จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ? - Amarin Academy

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

ถ้าให้เจ้าของร้านอาหารเล่าให้ฟังว่าตอนวันแรกๆ ที่เปิดร้าน ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง ผมว่าคงเล่าได้เป็นวันๆ เลยใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องลูกน้อง การหมุนเงิน การซื้อวัตถุดิบ หรือยอดขายไม่มากพอ ฯลฯ มีแต่ปัญหาชวนปวดหัวทั้งนั้น แต่วันนี้ ผมอยากมาชวนให้คิดถึง Good problem หรือปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้น แสดงว่าธุรกิจกำลังไปได้ดีกันบ้าง และหนึ่งในปัญหานั้นคือ “จะทำธุรกิจในนามบุคคลแบบนี้ต่อไป หรือจะ จดทะเบียนบริษัท ดีกว่ากัน?”

หลายคนเริ่มต้นจากการขายอาหารในนามบุคคลธรรมดา คำอาจจะดูงงๆ นิดหน่อย พูดง่ายๆ ก็คือเวลารับเงิน หรือออกเอกสารพวกใบเสร็จต่างๆ ให้ลูกค้า เราก็ใช้ชื่อ – นามสกุลเรานี่แหละ

ข้อดีก็คือ ได้ความคล่องตัวและไม่มีขั้นตอนซับซ้อน เช่น การทำบัญชีก็บันทึกง่ายๆ แบบรายรับ/รายจ่าย ไม่ต้องจัดทำงบการเงินเพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและลดจำนวนแบบฟอร์มทางภาษีที่ต้องยื่นระหว่างเดือน

ถ้าอย่างนั้น แล้วทำไมเมื่อธุรกิจเติบโตถึงจุดหนึ่ง คนส่วนมากถึงหันมาจดทะเบียนบริษัทกันล่ะ?

“เพราะว่าบริษัทเสียภาษี น้อยกว่าบุคคลธรรมดา”

อ่านถึงประโยคนี้แล้วอย่าเพิ่งรีบวิ่งไปจดทะเบียนบริษัทนะครับ แนะนำให้อ่านต่ออีกนิด เพื่อประกอบการตัดสินใจ

“ก่อนตัดสินใจ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?”

1.พิจารณาค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มว่าคุ้มค่าหรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เริ่มตั้งแต่ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี

  • ค่าจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอนนี้หากทำเอกสารไปยื่นเอง ค่าธรรมเนียมที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเก็บก็จะอยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาท สำหรับทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่หากรู้สึกว่าทนความซับซ้อนของการกรอกเอกสารทั้งหลายไม่ไหว บริษัทบัญชีหลายแห่งก็รับทำให้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 3,000-5,000 บาท
  • ค่าจ้างพนักงานบัญชี (เป็นพนักงานประจำ) หรือจะจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีเป็นรายเดือนก็ได้ ค่าใช้จ่ายมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของธุรกิจ
  • ค่าจัดทำงบการเงินตอนสิ้นปีและค่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อเซ็นรับรองความถูกต้องของงบการเงิน (ปีละครั้ง) โดยเท่าที่เห็นมาคร่าวๆ สำหรับกิจการที่เติบโตจะมีค่าใช้จ่ายก้อนนี้ประมาณตั้งแต่ 20,000 ขึ้นไปต่อปี  (อันนี้ไม่นับบริษัทที่จดขึ้นมาแล้วทิ้งไว้เฉยๆ นะครับ แล้วก็ขึ้นกับสำนักงานบัญชีแต่ละที่ด้วย)

2.มองหาผู้ร่วมอุดมการณ์เพิ่มได้หรือยัง

เพราะการจดทะเบียนบริษัทยังคงต้องมีผู้ถือหุ้นบริษัทอย่างน้อย 3 คน แต่ละคนจะมากจะน้อยก็ได้ หรือมีหุ้นเดียวก็ได้

3.พร้อมรับมือกับความยุ่งยากเรื่องเอกสารหรือไม่

ตั้งแต่ขั้นตอนเอกสารต่างๆ จนถึงการยื่นแบบทางภาษีที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละเดือน เช่น การออกใบหัก ณ ที่จ่าย การยื่นแบบ ภงด.3 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากเรามีการจ่ายเงินที่เป็นค่าบริการให้กับบุคคลอื่น) หรือ ยื่นแบบ ภงด.53 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากเรามีการจ่ายเงินที่เป็นค่าบริการให้กับบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น)

