หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร - Amarin Academy

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

รู้ไหม สองสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร้านอาหาร ต้องปิดตัวลงภายใน 3 ปีแรก คือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป และเจ้าของร้านทำงานมากเกินไป หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วคำว่าพอดีอยู่ตรงไหน และ หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร จริงๆ คืออะไร วันนี้เราจะมาเปิดเผยให้ฟัง

เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป VS เจ้าของร้านทำงานมากเกินไป

เจ้าของร้านบางคนมักคิดว่า เปิดร้านอาหาร แค่จ้างเชฟมืออาชีพ จ้างผู้จัดการร้านที่มีประสบการณ์ทำงานสูง จ้างพนักงานที่ผ่านงานมานับไม่ถ้วน แล้วปล่อยให้ทุกคนดูแลงานทุกอย่าง ก็น่าจะช่วยให้ร้านอยู่รอดได้ ส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเข้าร้าน ไม่ตรวจสอบบัญชี ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้าน ถ้าเป็นแบบนี้ คงไม่แปลกใจใช่ไหม เพราะอะไรร้านถึงต้องปิดตัว

แต่บางคนอาจสงสัยว่า แล้วการที่เจ้าของร้านทำงานหนัก ก็น่าจะช่วยให้ร้านเจริญรุ่งเรือง ทำไมถึงปิดตัวได้ล่ะ

ลองนึกภาพง่ายๆ หากเจ้าของร้านทำหน้าที่เป็นเชฟ ปรุงอาหารเสิร์ฟลูกค้าเอง เพราะคิดว่าตัวเองใส่ใจและพิถีพิถันในการทำอาหารที่สุด หากร้านดำเนินไปตามปกติก็น่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ใดแทรกเข้ามาล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ขณะที่เจ้าของร้านกำลังวิ่งวุ่นเตรียมอาหารเพื่อรอลูกค้าที่จะเข้าร้านในตอนเที่ยง เกิด Supplier โทรศัพท์มาเสนอขายวัตถุดิบตัวใหม่ เกรดพรีเมี่ยม เจ้าของร้านต้องเสียเวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาทีในการปฏิเสธ

หลังจากนั้นเกิดมีลูกค้าโทรมาจองโต๊ะสำหรับจัดงานปาร์ตี้วันเกิดในสัปดาห์ถัดไป แล้วขอทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดงาน พร้อมขอราคาอย่างคร่าวๆ เจ้าจองร้านก็ต้องเสียเวลาไปอีก 15 นาทีในการอธิบายรายละเอียดทั้งหมด

เมื่อถึงเวลาเที่ยง ที่ลูกค้ามารอเต็มร้าน อาหารก็อาจจะยังเตรียมไม่เสร็จ เมื่อลูกค้ารอนานเข้าก็เริ่มได้ยินเสียงต่อว่า สุดท้ายลูกค้าก็อาจจะไม่กลับมาใช้บริการร้านคุณอีกต่อไป และสุดท้ายเมื่อเจ้าของร้านวิ่งวุ่นทั้งวันจนไม่มีเวลาพักอย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาไปโฟกัสกับการพัฒนาร้านด้านอื่นๆ เลย

เริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่าการทำงานหนักเกินไป กอดงานไว้คนเดียว ส่งผลให้ร้านต้องปิดตัวลงได้จริงๆ อย่างนั้นเจ้าของร้านควรต้องทำอย่างไรล่ะ

พนักงานบริการ
เจ้าของร้าน กำลังทำหน้าที่ พนักงานบริการ ซึ่งอาจทำได้ในบางครั้ง แต่ต้องไม่ใช่หน้าที่หลักที่ทำทุกวันและทั้งวัน

หน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านอาจไม่เคยรู้

จริงๆ แล้วหน้าที่หลักๆ ของเจ้าของร้านอาหาร มี 3 ข้อ คือ

  1. เรียนรู้ที่จะมอบหมายงานให้ผู้อื่น

เจ้าของร้านอาหารบางคนอาจลงมือทำอาหารเสิร์ฟให้ลูกค้าเอง ก็ไม่ถึงกับต้องเลิกทำ เพียงแต่ว่าควรจ้างผู้ช่วยให้มาช่วยเตรียมของให้เรียบร้อย ระหว่างนั้นก็เอาเวลาไปจัดการงานด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับ supplier ตรวจดูความเรียบร้อยของร้าน เป็นต้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าสั่งอาหาร เจ้าของร้านค่อยเข้าครัวเพื่อลงมือทำ งานทุกอย่างก็จะราบรื่นขึ้น

