บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้ - Amarin Academy

บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้

การที่คุณจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหาร ร้านคุณจะต้องมีอาหารอร่อย บริการที่ถูกใจ  บรรยากาศที่ดี ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ คนในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น การเตรียมพร้อมเรื่อง ‘คน’ ได้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร้านอาหารต้องจัดการให้ได้ เพราะมีร้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะ ปัญหาคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ดังนั้น เจ้าของร้านควรรู้ก่อนเปิดร้านว่า ปัญหาเรื่องคนที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง และมีวิธีการวางแผน หรือแก้อย่างไร

 

ปัญหาคน อะไรบ้างที่ร้านอาหารต้องเจอ

1. หาพนักงานยาก

จะทำอย่างไรเมื่อร้านกำลังจะเปิด แต่ไม่มีคนทำงานให้ การสรรหาพนักงานจึงควรกำหนดเป็นแผนงานก่อนเปิดร้านอาหาร ถ้าเราแบ่งทีมงานด้านอาหารเป็น 2 ทีมหลัก คือทีมครัว และทีมหน้าร้าน ทีมครัวที่ควรจะหาได้เป็นอันดับแรกคือเชฟ เพราะจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของอาหาร สูตรอาหารของร้าน โครงสร้างต้นทุนและวัตถุดิบ  ร้านควรกำหนดการหาพนักงานให้ได้ 90 % ก่อน 2-3 เดือนก่อนร้านเปิด เช่น ผู้จัดการร้าน  ผู้ช่วย พนักงานรับ Order  ที่เหลือสามารถหาได้ก่อนเปิดร้าน 1 เดือน  เช่น พนักล้างจาน  Food Runner

 

2.Turn Over สูง 

ปัญหาคนเข้าออกเป็นปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ  ไม่ว่าจะเป็นงานหนักเกินไป ถูกซื้อตัวจากร้านอื่น ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานเปลี่ยนงาน ได้แก่ ค่าตอบแทนที่ต่ำเกินไป สวัสดิการน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง งานหนัก ไม่มีการจัดการระบบงาน และอุปกรณ์การทำงานที่ดีทำให้เหนื่อยเกินไป ปัญหาหัวหน้างานผู้ร่วมงาน และปัญหาที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้ามในปัจจุบัน ก็คือ ปัญหาการเติบโตในการทำงาน และความภาคภูมิใจในงานที่ทำ รวมถึงความเชื่อมั่นในตัวเจ้าของร้าน

 

3. ปัญหาด้านทักษะ ความสามารถการบริการ

พนักงานให้บริการ จะสะท้อนตัวตนของร้านมากที่สุด พนักงานที่กระฉับกระเฉงในการให้บริการ เป็นขั้นเป็นตอนจะสามารถสร้างความรู้สึกที่ดีกับลูกค้ามากกว่า ควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน ให้เข้าใจในรูปแบบและตัวตนของร้านอาหารด้วย

 

 4. ปัญหาพฤติกรรม ขาด ลา มาสาย

ปัญหาน่าปวดหัวที่สุด ในการบริหารคนก็คือ ระเบียบวินัย ซึ่งส่งผลอันใหญ่หลวงในการทำธุรกิจร้านอาหารให้เติบโต ปัญหานี้จะพบมากกับร้านอาหารที่ดูแลลูกน้องแบบกันเอง เพราะฉะนั้นร้านอาหารควรวางระบบ กฎระเบียบให้ชัดเจน มีการลงเวลาการเข้าออกที่เข้มงวด ซึ่งควรแจ้งให้ผู้สมัครทราบถึงกฎในขั้นตอนการจัดจ้างพนักงานเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้

 

5. ปัญหาด้านการควบคุมต้นทุนแรงงาน

ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนลำดับสำคัญของร้านอาหาร ควรกำหนดให้ไม่เกิน 20 % ของต้นทุนทั้งหมด ปัญหาที่กระทบกับต้นทุนแรงงานอาจเกิดได้จาก การวางโครงสร้างค่าตอบแทนที่ไม่สมเหตุสมผล จำนวนแรงงานที่มากหรือน้อยเกินไป ย่อมเกิดการ Turn Over สูง ทำให้ต้องเสียเงินในการจัดหาพนักงานทดแทน