ถ้าไม่จ้างคนทำบัญชี ก็ต้องจดต้องจำให้ดีเลยนะครับ เพราะหากเลยกำหนดหรือยื่นไม่ครบ ก็อาจจะมีค่าปรับจากการที่เราความจำไม่ค่อยดีด้วย

3.พร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้การบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่

พอเปลี่ยนมาเป็นบริษัท การทำบัญชีก็จะต้องเป็นไปตามหลักการต่างๆ เช่น จากปกติเวลาเราซื้อของก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย พอจดบริษัทปุ๊บ ก็ต้องจดว่าเป็นสินทรัพย์คอยตัดค่าเสื่อมแต่ละปี ตามจำนวนปีที่กำหนด หลายคนรู้สึกขัดออกขัดใจ เพราะต้องเก็บข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้ต้องเตรียมใจไว้ด้วยนะครับ

4.รายได้มากถึงจุดที่คุ้มที่จะเปลี่ยนไปทำธุรกิจในนามบริษัทหรือยัง?

ข้อสุดท้ายแต่น่าจะสำคัญที่สุดคือ  ข้อนี้แล้วแต่กิจการเลยจริงๆครับ เพราะความสามารถในการทำรายได้ และจำนวนค่าใช้จ่ายแต่ละธุรกิจก็แตกต่างกันไป แต่ก็แนะนำให้ประมาณการคร่าวๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อวางแผนและเตรียมตัวนะครับ

การคำนวณหากใครรู้หลักการคร่าวๆ ก็คำนวนเองได้เลยครับ แต่หากใครรู้สึกว่าเจอตัวเลขทีไรงงทุกที ผมก็มีลิงก์ดีๆ ของ itax ที่ช่วยเปรียบเทียบค่าภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดา กับ บริษัทให้กับร้านอาหาร/เครื่องดื่มมาแชร์ครับ ลองคำนวณดูว่าร้านเราพร้อมหรือยัง? คลิก เปรียบเทียบภาษี

ความเห็นจาก ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน

จริงๆ แล้ว การจ่ายภาษีน้อยลงไม่ใช่ข้อดีข้อเดียวของการจดบริษัทหรอกนะครับ ถึงแม้จะยุ่งยากนิดหน่อย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การจดบริษัทช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรา ในสายตาของคู่ค้าที่เราทำธุรกิจด้วย เนื่องจากเป็นการบันทึกบัญชีตามหลักมาตรฐาน และมีคนภายนอกคอยตรวจสอบความถูกต้อง

แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือตัวเลขผลการดำเนินงานที่ได้ ช่วยสะท้อนให้เราเห็นภาพธุรกิจที่ถูกต้อง ช่วยให้เราจัดการธุรกิจของเราได้ดีขึ้น ง่ายต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอีกด้วย รวมทั้งไม่ต้องคอยหลบเลี่ยงภาษี (เพราะยอดที่ต้องจ่ายมันสูงซะเหลือเกิน) ที่จะตามมาด้วยปัญหาน่าปวดหัวในภายหลัง

