แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต - Amarin Academy

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่ ฯลฯ ทำให้ความมีใจรักหรือมี Passion อย่างเดียวคงไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารขนาดเล็ก จะสามารถเติบโตได้อย่างไรในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง ลองมาดูแนวคิดสำคัญ 5 ข้อนี้ ที่จะช่วยในการดำเนิน ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก ให้มีโอกาสเติบโตและยืนได้ในระยะยาว

1.ให้ความสำคัญกับทีมงาน

เราเข้าใจว่าเจ้าของร้านอาหารมีงานหลายอย่างที่ต้องทำ เพื่อสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้าคนสำคัญ แต่สำหรับพนักงานที่เหมือนกับฟันเฟืองของธุรกิจ คุณต้องให้ความสำคัญกับพวกเขาเช่นกัน หากไม่มีทีมงานที่ดีแล้วร้านของคุณอาจอยู่ห่างไกลจากคำว่าร้านอาหารที่มีอาหารและบริการที่ดีได้ ดังนั้นคุณต้องให้ความต้องการพื้นฐานกับพวกเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ สวัสดิการ โบนัส วันหยุด ฯลฯ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องลุยเดี่ยวและทำทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง

แม้ว่าการทำงานกับคนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบพร้อมไปทุกด้าน พนักงานของคุณอาจจะไม่ได้เก่งมาตั้งแต่แรก แต่การลงทุนให้เวลากับพนักงานที่เต็มใจเรียนรู้และมีความกระตือรือร้น ย่อมคุ้มค่าและเป็นวิธีการที่ทำให้ร้านอาหารที่ดีสามารถอยู่รอดได้

2.สร้างความเฉพาะตัว

คุณไม่สามารถเป็นทุกอย่างให้กับทุกคนได้ ในธุรกิจร้านอาหารไม่ได้มีแค่ผู้ที่ประสบความสำเร็จ ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไปไม่ถึงความฝันที่คิดไว้ “แนวคิด” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กสามารถดำเนินต่อไปได้ การกำหนดคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน จะทำให้ร้านของคุณโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด คุณไม่จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้กว้างเพราะอยากเรียกคนเข้าร้าน คุณอาจโปรโมทร้านของคุณไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยเป็นกลุ่มลูกค้าประจำหรือกลุ่มคนที่คุณคาดว่าจะมีโอกาสเข้ามาเป็นลูกค้าของร้านในอนาคตดีกว่า

3.อย่าประหยัดจนเกินไป

ใช้เงินซื้อสิ่งที่มีคุณภาพดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งคนทำงาน เมื่อคุณใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพในการทำอาหาร ลูกค้าจะสามารถสัมผัสได้ในทันทีที่เขาได้ลิ้มลองรสชาติอาหารจากร้านคุณ การลงทุนในด้านเทคโนโลยีก็จะช่วยให้คุณในฐานะเจ้าของร้านก็จะมีเวลาในการไปบริหารจัดการงานในด้านอื่นๆ ได้อีกเยอะ และยิ่งคุณสามารถจ้างคนที่มีความสามารถ (ด้วยการให้ผลตอบแทนที่ดีกับเขา) ไม่ว่าจะเป็นเชฟ ผู้จัดการร้าน และพนักงานภายในร้าน คุณก็จะมั่นใจได้เลยว่าลูกค้าของคุณจะได้รับอาหารและบริการที่ยอดเยี่ยม

4.จัดสรรเวลา

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการที่เราสวมหมวกหลายๆ ใบในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่พ่อ แม่ ลูกที่ดี ทำงานประจำ ฯลฯ ซึ่งอาจดึงเวลาของเราออกไปจากการบริหารงานร้านอาหาร ดังนั้นการแบ่งเวลาที่ดีจะช่วยให้คุณไม่สับสนในการทำงาน เพราะไม่ว่าจะมีปัญหามากมายขนาดไหน คุณต้องไม่ลืมตรวจสอบคุณภาพของอาหารและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน

อย่าใช้ปัญหาส่วนตัวมาเป็นข้ออ้างว่า “ไม่มีเวลา” ไม่อย่างนั้นแล้วลูกค้าของคุณอาจได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไป นอกจากลูกค้าจะไม่อยากกลับมาที่ร้านอีก พวกเขายังอาจบอกต่อเพื่อนๆ ของเขาถึงประสบการณ์เลวร้ายที่ได้รับเพียงครั้งเดียวก็เป็นได้

