8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง - Amarin Academy

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

เมื่อ เริ่มทำธุรกิจ ย่อมต้องเจอความท้าทายและเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการณ์อาจไม่เคยรู้ เราจึงขอรวบรวม 8 สิ่งที่คนเริ่มทำธุรกิจควรรู้! ที่ถอดบทเรียนมาจากผู้ประกอบการตัวจริงมาแนะนำ เผื่อเป็นแนวทางในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

1.อย่าปล่อยให้เงินขาดมือเด็ดขาด

หลายคนเมื่อเริ่มทำธุรกิจ อาจคำนวณการลงทุนผิดพลาด (อย่าคิดว่าลงทุนไปก่อน อีกไม่กี่วันก็ได้เงินจากลูกค้าแล้ว) ทางที่ดีคุณต้องมีเงินสดสำรองไว้เสมอ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาเมื่อไร (ตู้เย็นพัง เตาเสีย ท่อตัน) จะได้มีเงินสำรองไว้ใช้จ่าย โดยไม่ต้องมานั่งหมุนเงินจนหัวหมุน

2.บางครั้งก็ไม่สามารถไล่พนักงานแย่ๆ ออกได้ทันที

แม้บางครั้งพนักงานจะบริการได้แย่ (จนคุณอยากไล่ออก) ขนาดไหน ถ้าความผิดนั้นไม่ร้ายแรงพอหรือพนักงานขาด คุณก็ไม่สามารถไล่เขาออกได้ แต่ต้องพยายามหาวิธีอื่นในการแก้ปัญหาแทน เช่น หักเงินเดือน ปรับลดวันหยุด เป็นต้น

3.บางครั้งปัญหาอาจเกิดจากตัวคุณเอง

เมื่อเกิดปัญหา หลายๆ คนอาจมองสาเหตุไกลตัว ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจไม่ดี พนักงานบริการแย่ ทำเลไม่ดี แต่จริงๆ แล้วหลายๆ ปัญหา อาจเกิดจากตัวคุณเองที่บริหารงานไม่ดี หรือวางแผนเทรนด์พนักงานไม่ดีพอ ดังนั้นก่อนจะโทษสารพัดปัญหา ลองหันกลับมามองที่ตัวเองก่อน

4.ฟังเสียงลูกค้าให้มากที่สุด

ความคิดเห็นของลูกค้า คือสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับคนเริ่มต้นทำธุรกิจ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น แต่การฟังในที่นี้ไม่ใช่ฟังเพื่อทำตามทุกข้อ แต่ต้องนำมาวิเคราะห์และปรับให้เหมาะกับจุดยืนของธุรกิจคุณด้วย

5.รู้ว่าอะไรควรปิด อะไรควรเปิด

หลายคนเมื่อเริ่มทำธุรกิจมักปกปิดข้อมูลทุกอย่าง แต่บางคนอาจคิดว่าความโปร่งใสคือสิ่งสำคัญ แต่จริงๆ แล้วข้อมูลบางประเภทก็ควรปิด เช่น สูตรอาหาร ข้อมูลการเงิน เป็นต้น แต่ข้อมูลบางประเภท เช่น ประสบการณ์การทำงาน เทคนิคการบริหารจัดการร้านต่างๆ Supplier เจ้าไหนดี ทำเลไหนน่าลงทุน เป็นต้น เป็นสิ่งควรแชร์ให้เพื่อนๆ นักธุรกิจได้รับทราบ เพราะจะก่อให้เกิดสังคมผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง เขารู้ความผิดพลาดของเรา จะได้ไม่ทำตาม ส่วนเรารู้เคล็ดลับความสำเร็จของเขาจะได้นำมาปรับใช้ Win-Win ทั้งสองฝ่าย

6.อย่าทำสัญญาใจเด็ดขาด

หลายๆ ธุรกิจเกิดปัญหาเพราะการทำ “สัญญาใจ” คิดว่าคนกันเองคงไม่เป็นไร การคิดเช่นนี้เกิดปัญหามานักต่อนักแล้ว ดังนั้นถ้าจะต้องร่วมทำธุรกิจกับใครก็ตาม ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน เคลียร์ให้ชัดตั้งแต่เริ่ม ดีกว่าต้องไปนั่งเคลียร์กันในศาลนะครับ

7.ธุรกิจคือธุรกิจ อย่าคิดเป็นงานอดิเรก

หลายคนเริ่มต้นทำธุรกิจโดยคิดว่าเป็นเพียงอาชีพเสริม เป็นงานอดิเรก ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็สำเร็จเอง แต่จริงๆ แล้วไม่มีธุรกิจไหนประสบความสำเร็จได้จากความ “ฟลุค” ทุกธุรกิจล้วนต้องการการเอาใจใส่และใช้ความพยายามอย่างหนักจึงประสบความสำเร็จ

8.อีโก้ ไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ เลย

บางครั้งเมื่อคุณประสบปัญหา อาจไม่อยากยอมรับความช่วยเหลือ เพราะคิดว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” (ซึ่งถือว่าถูกส่วนหนึ่งที่คุณต้องพึ่งตนเอง) แต่บางครั้ง บางปัญหา คุณไม่สามารถแก้ไขเองได้เพียงลำพัง คุณต้องยอมรับความช่วยเหลือจากพนักงาน จากเพื่อนร่วมธุรกิจ จากครอบครัว หรือจากที่ปรึกษาบ้าง ทั้งหมดก็เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณเดินต่อไปได้

