5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี - Amarin Academy

5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี

5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี

เชื่อว่าใครๆ ก็อยากเป็นนายตัวเอง หลายคนถึงกับลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเปิดธุรกิจของตัวเอง และธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ทุกคนนึกถึงคือการเปิดร้านอาหาร แต่ไม่ใช่ใครก็เปิดร้านอาหารได้ เพราะจากสถิติพบว่าร้านอาหารส่วนใหญ่มักปิดตัวลงภายในเวลา 3 ปีแรก วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี เพื่อให้คุณลองเช็คตัวเองเบื้องต้น ว่าเหมาะกับการทำธุรกิจอาหารหรือเปล่า

มีทักษะด้านการบริหารและการจัดการ

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารร้อยละ 90 ตัดสินใจเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร เป็นเพราะชื่นชอบในการทำอาหาร แต่เมื่อเปิดร้านอาหารจริงๆ กลับต้องปวดหัวกับงานอื่นๆ สารพัด ไม่ว่าจะเป็นงานด้านบัญชี การบริหารจัดการ งานบริการ ประชาสัมพันธ์ การตลาด การคัดเลือกและบริหารคน ฯลฯ จนทำให้หลายคนเหนื่อยจนถอดใจ และตัดสินใจปิดร้านอาหารลง แม้หลายคนจะบอกว่างานไหนที่ไม่ถนัดก็จ้างคนเข้ามาดูแลแทน แต่อย่าลืมว่าการจ้างคน ในที่สุดคุณก็คือคนสุดท้ายที่ต้องตรวจสอบงานอยู่ดี

ฉะนั้นก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจอาหาร ต้องถามตัวเองก่อนว่า พร้อมรับมือกับหน้าที่ต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาไหม

มีความอดทนสูงมาก

หลายคนคงเคยอ่านบทสัมภาษณ์ หรือชมรายการโทรทัศน์ที่ไปถ่ายทำเจ้าของร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ แต่รู้ไหมว่าเบื้องหลังความสำเร็จที่ดูสวยหรูนั้น เส้นทางมักไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากคุณคิดว่าการเปิดร้านอาหารเป็นเรื่องง่าย ขอให้คุณลองทบทวนอีกครั้ง เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากความพยายาม โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงใน 1-2 ปีแรก คือเจ้าของร้านอาหารเหนื่อยกับการทำงานหนัก โดยไม่เห็นผลตอบแทนในทันที

จริงๆ แล้ว หากลองถามร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จดูว่า ช่วงปีแรกเขาทำงานกันอย่างไร เชื่อไหมว่าร้านอาหารแทบทุกร้านจะตอบว่า บางครั้งเขาทำงานสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 80 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่มีพักร้อน เพราะการเริ่มตันทำธุจกิจใหม่ต้องอาศัยความใส่ใจ และทุ่มเทกับมันตลอดเวลา

ต้องมีไฟอยู่เสมอ

ไม่มีใครใส่ใจร้านอาหารของคุณได้เท่ากับตัวของคุณเอง นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณต้องใส่ใจและทุ่มเททุกวินาทีให้ร้านอาหาร เพื่อที่จะนำพาร้านให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง แต่ถ้าวันใดที่คุณเหนื่อยหรือหมดไฟในการทำงาน เชื่อได้เลยว่าธุรกิจจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน ลองคิดดูสิว่า ถ้าเจ้าของร้านเริ่มแสดงท่าทางเหนื่อยๆ เบื่อๆ กับการทำงาน ไม่กระตือรือร้นที่จะทำอะไรใหม่ๆ ลูกน้องคนไหนจะอย่างทำงานล่ะ ฉะนั้นกฎข้อสำคัญของเจ้าของร้านอาหารคือ ห้ามหมดไฟเด็ดขาด

ต้องไม่กลัวงานหนัก

ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่เกิดปัญหาได้ตลอดเวลา และหากร้านคุณไม่มีผู้จัดการร้าน คุณก็ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาเอง ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นวันหยุด วันพักผ่อน หรือแม้แต่วันเกิดแฟน ก็ต้องยอมเสียสละเวลานั้นมาคิดแก้ปัญหา ฉะนั้นนอกจากคุณต้องมั่นใจว่าตัวเองสามารถทำงานหนักได้แล้ว ก็ต้องมั่นใจว่าครอบครัวของคุณจะเข้าใจเช่นกัน เพราะในช่วงเริ่มต้น ธุรกิจอาหารจะดึงเวลาชีวิตของคุณไปเยอะมาก

มีใจรักงานบริการ และมีทักษะด้านการสื่อสาร

หนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหาร คือต้องมีใจรักการบริการ หากเจ้าของร้านรักงานบริการ ทำงานด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มอยู่เสมอ ลูกค้าย่อมประทับใจและอยากเป็นลูกค้าประจำ ขณะเดียวกันทักษะด้านการสื่อสารก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเจ้าของร้านต้องเป็นพูดถ่ายทอดความคิด เป็นผู้สั่งการให้พนักงานทำตามที่เราต้องการ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เช่น ลูกค้าไม่พอใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง บางครั้งเจ้าของร้านก็ต้องเป็นคนรับหน้า และแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น

หากเจ้าของร้านมีทักษะการสื่อสารที่ดี ทั้งด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการยืนที่นอบน้อม สายตาที่แสดงความจริงใจ หรือด้านคำพูดที่กล่าวคำขอโทษและแสดงความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ปัญหาคลี่คลายลงได้โดยง่าย

พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า เจ้าของร้าน แค่ทำอาหารอร่อยอย่างเดียวไมได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย จึงจะช่วยให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ หากคุณเชื่อว่าตัวเองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามนี้ ก็ลงมือเปิดร้านอาหารได้เลย

เรื่องแนะนำ

พฤติกรรมผู้บริโภค

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ       พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง   […]

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

Food Solution

Food Solution ตอบโจทย์ครบ จบทุกปัญหาร้านอาหาร

Food solution คือ ผู้ช่วยมือดีที่จะเข้ามาช่วยให้การบริหารงานร้านอาหารง่ายขึ้น เชื่อมต่อทั้งระบบบัญชีและระบบชำระเงิน ทั้งสะดวกสบาย และคุ้มค่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.