 ปัญหาคน

♦แนวทางแก้ ปัญหาคน ด้วยระบบ

คนเปลี่ยนได้ แต่ระบบเปลี่ยนแปลงยาก เพราะฉะนั้นร้านอาหารควรวางระบบที่เอื้อต่อการบริหารจัดการร้านมากที่สุด และสรรหาพนักงานที่เหมาะสมเข้ามาแทน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 

♦ระบบช่วยรักษาพนักงานที่ดี

ร้านอาหารใหญ่มักกำหนดอัตราการ Turn Over  เป็นค่าเฉลี่ย เพื่อคาดการณ์ถึงปัญหาที่ส่งผลต่อแรงงานระยะยาว เช่น กำหนดให้การ Turn Over ไม่เกิน 20 % ต่อปี เพื่อคาดการณ์ และหาพนักงานทดแทนได้อย่างต่อเนื่อง

ที่สำคัญ นอกเหนือจากค่าตอบแทน และสวัสดิการแล้ว ควรกำหนดแรงจูงใจในการทำงานในรูปแบบที่วัดผลได้  เช่น การให้โบนัสระยะสั้น โดยการประเมินผลงานเป็นรายบุคคล การจัดให้มีการฝึกอบรมในสายงาน และสร้างความ  Royalty ในแบรนด์ ด้วยการสร้างแบรนด์ให้มีคุณค่า รวมถึงกำหนดให้พนักงานมีส่วนร่วมต่อการให้บริการ

 

♦ระบบช่วยการจัดการร้านด้วย SOP ( Standard Operating Procedure )

ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาด้วยการให้ค่าตอบแทนดี  สวัสดิการดี อาจไม่เพียงพอในปัจจุบัน เนื่องจากธุรกิจอาหารนั้น มีคู่แข่งค่อนข้างมาก ดังนั้นร้านควรวางระบบการทำงานให้ดี  คุณสร้างร้านที่มีระบบได้ ไม่ต้องใช้เงินลงทุนที่เยอะ เพียงแค่คิดอย่างมีระบบ นั่นก็คือคอนเซปต์ของการทำ SOP ข้อกำหนดการปฏิบัติงานที่ทำให้การทำงานของพนักงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด  โดยเจ้าของร้าน ควรจัดทำคู่มือที่สามารถดูได้โดยง่าย การมี SOP ทำให้ลดเวลาการฝึกพนักงาน แม้พนักงานใหม่ก็สามารถเริ่มต้นทำงานตามระบบได้อย่างรวดเร็ว

         

♦ระบบควบคุมต้นทุนแรงงาน

ควรกำหนดให้ต้นทุนจ้างพนักงานพาร์ทไทม์อยู่ในการวางโครงสร้างต้นทุนแรกเริ่มไว้ด้วย สัก 1-2  % ซึ่งจะทำให้ร้านมีค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ต้องการแรงงานฉุกเฉิน จะทำให้ไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ และเอื้อต่อการกำหนดปีที่คืนทุน ตั้งแต่แรกเริ่มร้านอาหาร

 


              เพราะการบริหารจัดการเรื่อง “คน” เป็นสิ่งสำคัญในการทำร้านอาหาร คอร์สนี้จึงกลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขกสุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

เรื่องแนะนำ

ลดของเสียในร้านอาหาร

9 วิธีช่วย ลดของเสียในร้านอาหาร

หนึ่งในหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จคือการควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงจนเกินไป วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ในการ ลดของเสียในร้านอาหาร มาแนะนำ

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

ตั้งราคาอาหาร

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร

ตั้งราคาอาหาร เท่าไรดี? คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ ตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ ไม่อย่างนั้นอาจจะขาดทุนโดยไม่ทันตั้งตัว!

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.