5.อย่าลืมเงินทุนสำรอง

สำหรับคนที่พยายามจะเปิดร้านอาหารขนาดเล็กในงบประมาณที่จำกัด คุณต้องแน่ใจว่าตัวเองมีเงินสดสำรองที่เอาไว้ใช้ “เผา” หรือหมุนเวียนในช่วง 2 – 3 เดือนแรก เพราะในช่วงแรกๆ ร้านของคุณอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทำให้จำนวนลูกค้าน้อย ในขณะที่ต้นทุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าที่ ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้าง ฯลฯ ยังมีอยู่เท่าเดิม อีกทั้งคุณยังต้องใช้เงินไปกับการประชาสัมพันธ์ร้านของตัวเองให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย ดังนั้นการมีเงินสดสำรองไว้จะทำให้ร้านของคุณมีสภาพคล่องมากพอที่จะดำเนินกิจการให้ผ่านพ้นช่วงโค้งแรกไปได้

 

บทความที่น่าสนใจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!

เรื่องแนะนำ

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!!

สมัยนี้คนที่อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือลงทุนอะไรเพิ่มเลยด้วยซ้ำ ด้วย “Ghost.Kitchen” หรือร้านอาหารที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ลองมาดูความเป็นมาและข้อดีข้อเสียของโมเดลร้านอาหารนี้กันครับ “Ghost Kitchen” ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ที่มาของครัวที่มองไม่เห็น “Ghost.Kitchen”  “Ghost.Kitchen” ก็คือการเปิด “ร้านอาหารที่มีแต่ครัว” โดยไม่ต้องเปิดขายหน้าร้าน แต่เน้นรับออเดอร์อาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่เท่านั้น โดยเจ้าของร้านเหล่านี้อาจจะขายอาหารได้แม้จะอยู่ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กภายในตัวเมือง แค่เชื่อมต่อร้านกับแอปลิเคชันเดลิเวอรีต่างๆ หรือรับออเดอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ถ้าใครสะดวกก็จัดส่งเองได้เลย หรือบางคนก็ใช้วิธีจัดส่งเป็นรอบๆ ในพื้นที่บริเวณที่กำหนด เทรนด์อาหารเดลิเวอรี่กับการเติบโตของ Ghost.Kitchen สถิติจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่มีเติบโตขึ้นราวปีละ 10% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของร้านอาหารทั่วไปที่โตแค่ 3-4% ต่อปี สอดคล้องกับการโตของธุรกิจ Ghost.Kitchen โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดที่กระตุ้นให้การเกิดเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่าแม้แต่คนรอบตัวของเรา ก็หันมาขายอาหารผ่าน application หรือออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ก็มีการแชร์ครัวประเภทนี้ร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงทุนทำครัวของแต่ละร้านเอง ตัวอย่างเช่น Grab Kitchen ที่รวมเอาร้านอาหารยอดนิยม 12 ร้าน […]

ถอดบทเรียน ครัวกลางใหม่ Bear House ทำไมสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด

ถอดบทเรียน ครัวกลาง ใหม่ Bear House ทำไมสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด จากบทเรียนขาดทุน 17 ล้านบาท สู่การให้ความสำคัญด้านบัญชีอย่างจริงจัง ธุรกิจคุณให้ความสำคัญกับ ฝ่ายบัญชีและ HR มากแค่ไหน? เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ดูคลิปพาทัวร์การก่อสร้างครัวกลางใหม่ ของสอง youtuber ชื่อดัง คุณกานต์ อรรถกร และคุณซารต์ ปัทมพร ยูทูปเบอร์ที่ได้ผันตัวมาทำธุรกิจอาหารแบรนด์ Bear House ควบคู่ไปด้วยแล้ว ที่มาของครัวกลางใหม่ ซึ่งคนที่ติดตามก็คงพอทราบเหตุผลของการสร้างครัวกลางใหม่ในครั้งนี้แล้วว่า เพราะ Bear House ต้องการครัวกลางที่อยู่ใกล้เมืองมากขึ้น และเพื่อลด Sizing ของครัวกลางให้เหมาะกับธุรกิจที่ทำ โดยระหว่างที่คุณกานต์และคุณซารต์กำลังพาทัวร์ครัวกลางใหม่ ก็ได้มีการบรรยายแผนผังของครัวกลางไปพร้อม ๆ กัน  ทำไมต้องสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด ซึ่งตอนหนึ่งของคลิปคุณกานต์และคุณซารต์ได้บอกว่า ตามผังของการก่อสร้างครัวกลางใหม่ในครั้งนี้ เขาได้วางให้ห้องบัญชีเป็นห้องที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นห้อง HR ที่อยู่ติดกัน โดยทั้งสองได้ให้เหตุผลว่าทีมบัญชีและ HR เป็นฝ่ายด่านหลัง […]

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.