4 กฎสำคัญ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จ - Amarin Academy

4 กฎสำคัญ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จ

4 กฎสำคัญ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จ

ธุรกิจ Catering หรือการรับจัดงานนอกสถานที่ นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ร้านอาหารหลายๆ ร้าน ใช้ต่อยอดให้มีรายได้มากยิ่งขึ้น แต่หากเจ้าของร้านอาหารท่านใดสงสัยว่าถ้าจะทำธุรกิจนี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้เรามี 4 กฎสำคัญในการ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จมาฝาก

1.การจัดการต้องดีเยี่ยม

เจ้าของร้านอาหารหลายคนเข้าใจว่าการจัดงานนอกสถานที่น่าจะเหมือนกับการทำร้านอาหาร แค่ทำอาหาร เสิร์ฟ เก็บของ ก็จบ แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจนี้เต็มไปด้วยปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขหน้างาน ไม่ว่าจะเป็นด้านที่สถานที่อาจไม่พร้อม สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย (หากจัดงานแบบ Outdoor) ด้านจำนวนแขกที่ร่วมงานอาจมากเกินคาดคะเน ด้านพนักงานที่อาจบริการได้ไม่ทั่วถึง ฯลฯ ฉะนั้นทักษะด้านการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ แถมยังต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเยี่ยมอีกด้วย ที่สำคัญการรับจัดงานนอกสถานที่ต้องมีแผนสำรองสำหรับ Worst case เสมอ เช่น ถ้าฝนตกจะทำอย่างไร เป็นต้น

เพราะการที่เจ้าของงานตัดสินใจจ้างเรา เขาต้องการคนที่มืออาชีพมากที่สุด ที่สามารถช่วยบริหารจัดการและวางแผนให้งานของเขาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ฉะนั้นใครที่อยากกระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้ต้องฝึกทักษะด้านการบริหารจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ดี ธุรกิจของคุณไปได้ไกลแน่นอน

2.คาดคะแนจำนวนคนกับอาหารให้แม่นยำ

สำหรับผู้ที่เคยเปิดร้านอาหารมาก่อน คงจะคาดคะเนปริมาณอาหารกับจำนวนคนได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับคนที่เริ่มต้นใหม่ อาจประสบปัญหาพอสมควร ทั้งอาหารเหลือและอาหารขาด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ดีทั้งคู่ อาหารเหลือมากไป เราก็ได้กำไรน้อย ยิ่งอาหารขาด ยิ่งแย่ใหญ่เพราะคุณต้องถูกเจ้าของงานต่อว่าแน่นอน ฉะนั้นหากคุณยังเป็นมือใหม่ ในงานแรกๆ คุณต้องลองเก็บสถิติว่าแขก 1 คนจะรับประทานอาหารประมาณเท่าไร เพื่อที่งานหน้าจะคาดคะเนได้เหมาะสม

นอกจากนี้คุณต้องแจ้งให้ผู้จัดงานทราบล่วงหน้าว่า หากจำนวนแขกมีน้อยกว่าที่แจ้งมาในตอนแรก เช่น แจ้งว่ามีแขก 100 คน แต่มาจริงๆ เพียง 50 คุณจำเป็นต้องเก็บเงินเต็มจำนวน 100 คน เพราะได้เสียค่าใช้จ่ายในการตระเตรียมอาหารไปแล้ว (อย่าลืมแจ้งนะครับ เพราะมีเจ้าของธุรกิจหลายรายเจอปัญหาเจ้าของงานขอจ่ายเงินเท่าจำนวนแขกมาแล้ว)

3.กำหนดเวลาเริ่ม และเวลาเลิกให้แน่นอน

งานนอกสถานที่ส่วนใหญ่มักเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งแขกที่มาร่วมงานอาจสนุก ครึกครื้นกันจนล่วงเลยเวลาเลิกงาน หากคุณไม่มีการพูดคุยกำหนดเวลาการเลิกงานที่แน่นอนกับเจ้าของงาน พนักงานเสิร์ฟอาจจะต้องเสิร์ฟอาหารหรือเครื่องดื่มไปเรื่อยๆ จนกว่าแขกคนสุดท้ายจะกลับ (ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไร) ฉะนั้นอย่าลืมคุยรายละเอียดในเรื่องนี้ด้วย จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

นอกจากกำหนดเลิกงานแล้ว อย่าลืมสอบถามเรื่องเวลาเริ่มงานและระยะเวลาที่สามารถเข้าไปจัดเตรียมสถานที่ด้วย เพราะบางสถานที่อาจมีเวลาให้เตรียมตัวน้อย เช่น หากงานเริ่ม 6 โมงเย็น แต่เจ้าของสถานที่จะเปิดให้เข้าไปจัดเตรียมของได้ตอน 5 โมงเย็น ถือว่าหายนะพอสมควร เพราะทุกอย่างต้องรีบเร่งไปหมด แต่หากเราทราบข้อจำกัดนี้ก่อน อาจหาทางแก้ไขได้รวดเร็วขึ้น

4.ต้องกำหนดจำนวนคนขั้นต่ำ

การทำธุรกิจ catering จำเป็นต้องกำหนดจำนวนแขกขั้นต่ำในการจัดงาน เช่น 30 คนขึ้นไป เป็นต้น เพราะการจัดงานครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายคงที่ ที่เราจำเป็นต้องจ่ายไม่ว่าคนจะมากหรือน้อยแค่ไหน เช่น ค่าเดินทาง (ทั้งไปดูสถานที่และไปจัดงาน) ค่าแรงพนักงาน ฯลฯ ฉะนั้นหากไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ อาจทำให้รายได้ ไม่คุ้มกับรายจ่ายที่ต้องเสียไป หรือหากไม่กำหนดจำนวนคนขั้นต่ำ เจ้าของกิจการก็ต้องเพิ่มราคาต่อหัวให้สูงขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาและกำลังคนที่เสียไป

การทำ Catering เป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง แถมยังเป็นธุรกิจที่ร้านอาหารหลายๆ ร้านนิยมหันมาทำกันมากขึ้น ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือเจ้าของกิจการต้องสร้างความแตกต่าง และบริหารจัดการงานให้ดีเยี่ยม เพื่อจะได้แข่งขันกับเจ้าอื่นๆ ในตลาดได้

เรื่องแนะนำ

การจัดการธุรกิจอาหาร

เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการธุรกิจอาหาร ระดับโลก

เมื่อพูดถึงธุรกิจอาหาร หลายคนมักนึงถึง ร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารมากกว่านั้น เราเลยอยากแชร์เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจอาหาร รูปแบบอื่นๆ ให้รู้กัน

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

กฎ 4 ข้อช่วยให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

ในธุรกิจร้านอาหารเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กว่าจะทำให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ ได้นั้น ต้องใช้ความทุ่มเทพลังกายและพลังใจเป็นอย่างมาก

ลูกค้าล้นร้าน

ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

วันก่อนมีโอกาสไปกินข้าวที่ร้านอาหาร แล้วเจอเหตุการณ์คลาสิกคือ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน จึงอยากเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ทุกคนครับ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.