2.จัดลำดับความสำคัญของงาน

ระหว่างทำอาหาร หากมีเหตุการณ์อื่นใดเข้ามาแทรก เช่น มีโทรศัพท์จากช่างแอร์ที่จะเข้ามาตรวจสอบระบบประจำปี หรือจากฝ่ายการเงินที่จะสอบถามเรื่องการเบิกจ่าย ฯลฯ เจ้าของร้านควรประเมินว่างานนั้นเร่งด่วนมากน้อยแค่ไหน หากไม่จำเป็นต้องคุยทันที ก็รอให้ลูกค้าคนสุดท้ายออกจากร้านก่อนแล้วค่อยโทรกลับก็ยังไม่สาย

3.กำหนดตำแหน่งงานของพนักงานให้ชัดเจน

เจ้าของร้านอาหารต้องวางแผน
เจ้าของร้านอาหารเป็นเหมือนกัปตันบนเรือใหญ่ ทำหน้าที่วางแผน สั่งงานและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

เมื่อคุณจ้างพนักงานในร้านมากขึ้น (ตามข้อแรก) สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ กำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน หรือละเลยงานบางส่วนเพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ลองสละเวลาเขียน job description สักนิด แล้วงานต่างๆ จะราบรื่นยิ่งขึ้น

4.ตรวจสอบงานในภาพรวม และวางแผนพัฒนาร้านต่อไปในอนาคต

ข้อนี้ก็เป็นอีกหน้าหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้าม คุณต้องหมั่นตรวจสอบการทำงานของพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟ ว่ามีคำตำหนิจากลูกค้าหรือเปล่า หรือเรื่องเงินๆ ทองๆ ว่าขาดหายหรือตกหล่นหรือไม่ และหากเกิดปัญหาก็ต้องหาทางแก้ไขโดยทันที

นอกจากนี้ต้องไม่ลืมวางแผนพัฒนาร้านให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงร้าน วางแผนการทำโปรโมชั่น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกประเภท คือการก้าวไปข้างหน้าเสมอ ฉะนั้นหน้าที่นี้จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านต้องใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ

การทำงานตามหน้าที่ที่เราแนะนำนี้ นอกจากเราจะไม่เหนื่อยจนเกินไปแล้ว ยังมีเวลาไปโฟกัสกับสิ่งสำคัญอื่นๆ ที่จ้างคนมาทำแทนไม่ได้อีกด้วย

เรื่องแนะนำ

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา   สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา ‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้             เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You […]

FIFO

FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ที่ช่วยลดต้นทุนได้

การทำร้านอาหารหนึ่งร้าน ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยค่ะ เพราะคุณต้องรู้จักวิธีจัดการกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหน้างาน หรือแม้แต่การหาวิธีป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องในครัว เช่น การจัดการวัตถุดิบต่างๆ ถ้ารู้วิธีจัดการที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยลดต้นทุนให้กับร้านอาหารของคุณได้ด้วย ลองใช้เทคนิคจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร หรือ FIFO ดูค่ะ   FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร อย่างที่กล่าวมาว่า ปัญหาเรื่องการจัดการวัตถุดิบในครัวนั้น เป็นปัญหาที่หลายร้านมักเจอ ไม่ว่าจะเป็น อาหารออกไม่ได้เพราะวัตถุดิบหมดสต๊อกแต่ไม่รู้, ลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทำให้สูญเสียวัตถุดิบโดยเปล่าประโยชน์, วัตถุดิบหาย และไม่มีใครรับผิดชอบ ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนร้านอาหารทั้งสิ้น หากเจ้าของร้านยังปล่อยให้เกิดปัญหาแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่แก้ไข ร้านก็อาจจะถึงขั้นต้องปิดตัวลงได้ ดังนั้น จึงควรนำเทคนิค FIFO มาใช้เพื่อให้การจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น   FIFO คือ? FIFO ย่อมาจาก First in First out หรือ “มาก่อน ใช้ก่อน” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าวัตถุดิบใดมาส่งก่อน ก็หยิบใช้ก่อน เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการลดต้นทุนร้านอาหาร ซึ่งฟังดูเหมือนจะง่าย แต่บอกเลยว่าอาจจะทำได้ยากค่ะ   […]

เริ่มทำธุรกิจ

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

เมื่อ เริ่มทำธุรกิจ ย่อมต้องเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เราจึงขอรวบรวม 8 สิ่งที่คนเริ่มทำธุรกิจควรรู้! ที่มาจากผู้ประกอบการตัวจริงมาแนะนำ

ลดต้นทุนวัตถุดิบ

7 วิธีสุดเจ๋ง ช่วย ลดต้นทุนวัตถุดิบ ได้ชัวร์!

ต้นทุนวัตถุดิบ หรือ food cost ถือเป็นค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในร้านอาหาร หากเจ้าของร้านสามารถ ลดต้นทุนวัตถุดิบ ได้มาก กำไรก็จะมากตามไปด้วย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.