8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ! - Amarin Academy

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

ก่อนเปิดร้านอาหาร เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? เชื่อว่าผู้ประกอบการร้านอาหารมือใหม่หลายๆ คน คงมีคำถามอยู่ในใจ เราจึงขอรวบรวม 8 Checklists ที่เจ้าของร้านที่อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ มาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน

1.ทำงบลงทุน และแพลนการใช้จ่าย

เคยได้ยินเพื่อนๆ ที่ทำร้านอาหารบ่นเรื่อง “งบบานปลาย” กันไหม เรากล้าบอกได้เลยว่า กว่า 80% ของผู้ประกอบการร้านอาหารต้องประสบปัญหานี้แน่นอน แม้บางคนจะคิดว่า เราทำแผนการลงทุนมารอบคอบแล้ว ก็เจอปัญหางบบานปลายอยู่บ่อยๆ เพราะว่าการทำร้านอาหารมีค่าใช้จ่ายจุกจิกเยอะมาก

เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่งร้าน ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในครัว ค่าแรงพนักงาน (ที่จะต้องจ้างมาเทรนด์และสอนงานก่อนการเปิดร้าน) ค่าวัตถุดิบ ค่าลิขสิทธิ์เพลง (ถ้าร้านมีการเปิดเพลง) ค่าขอใบอนุญาตและภาษีต่างๆ  ค่าปรับ (กรณีเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าแล้วการก่อสร้างล่าช้า) ฯลฯ

ใครที่คิดว่าใช้วิธีกะคร่าวๆ ว่าจะลงทุนแต่ละส่วนเท่าไร เราบอกได้เลยว่า คุณจะต้องปวดหัวกับสารพัดค่าใช้จ่ายแน่นอน ฉะนั้นทางที่ดี ระบุสัดส่วนงบการลงทุนให้ชัดเจนจะดีกว่า ที่สำคัญ อย่าลืมเผื่อเงินประมาณ 10 – 15% ของงบการลงทุนทั้งหมดไว้สำหรับค่าใช้จ่ายไม่คาดคิดเหล่านี้ด้วย ไม่อย่างนั้นคุณจะเจอปัญหางบบานปลายแน่นอน

2.เขียนแผนธุรกิจให้ชัดเจนที่สุด

หลายคนเริ่มทำร้านอาหารโดยไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจเล็กๆ ไม่น่าจะต้องทำแผนธุรกิจอย่างจริงจัง แต่จริงๆ แล้วแผนธุรกิจเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้ธุรกิจของคุณเดินไปสู่ความสำเร็จ เพราะจะช่วยให้คุณมีจุดยืนที่ชัดเจนขึ้น และมีทิศทางในการทำงานมากขึ้น โดยแผนธุรกิจสำหรับร้านอาหาร สามารถเขียนง่ายๆ ได้ดังนี้

>> การเขียนแผนธุรกิจสำหรับร้านอาหาร

3.อย่าลืมจดทะเบียนธุรกิจและขอใบอนุญาต

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจมองข้าม เพราะส่วนใหญ่มักจะวุ่นวายกับการเตรียมงานภายในร้าน ทั้งตกแต่งร้าน หาพนักงาน เทรนด์งาน สอนงาน วางระบบครัว จนลืมจดทะเบียนธุรกิจหรือขอใบอนุญาต (สำหรับร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >> จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

4.เลือกทำเลให้โดน

ทำเลถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับร้านอาหารอย่างมาก เพราะถ้าคุณเลือกทำเลผิด ร้านคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเลยก็ได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกทำเลมีเยอะมาก ทั้งดูว่าตรงกลุ่มเป้าหมายรึเปล่า ราคาค่าเช่า Traffic ของกลุ่มลูกค้า (มีกลุ่มลูกค้าของเราอยู่บริเวณนั้นมากน้อยแค่ไหน) ฯลฯ ฉะนั้นก่อนจะเลือกทำเล ควรตัดสินใจดีๆ อย่าด่วนตัดสินใจด้วยความรู้สึก หรือไม่มีข้อมูลประกอบที่ชัดเจน

ทั้งนี้ทำเลสำหรับเปิดร้านอาหารก็มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

พื้นที่เปล่า >> เราต้องก่อสร้างร้านเอง ถ้าตัดสินใจเช่าพื้นที่เปล่าต้องคิดให้หนักพอสมควร เพราะมันคือการลงทุนที่ต้องใช้เงินค่อนข้างมาก จึงต้องมีการคำนวณอย่างรอบคอบว่าจะคืนทุนภายในกี่ปี สัญญาเช่ายืนยาวพอหรือเปล่า เช่น หากคุณลงทุนไป 2 ล้านบาท คาดว่าจะคืนทุนภายใน 4 ปี แต่สัญญาเช่าของคุณคือ 5 ปี เท่ากับว่า คุณมีเวลาทำกำไรได้เพียง 1 ปีเท่านั้น และถ้าปีต่อไปเจ้าของที่ไม่ให้ต่อสัญญา สิ่งที่คุณลงทุนไปก็สูญเปล่า

อาคารเปล่า >> ข้อนี้คือมีอาคารอยู่แล้ว คุณต้องออกแบบตกแต่งสถานที่ใหม่ แน่นอนว่าต้องใช้งบประมาณพอสมควร (เช่นเดียวกับข้อแรกที่คุณต้องคำนวณงบการลงทุนดีๆ) ทั้งค่าออกแบบ ตกแต่งสถานที่ ค่าวางระบบต่างๆ แต่ข้อดีคือคุณสามารถออกแบบร้านได้ให้เป็นไปตามความต้องการได้

