะห์และแก้ปัญหานั้นได้ บางครั้งกว่าจะถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินจะเยียวยา เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักไม่ให้โอกาสคุณแก้ตัวมากนัก

แล้วประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดร้านมีอะไรบ้างล่ะ?

1.จำนวนพนักงานต้องเพียงพอ: เมื่อพูดถึงเรื่องจำนวนพนักงาน ผมมักเจอคำถามจากผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มอยู่เสมอว่าต้องใช้จำนวนเท่าไร ซึ่งคำถามนี้ไม่มีกูรูท่านใดสามารถตอบได้ชัดเจน เนื่องจากจำนวนพนักงานจะขึ้นอยู่กับ concept ที่ผู้ประกอบการวางไว้ ร้านประเภท Fast Food อาจไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานมากเท่ากับร้านประเภท Casual เพราะไม่ต้องบริการลูกค้ามากนัก ฉะนั้นเราจะเห็นว่าร้านอาหารบางร้านมีพื้นที่เท่ากัน แต่จำนวนพนักงานที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป ดังนั้นข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของร้านเองว่าจะจัดสรรกำลังคนทำงานอย่างไร

2.ค่าจ้างแรงงานควรเป็นเท่าไร: เรื่องอัตราค่าจ้าง เจ้าของร้านอาหารควรกำหนดให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ควรได้เท่าไร ผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว ควรได้เท่าไร หรือบางคนระบุว่ามีประสบการณ์ก็จริง แต่ไม่ใช่ธุรกิจร้านอาหารโดยตรง จะถือว่ามีประสบการณ์หรือเปล่า ข้อนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีหลักเกณฑ์กำหนด สุดท้ายคุณจะเจอปัญหาพนักงานการลาออกหรือขาดความตั้งใจในการทำงาน เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม

พนักงานร้านอาหาร
พนักงานร้านอาหาร ในร้าน Copper Buffet ที่ได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหานที่บริการดีเทียบเท่า Fine Dining

3.การแบ่งหน้าที่ของพนักงาน: การกำหนดหน้าที่ให้พนักงานแต่ละคนก็สำคัญ อย่าใช้คำว่าช่วยๆ กัน เด็ดขาด เพราะจะทำให้พนักงานสับสน สรุปหน้าที่นี้ใครต้องทำ งานนี้ของฉันหรือเปล่า? เอ๊ะ..แต่ฉันว่างานนี้น่าจะเป็นของเธอ? หรือ งานของเราที่ทำอยู่นี้ต้องประสานกับใคร? แค่ประเด็นนี้ก็ส่งผลกระทบต่อการบริการลูกค้าอย่างที่คุณคาดไม่ถึงแล้วครับ ยิ่งถ้างานผิดพลาด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?

4.ศึกษาข้อกฎหมายและจ้างแรงงานให้ถูกต้อง: สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะทำธุรกิจอาหาร จำเป็นต้องรู้ข้อนี้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้ เช่น การประกอบกิจการใดๆ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานเขตพื้นที่ภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะถ้าเกิดปัญหา หรือโดนตรวจสอบขึ้นมาเมื่อไหร่ แล้วร้านอาหารเราทำไม่ถูกต้อง เจ้าของร้านปวดหัวแน่นอนครับ

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของการเตรียมความพร้อมเรื่องการสร้างทีมงานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดอีกมากที่เราต้องรู้ ลองค่อยๆ ศึกษากันดูนะครับ !

บทความโดย อาจารย์เต้ย – พีรพัฒน์ กองทอง อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท แมคไทย จำกัด (แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

เรื่องแนะนำ

ผู้จัดการมือใหม่

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้! การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ    สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร  รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ   มีความหนักแน่น  ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้ จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ  การจัดการเชิงรุก ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน […]

โครงสรา้ง ต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร คือตัวชี้แนะแนวทางว่า ถ้าคุณจะเปิดร้านอาหารสัก 1 ร้าน ควรลงทุนกับสิ่งใดเท่าไรบ้าง และถ้าลงทุนเท่านี้ กี่ปีถึงจะคืนทุน

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? แชร์มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? ทำไมร้านกาแฟ Specialty ที่ขึ้นชื่อว่าร้านกาแฟที่พิเศษถึงมักมีแต่กาแฟที่มีรสเปรี้ยว หรือเพราะว่ากาแฟที่ดีจริง ๆ แล้วจะต้องมีรสเปรี้ยวกันนะ อาจเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนที่เพิ่งหันมาสนใจกาแฟ ล้วนต้องการคำตอบว่า รสเปรี้ยวคือรสที่ดี ?​ รสที่ดีต้องเป็นแบบไหน ? วันนี้เราลองมาหาคำตอบกันว่ารสของกาแฟนั้นสามารถบอกอะไรกับเราได้บ้าง คุณหมีใหญ่ Coffee Guru เคยได้แชร์มุมมองต่อรสชาติของกาแฟไว้ว่า “คนไทยเราโตมากับวัฒนธรรมกาแฟโบราณและกาแฟสำเร็จรูป เราไม่ได้โตมากับวัฒนธรรมกาแฟ Espresso ซึ่งเป็นวัฒนธรรมกาแฟของอิตาลี ฉะนั้นในการคั่วกาแฟโบราณนั้นจึงต้องเน้นคั่วไหม้ เพราะเป็นกาแฟทุนต่ำ โดยปกติในเมล็ดกาแฟมีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว การที่คั่วให้ลึกหรือคั่วไหม้ ก็เพื่อปกปิดลักษณะของกาแฟที่ไม่ดีนั่นเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะควบคุมรสชาติของกาแฟได้ คราวนี้ลองกลับมาดูที่เมนูกาแฟที่คนไทยนิยมดื่ม ก็จะพบว่าเป็นชนชาติที่ชื่นชอบในรสชาติที่ครบรสนั่นคือ ขม หวาน มัน และชอบเมนูที่ต้องใส่นมเป็นส่วนผสม แต่โดยสากลทั่วโลก เขาดื่มกาแฟร้อน มากกว่ากาแฟเย็น และถ้าพูดถึง Espresso ด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีส่วนผสมของนมเข้าไปเกี่ยวเลย” จากข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินกาแฟของคนไทยว่ามักนิยมทานกาแฟที่มีส่วนผสมของนม ไม่ว่าจะเป็นนมข้นหรือครีมเทียม ดังนั้นกาแฟที่นำมาชงจึงมักมีรสและกลิ่นขม เพื่อผสมให้สู้กับกลิ่นหรือความหวานของนมข้นและครีมเทียมได้ ดังนั้นการนำเสนอรสชาติขมของกาแฟในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จึงทำให้สิ่งที่เป็นอีกด้านหนึ่งของกาแฟ นั่นคือ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.