4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ - Amarin Academy

4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

รู้หรือไม่ จากการสำรวจของ  Consumer Reports National Research Center สิ่งที่ลูกค้าตำหนิร้านอาหารมากที่สุดมี 4 ข้อด้วยกัน คือ พนักงานไม่สุภาพ บริการช้า เสิร์ฟอาหารผิด และไม่เต็มใจบริการ เชื่อว่าเจ้าของหลายร้านๆ คนก็คงเจอปัญหานี้เช่นกัน แต่ไม่รู้จะปรับปรุงพนักงานอย่างไรน่ะสิ เราจึงมี 4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ มาแนะนำ

1.ทักษะด้านการสื่อสาร

การสื่อสารถือเป็นทักษะสำคัญอันดับต้นๆ ที่พนักงานทุกคนควรมี โดยทักษะการสื่อสารนี้หลายคนมักเข้าใจว่าใช้ในการสื่อสารกับลูกค้าเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วทักษะนี้ยังจำเป็นสำหรับการสื่อสารระหว่างพนักงานเองด้วย เพราะหากพนักงานขาดทักษะด้านการสื่อสารอาจส่งผลเสียต่อร้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อออร์เดอร์ผิด บอกความต้องการของลูกค้าพลาด ทำตามคำสั่งของเชฟหรือผู้จัดการร้านได้ไม่ถูกต้อง หรือพนักงานพบเจอปัญหาภายในร้านแต่ไม่กล้าบอกผู้จัดการ หรือไม่สามารถอธิบายปัญหาที่ตนเองเจอได้ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ อาจทำให้ระบบการทำงานรวน และขาดประสิทธิภาพ หรือบางครั้งปัญหาเล็กๆ ที่พนักงานไม่ยอมบอกอาจบานปลายกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้

ทั้งนี้วิธีการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารที่ดีที่สุด การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการพูดคุยและแสดงความคิดเห็น กระตุ้นให้พนักงานพูดคุยหรือบอกเล่าปัญหาที่พบเจอในการทำงานกับผู้จัดการร้านหรือเจ้าของร้านทุกๆ วันหรือทุกๆ สัปดาห์ โดยสิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุดคือการที่ผู้จัดการร้านเอาแต่สั่งงานและดุด่าพนักงาน เพราะนั่นจะยิ่งทำให้พนักงานไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือไม่กล้าเล่าปัญหาให้ฟังมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อีกเทคนิคที่ควรทำคือ กล่าวชื่นชมพนักงานที่ทำผิดแล้วกล้าเล่าความผิดตัวเองให้เจ้าของร้านฟัง เพื่อที่พนักงานคนอื่นๆ จะได้ใช้เป็นแบบอย่างได้

2.ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

หากคุณคิดว่าการเป็นพนักงานเสิร์ฟ คืองาน Routine ทำหน้าที่ซ้ำๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ หรือทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากการเสิร์ฟ รู้ไหมว่าคุณกำลังไปผิดทาง เพราะจริงๆ แล้วการเป็นพนักงานเสิร์ฟ ต้องอาศัยทักษะอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะความมั่นใจในตัวเองและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีและเหมาะกับความต้องการของลูกค้า

พนักงานเสิร์ฟธรรมดา อาจทำหน้าที่แค่เสิร์ฟอาหารตามความต้องการของลูกค้า แต่พนักงานเสิร์ฟที่ดีต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขาได้รับมากกว่าสิ่งที่เขาคาดหวัง เช่น เมื่อลูกค้าสั่งกาแฟดำ แทนที่พนักงานเสิร์ฟจะแค่นำกาแฟมาเสิร์ฟ อาจจะถามเพิ่มเติมว่า ลูกค้าต้องการของหวานเพิ่มเติมสำหรับรับประทานคู่กับกาแฟไหมครับ วันนี้เรามีเมนูครัวซองค์โฮมเมด เพิ่งอบเสร็จร้อนๆ เลย รับด้วยไหมครับ” การยื่นข้อเสนอนี้ ไม่เพียงแต่คาดหวังยอดขายที่อาจเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณเต็มใจบริการเขาจริงๆ

วิธีการพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ให้พนักงานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ก่อนอื่นคุณต้องเชื่อมั่นในศักยภาพพนักงานเป็นอันดับแรก ว่าทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนา แต่บางครั้งตำแหน่งหรือหน้าที่การงานอาจไม่เอื้ออำนวยให้เขาได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ฉะนั้นเจ้าของร้านเพียงแค่ลองเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น อาจจะจัดประชุมแล้วยกตัวอย่างสถานการณ์ขึ้นมาสัก 2-3 เหตุการณ์ แล้วให้พนักงานลองแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ  เช่น ถ้าวันนี้ยอดขายตกจะทำอย่างไร ถ้าลูกค้าสั่งอาหารเมนูนี้ ควรเสนอเครื่องดื่มชนิดใดเพิ่มเติม เป็นต้น โดยพยายามทำให้บรรยากาศผ่อนคลายที่สุด เพื่อที่พนักงานทุกคนจะได้มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง

3.ทักษะด้านการจัดการ

รู้ไหมว่า รายละเอียดเล็กๆ คือสิ่งสำคัญสำหรับร้านอาหารมาก

  • หากพนักงานบางคนละเลยรายละเอียดเล็กน้อย คุณอาจเห็นรอยนิ้วมือบนแก้วน้ำ
  • หากพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจทำให้เสิร์ฟอาหารลูกค้าได้ช้าลง
  • หากพนักงานบางคนไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ พวกเขาจะโดนลูกค้าตำหนิ เพราะบริการช้า

พนักงานจะไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านการจัดการของตัวเองได้เลยหากปราศจาก Feedback ฉะนั้นสิ่งที่เจ้าของร้านต้องทำคือ พูดคุยถึงข้อผิดพลาดของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยร้านอาหารหลายๆ ร้านที่ประสบความสำเร็จ มักมีการประชุมกลุ่มทุกสัปดาห์เพื่อสรุปการทำงาน ชี้แจงปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน นอกจากนี้ยังเรียกคุยรายบุคคลทุกๆ เดือน หรือ 3 เดือน เพื่อติดตามผลงาน สอบถามถึงปัญหาของเขาเป็นรายบุคคล โดยเจ้าของร้านอาจช่วยพนักงานในการตั้งเป้าหมาย วางแผนการทำงาน เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้เมื่อให้คำแนะนำพนักงานไปแล้ว เจ้าของร้านควรติดตามผลงานของเขาอย่างใกล้ชิด หากเขามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ก็ควรมีการให้รางวัลตอบแทน เช่น เงินพิเศษ หรือบัตรกำนันร้านสปาดีๆ สักร้าน เป็นต้น

รู้ไหม…การให้บัตรกำนันเหล่านี้จะช่วยสร้างความประทับใจให้พนักงานได้ดีทีเดียว เพราะเขาจะรู้สึกว่าคุณใส่ใจในความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ (คนทำงานเหนื่อยและยืนเมื่อยมาทั้งวัน ก็อยากจะพักผ่อนร่างกายกันบ้าง) แถมยังทำให้พนักงานคนอื่นรู้สึกอยากพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้รางวัลตอบแทนดีๆ เหล่านี้ด้วย แต่การให้รางวัลตอบแทนบางครั้งก็เป็นข้อเสีย เพราะหากคุณให้บ่อยครั้งเกินไป อาจทำให้พนักงานรู้สึกเคยชินว่า ต้องได้รับรางวัลทุกครั้งที่ทำดี ฉะนั้นเมื่อไรที่คุณหยุดให้รางวัลเขาจะรู้สึกไม่อยากทำงานก็เป็นได้ ฉะนั้นต้องให้เฉพาะโอกาสพิเศษจริงๆ เท่านั้น หรือ อาจมีรอบการมอบรางวัล เช่น ทุก 3 หรือ 6 เดือน เป็นต้น

หรืออีกปัญหาสำคัญคือ ถ้าคุณให้รางวัลพนักงานคนไหนบ่อยเกินไป ก็อาจเกิดความไม่พอใจขึ้นได้ ทางแก้คือ คุณอาจจะให้พนักงานด้วยกันเองลงคะแนนเสียงโหวตว่าใครควรได้รับรางวัล โดยอาจนำมารวมกับใบติชมจากลูกค้าก็ได้

4.ทักษะด้านการเรียนรู้

ทักษะสุดท้ายที่เจ้าของร้านควรเทรนด์พนักงานคือ ทักษะด้านการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เชื่อว่าพนักงานที่มีทัศนคติในการทำงานเชิงบวก พร้อมปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอคือสิ่งที่นายจ้างทุกคนต้องการ เพราะจะช่วยให้ร้านของเราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่น แต่พนักงานที่มีทัศนคติดังกล่าวนั้นหาได้ยากเหลือเกิน ฉะนั้นแทนที่เราจะเอาแต่มองหาพนักงานคนใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติพร้อม เราลองมาสร้างพนักงานคนนั้นเองดีกว่า

ก่อนอื่นเจ้าของร้านต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเทรนด์นิ่งให้พนักงานเป็นประจำ เปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาทักษะที่ตัวเองต้องการ จัดเวิร์คชอปสนุกๆ ให้พนักงานได้ลองฝึกทักษะด้านต่างๆ หรือหาสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้พนักงาน สอบถามพนักงานเป็นรายบุคคลว่าต้องการเรียนอะไรเพิ่มเติมไหม

การกระตุ้นให้พนักงานได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ จะช่วยสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาตัวเองให้พวกเขาได้ ยกตัวอย่างเช่นร้านกาแฟ Factory coffee สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ด้วยการส่งพนักงานในร้านออกไปแข่งขันบาริสต้ารายการต่างๆ มากมาย จนตอนนี้พนักงานในร้านได้แชมป์บาริสต้า สาขาต่างๆ ในระดับประเทศแทบทุกคน และเจ้าของร้านเองก็เป็นแชมป์บาริสต้าของประเทศไทยด้วย

พอจะทราบถึงความสำคัญของ 4 ทักษะที่เรานำเสนอไปแล้วใช่ไหมครับ หากใครนำไปลองปฏิบัติตามแล้วผลลัพท์เป็นที่น่าพอใจ อย่าลืมส่งต่อความรู้และเทคนิคให้ผู้ประกอบการท่านอื่นๆ นะครับ

เรื่องแนะนำ

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

กำไร เพิ่ม

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักโฟกัสที่การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ แต่กว่าจะลดได้ก็หืดขึ้นคอ ขณะที่การลดการจ้างพนักงานประจำ กำไร เพิ่ม ปีละแสน โดยไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.