เรื่องแนะนำ

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม? ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม? ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers) แอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งที่สมาชิก “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” ได้มาตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องน้ำจิ้มได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งประเด็นนี้ได้มีการตั้งคำถามถึง “การพกน้ำจิ้มไปร้านบุฟเฟต์ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ให้เกียรติร้านหรือไม่?” โดยสมาชิกเจ้าของโพสต์ ได้ยกตัวอย่างว่าเธอก็เป็นคนหนึ่งที่พกน้ำจิ้มซีฟู้ดไปร้านบุฟเฟต์ ด้วยเหตุผลว่าบางร้านน้ำจิ้มไม่ถูกปาก เลยพกไปเองดีกว่าจะได้กินได้เยอะ ๆ และเปรียบเทียบว่าถ้าตนเป็นเจ้าของร้านก็น่าจะชอบ ที่ไม่ต้องเปลืองน้ำจิ้มที่ร้าน . ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มดังกล่าวต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันด้วยเหตุผลที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ๆ คือฝ่ายที่คิดว่าสามารถพกน้ำจิ้มไปได้ ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ต้องมีการสอบถามหรือขออนุญาตร้านก่อนพกน้ำจิ้มเข้าไปด้วย กับฝ่ายที่คิดว่าไม่ควรนำอาหารอื่น ๆ เข้าร้านอาหาร โดยสรุปเป็นเหตุผลหลัก ๆ ได้ ดังนี้  มองว่า พกน้ำจิ้มไปได้ กินคีโต “คนกินคีโตต้องพกไปค่ะ ต้องปรุงน้ำจิ้มเอง แล้วไปทานเนื้อสัตว์ (ที่ไม่หมัก) ที่ร้าน แต่คิดว่ายังไงก็ควรพูดคุยตกลงกันก่อนว่าโอเคทั้งสองฝ่ายไหม เพราะบางร้าน Signature เขาคือน้ำจิ้ม” “คนกินคีโตบางที่ก็เรื่องปกติเลย พกไปเองเพราะไม่อยากหลุดหรือปนเปื้อนเยอะกว่าจะเข้าใหม่ลำบาก” “เราทานคีโต พกน้ำจิ้มไปเอง ร้านน่าจะชอบนะคะ เพราะเราทานน้ำจิ้มทั่วไปไม่ได้” […]

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? แชร์มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? ทำไมร้านกาแฟ Specialty ที่ขึ้นชื่อว่าร้านกาแฟที่พิเศษถึงมักมีแต่กาแฟที่มีรสเปรี้ยว หรือเพราะว่ากาแฟที่ดีจริง ๆ แล้วจะต้องมีรสเปรี้ยวกันนะ อาจเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนที่เพิ่งหันมาสนใจกาแฟ ล้วนต้องการคำตอบว่า รสเปรี้ยวคือรสที่ดี ?​ รสที่ดีต้องเป็นแบบไหน ? วันนี้เราลองมาหาคำตอบกันว่ารสของกาแฟนั้นสามารถบอกอะไรกับเราได้บ้าง คุณหมีใหญ่ Coffee Guru เคยได้แชร์มุมมองต่อรสชาติของกาแฟไว้ว่า “คนไทยเราโตมากับวัฒนธรรมกาแฟโบราณและกาแฟสำเร็จรูป เราไม่ได้โตมากับวัฒนธรรมกาแฟ Espresso ซึ่งเป็นวัฒนธรรมกาแฟของอิตาลี ฉะนั้นในการคั่วกาแฟโบราณนั้นจึงต้องเน้นคั่วไหม้ เพราะเป็นกาแฟทุนต่ำ โดยปกติในเมล็ดกาแฟมีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว การที่คั่วให้ลึกหรือคั่วไหม้ ก็เพื่อปกปิดลักษณะของกาแฟที่ไม่ดีนั่นเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะควบคุมรสชาติของกาแฟได้ คราวนี้ลองกลับมาดูที่เมนูกาแฟที่คนไทยนิยมดื่ม ก็จะพบว่าเป็นชนชาติที่ชื่นชอบในรสชาติที่ครบรสนั่นคือ ขม หวาน มัน และชอบเมนูที่ต้องใส่นมเป็นส่วนผสม แต่โดยสากลทั่วโลก เขาดื่มกาแฟร้อน มากกว่ากาแฟเย็น และถ้าพูดถึง Espresso ด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีส่วนผสมของนมเข้าไปเกี่ยวเลย” จากข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินกาแฟของคนไทยว่ามักนิยมทานกาแฟที่มีส่วนผสมของนม ไม่ว่าจะเป็นนมข้นหรือครีมเทียม ดังนั้นกาแฟที่นำมาชงจึงมักมีรสและกลิ่นขม เพื่อผสมให้สู้กับกลิ่นหรือความหวานของนมข้นและครีมเทียมได้ ดังนั้นการนำเสนอรสชาติขมของกาแฟในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จึงทำให้สิ่งที่เป็นอีกด้านหนึ่งของกาแฟ นั่นคือ […]

พฤติกรรมผู้บริโภค

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ       พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง   […]

ธุรกิจขนาดเล็ก

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

เจ้าของธุรกิจอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย จากการบริหารจัดการและการเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้ามองให้เรื่องท้าทายเป็นโอกาสและเป็นตัวช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้น นั่นก็จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโต

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.