ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม” - Amarin Academy

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่คุ้มหรือ ไม่คุ้ม

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมร้านอาหารหลายร้านที่ตั้งราคาแพงกว่าตลาด กลับมีคนเข้าไปกินไม่ขาดสาย เทียบกับอีกร้านที่ราคาถูกกว่า แต่กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า ของราคาถูกกว่า ไม่จำเป็นต้องขายได้ดีกว่าของราคาแพงกว่าเสมอไป เพราะลูกค้าไม่ได้มองที่ ของถูกหรือของแพง แต่เขามองว่า “คุ้ม”  หรือ “ไม่คุ้ม” กับสิ่งที่จ่ายไปมากกว่า โดยทฤษฎีความคุ้มค่าของลูกค้าคือ

ความคุ้มค่า = สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่คาดหวัง

จากสมการจะเห็นว่า การที่ตั้งราคาอาหารสูงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องมั่นใจว่าเราสามารถส่งมอบได้มากกว่าหรือเท่ากับตามที่ลูกค้าคาดหวังด้วย

ความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้าอาจไม่ใช่แค่รสชาติและราคาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง การบริการ ความรวดเร็ว สะดวกสบาย บรรยากาศและการตกแต่งจานด้วย

บางร้านรสชาติอาหารอาจจะไม่ได้เด่นมาก แต่พนักงานบริการดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จัดจานสวย ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปได้

ยกตัวอย่างเช่น

ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเล A ตั้งอยู่ในตึกแถวตั้งราคาขายชามละ 80 บาท ลูกค้าที่มากินจะคาดหวังทันทีว่า 80 บาทที่เสียไป เขาจะได้อะไรกลับมาบ้าง โดยคาดคะเนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น รสชาติอาจไม่ต้องอร่อยมาก แต่ต้องได้เร็ว เพราะกินเสร็จต้องรีบไปทำงานต่อ แต่ปรากฏว่ารสชาติก็ไม่ดี รอมาครึ่งชั่วโมงแล้วก๋วยเตี๋ยวก็ยังไม่มา ถามเจ๊เจ้าของร้านไปก็ไม่สนใจ ลูกค้าจะรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” กับเงินที่เสียไปทันที

ขณะเดียวกัน อีกเจ้าหนึ่งขายก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเลแบบเดียวกันราคา 120 บาท อยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ให้กุ้งตัวใหญ่ รสชาติจัดจ้าน ร้านบรรยากาศดี พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ต่อให้เขาต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็รู้สึก “คุ้ม” กับทุกบาทที่จ่ายไป

สุดท้ายสิ่งสำคัญอีกสิ่งคือ อย่าโฆษณาเกินจริง เพราะทุกครั้งที่เราโฆษณา นอกจากจะทำลูกค้ารู้จักร้านเราแล้ว ยังทำให้ลูกค้าคาดหวังในร้านตามที่เขาเห็นด้วย

สมมติถ้ารูปก๋วยเตี๋ยวที่เราใช้โฆษณาใช้กุ้งตัวใหญ่ แต่งจานสวย แต่พอมากินจริง ๆ แล้ว กุ้งกลับตัวเล็ก จัดจานก็ไม่เหมือนในรูป ลูกค้าจะรู้สึกทันทีว่าถูกเอาเปรียบ หรือในรูปร้านเราดูตกแต่งสวย บรรยากาศดี แต่พอมาถึงกลับพบข้าวของวางกระจัดกระจาย ร้านดูเก่า หรือที่เขาเรียกกันว่า “รูปไม่ตรงปก” ฉะนั้นจะโฆษณาอะไร จงมั่นใจด้วยว่า เราทำได้อย่างที่พูด ไม่อย่างนั้น ลูกค้าคงหนีหายหมด และยากมาก ๆ ที่เขาจะกลับมากินซ้ำเป็นครั้งที่ 2

ถ้าเจ้าของร้านเข้าใจจุดนี้ทั้งหมด จะทำให้เราไม่ต้องมานั่งคิด โปรโมชั่น ลดราคา เพื่อดึงหรือแย่งลูกค้ากับเจ้าอื่น ๆ อีกต่อไป โดยเอาเวลาที่เหลือไปคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่ายให้เรามากกว่า และจะทำอย่างไรให้เราสามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น โดยที่ลูกค้ารู้สึกว่าไม่แพง

เรื่องแนะนำ

จดทะเบียนร้านอาหาร

จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ผู้ประกอบการร้านอาหารที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร ห้ามมองข้ามเรื่อง จดทะเบียนร้านอาหาร แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้ว

ซื้อแฟรนไชส์

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

หลายคนอยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการ ซื้อแฟรนไชส์ สักร้าน เพราะได้ยินใครต่อใครพูดให้ฟังว่า การทำแฟรนไชส์มีเปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจรวดเร็ว

หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

ก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้างมาตรฐาน ให้ร้านอาหาร มาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.