ทั้ง 8 ข้อนี้คือส่วนหนึ่งของบทเรียนเท่านั้น แต่เมื่อลงสนามจริง ผู้ประกอบการยังต้องเจอบททดสอบอีกมาก โดยสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุญก้าวผ่านมาได้คือความมุ่งมั่น หมั่นเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ สักวันจะประสบความสำเร็จเอง

เรื่องแนะนำ

ส่วนผสมของ SOP กับวิธีทำคู่มือ ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

ส่วนผสมของ SOP ที่ดี และวิธีทำคู่มือมาตรฐานสำหรับร้าน อย่างง่ายๆใครก็ทำได้! ตามสัญญาจากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึง เจ้า SOP (Standard Operating Procedure) หรือ “คู่มือร้านอาหาร” ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และ อุปสรรคของเจ้าของร้านคืออะไร .. แล้วควรมีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไปแล้ว  วันนี้ผมขอแนะนำเรื่อง ส่วนผสมที่ดีสำหรับ SOP ว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจทำเจ้าคู่มือนี้ จะได้มี “ตัวชี้วัด” ง่ายๆ ไว้ใช้เป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบกันนะครับ…ไปดูกันเลย 1.ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย และ เหมาะกับพนักงานทุกประเภท  เพราะไม่ใช่ทุกร้านที่จะมีโอกาสจ้างทีมงานเรียนจบมาจากสถาบันสอนทำอาหาร หรือมีประสบการณ์การทำงานร้านอาหารมาหลายปีแล้ว มาสมัครร้านเรา ส่วนใหญ่ที่ร้านผมเจอ จะเป็นญาติห่างๆ ของแม่บ้าน ,น้องๆ AEC หรือไม่ก็เป็น พาร์ทไทม์ วัยเรียน ที่อยากจะมาหาประสบการณ์กัน ร้านอาหารหลายๆ ร้านคงจะเข้าใจกับ ประโยคที่ว่า “พนักงานดีๆ หายาก” หรือ “อยู่ไม่ทน” มากที่สุด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ “คู่มือร้านอาหาร” เหมาะกับ […]

5 กลุ่มลูกค้า ที่ร้านอาหารต้องมัดใจให้อยู่หมัด

การหาข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า และนำมาวิเคราะห์ เป็นสิ่งจำเป็นในการเปิดร้านอาหารไม่น้อย เพราะจะเป็นการรู้ถึงแนวทางการพัฒนาร้าน และการทำการตลาด ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งหากทำได้ ไม่เพียงแต่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงการเติบโตของธุรกิจอาหารได้อย่างดีและยั่งยืนอีกด้วย แล้ว กลุ่มลูกค้า แบบไหนที่ร้านต้องมัดใจให้อยู่หมัด   5 กลุ่มลูกค้า ที่ร้านอาหารต้องมัดใจให้อยู่หมัด 1. ลูกค้าที่ใช่เลย ลูกค้ากลุ่มที่ชอบอาจมาแล้วหายไป แต่ลูกค้าที่ใช่จะอยู่นาน เพราะร้านนั้น ๆ เข้ากับตัวตนของพวกเขา และเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด จึงสามารถครองใจลูกค้าไว้ได้  การกำหนดคอนเซ็ปต์ของร้านที่ชัดเจน จะช่วยทำให้วางแผนการตลาดโดยดูจากกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น    2. ลูกค้าที่ซื้อน้อย… แต่ซื้อทุกวัน ลูกค้าที่ดีอาจไม่ใช่ลูกค้าที่ซื้อเยอะ แต่เป็นลูกค้าที่ซื้อแล้ว ทำให้เราเข้าใจลูกค้าคนอื่นเพิ่มมากขึ้นต่างหาก ลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ่อยไม่ว่าจะซื้อเพราะสะดวก ใกล้ที่พัก หรือซื้อเพราะถูกใจในอาหารและการบริการ  ลูกค้ากลุ่มนี้จะผันไปเป็นลูกค้า Royalty ได้มากที่สุด นอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าในกลุ่มนี้ ยังช่วยให้ร้านสามารถวัดความพอใจของสินค้า เพื่อวางแผนการตลาดได้ดีที่สุด   3. ลูกค้าที่กล้าคอมเพลน ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถ feedback  ร้านได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ คุณสามารถตอบโต้กับลูกค้าที่ยินดีจะแชร์ความคิดเห็นไม่ว่าจะบวกหรือลบได้ทันที การแสดงความสนใจ นอกจากนั้นวิธีการจัดการของคุณต่อความคิดเห็นในทางลบของลูกค้าเป็นสิ่งที่โฆษณาร้านค้าของคุณไปสู่ลูกค้าคนอื่น ๆ ได้อย่างกว้างที่สุด และส่วนใหญ่ลูกค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะบอกต่อประสบการณ์ของพวกเขาด้วย […]

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก 

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.