เซ๊งร้านต่อ >>  นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ เพราะว่าร้านเดิมจะมีการวางระบบสำหรับทำร้านอาหารมาพอสมควร ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการวางระบบใหม่ แต่ข้อเสียคือ หน้าตาร้านและระบบต่างๆ ที่ร้านเดิมวางไว้อาจไม่เป็นไปตามความต้องการของคุณ 100% ที่สำคัญ อาจประสบปัญหาคือแปลนร้านเดิมมีปัญหา เช่น ท่อน้ำทิ้งตัน ระบบระบายอากาศไม่ดี หรืออุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด ทรุดโทรม ต้องซ่อมแซม เป็นต้น ฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจเซ๊งร้าน ก็ต้องตรวจตราระบบเหล่านี้ให้ถี่ถ้วนด้วย

5.คิดคอนเซ็ปต์ร้านให้ชัด

คอนเซ็ปต์ร้านคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารของเราแตกต่าง และเป็นที่จดจำในกลุ่มผู้บริโภค แม้ว่าคุณจะขายอาหารประเภทเดียวกับคนอื่น แต่คุณต้องพยายามหาจุดเด่น จุดต่างให้ได้ ที่สำคัญต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เพราะอะไรลูกค้าต้องเลือกมารับประทานอาหารร้านของคุณ

หลายคนอาจบอกว่าร้านอาหารของเราโดดเด่นที่รสชาติอาหาร คุณภาพวัตถุดิบ แต่ 2 สิ่งนี้ลูกค้าจะไม่มีทางรับรู้ได้เลยจนกว่าจะได้มาลองรับประทานร้านอาหารของคุณ ดังนั้น หากคุณต้องการดึงดูดให้เขาเดินเข้าร้าน ก็ต้องหาจุดขายอื่นแทน เช่น บางร้านอาจดึงดูดด้วยเมนูจานยักษ์ หรือดึงดูดด้วยการตกแต่งร้านที่สวยไม่เหมือนใคร หรือมีบริการที่แตกต่าง เป็นต้น

6.ออกแบบเมนูให้ต่างและได้กำไร

ก่อนเปิดร้านอาหารคุณต้องตอบให้ได้ว่า “จะขายเมนูอะไร” เมนูนั้นโดดเด่น ดึงดูดให้คนสั่งได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญเมนูนั้น ทำกำไรให้ร้านจริงหรือเปล่า

เจ้าของร้านอาหารหลายๆ ร้าน อาจประสบปัญหา ขายเหนื่อยแทบตายแต่กำไรไม่เหลือ (บางครั้งอาจถึงขั้นขาดทุน) เพราะไม่ได้คำนวณต้นทุนอาหารให้ดีก่อน แต่เลือกที่จะตั้งราคาอาหารตามคู่แข่ง เช่น เห็นว่าร้านข้างๆ ขายราคานี้ก็อยู่ได้ ก็เลือกขายตาม เพราะคิดว่าคงทำกำไรได้เช่นกัน แต่จริงๆ เขาอาจมีข้อได้เปรียบอื่นที่เราไม่รู้ เช่น ร้านคู่แข่งไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ หรือรับวัตถุดิบมาได้ในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ต้นทุนต่อจานต่ำ เป็นต้น ดังนั้นต้องคำนวณต้นทุนต่อจานให้ชัดเจนด้วย

7.มองหาพนักงานที่ดี

พนักงานเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารของเราประสบความสำเร็จ ร้านจะมีปัญหามากหรือน้อย…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน อาหารจะอร่อยได้มาตรฐานหรือรสชาติไม่แน่นอน…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน ลูกค้าจะประทับใจหรือส่ายหัว…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน ดังนั้นคุณต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงานอย่างมาก อาจดูที่ประวัติการทำงาน ทัศนคติ (ต้องเหมาะกับร้านของคุณ) ลักษณะนิสัย และเมื่อรับเข้ามาแล้วต้องมีการเทรนด์ก่อนการทำงานจริงด้วย เมื่อถึงเวลาเปิดร้านพนักงานจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.วางแผนการตลาดให้เปรี้ยง

ข้อสุดท้ายที่คุณควรทำคือ วางแผนการตลาด โดยโจทย์สำคัญของการทำการตลาดในช่วงแรกอาจเป็น “ทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้ารู้จักร้านของคุณให้มากที่สุด” โดยอาจต้องวางแผนทั้งฝั่งออฟไลน์ เช่น ป้ายหน้าร้าน ทำโปรโมชั่น หรือจัดงานเปิดตัว ฯลฯ ฝั่งออนไลน์ เช่น เปิดเพจเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือติดต่อไปตามเพจรีวิวอาหารต่างๆ ให้มาช่วยประชาสัมพันธ์ร้าน เป็นต้น

ทั้ง 8 ข้อนี้ถือเป็น Checklist ที่คนที่กำลังอยากเปิดร้านอาหารควรทำ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดร้านให้ประสบความสำเร็จ!

เรื่องแนะนำ

ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ   เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! เซฟเงินแต่ได้ภาพ แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย   ท้าทายและน่าแชร์ กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย   […]

การบริหารพนักงาน

เทคนิค การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

ทุกวันนี้ร้านอาหารไทย มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติ กลายเป็นความท้าทายของเจ้าของร้านอาหารไทยในยุคนี้ว่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อ การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.