แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม - Amarin Academy

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

ลูกค้านั่งในร้านนาน ทำให้รับลูกค้าอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไรดี? ปัญหานี้เป็นปัญหาที่หลายๆ ร้านปวดหัว เพราะถ้าแก้ไขผิดอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่ช่วย แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน มาแนะนำ

แต่ก่อนที่จะไปทราบเทคนิค สิ่งแรกที่ควรรู้คือ คุณวางตำแหน่งของร้านไว้แบบใด ถ้าร้านของคุณวางตำแหน่งไว้ว่าเป็นคาเฟ่ให้ลูกค้ามานั่งเล่น ถ่ายรูป ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าต้องนั่งนานแน่นอน เพราะเขายอมจ่ายเงินซื้อกาแฟ เพื่อบรรยากาศ ฉะนั้นหลายๆ ร้านจึงใช้เทคนิคตั้งราคาอาหารค่อนข้างสูง เพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสในการรับลูกค้าท่านอื่นๆ

อย่าง Starbucks แบรนด์กาแฟที่วาง Position ว่า ไม่ได้ต้องการขายกาแฟ แต่ต้องการเป็น Community ให้คนได้เข้ามานั่งเล่น พบปะ พูดคุย และขายประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้า ดังนั้น Starbucks จึงอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทุกอย่าง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ Starbucks ทำได้คือ พื้นที่ร้านกว้าง รองรับลูกค้าได้มาก และต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากมีหลายสาขาทำให้อำนาจการต่อรองกับ Supplier สูง หรือพูดง่ายๆ ว่า ยิ่งซื้อ ยิ่งถูก ที่สำคัญราคาเครื่องดื่มสูงกว่าร้านกาแฟทั่วไป 2 – 3 เท่า นั่นแปลว่าการที่เขารับลูกค้าคนเดียว กลับมียอดขายเทียบเท่ากับร้านกาแฟเล็กๆ รับลูกค้า 2 – 3 คน Starbucks จึงสามารถปล่อยให้ลูกค้านั่งนานๆ ได้โดยไม่เดือดร้อน นี่คือข้อได้เปรียบของแบรนด์ที่ทำให้คู่แข่งอื่น แข่งค่อนข้างลำบาก

แต่หากร้านอาหารหรือคาเฟ่ของคุณไม่ได้วาง Position ไว้เหมือนกับ Starbucks แต่เจอปัญหาลูกค้านั่งนาน ลองทำตามเทคนิคนี้ดูได้เลย

1.ให้รหัส Wifi จำกัดเวลา ไม่มีปลั๊กบริการ

ร้านกาแฟหรือคาเฟ่หลายๆ แห่ง มักใช้วิธีนี้บอกลูกค้ากลายๆ ว่าเราจำกัดเวลา ไม่ให้นั่งนาน เพราะลูกค้าบางกลุ่มมักมานั่งทำงานเป็นเวลานาน ทำให้ร้านรับลูกค้ารายอื่นไม่ได้ และสูญเสียรายได้ไป ดังนั้นร้านส่วนใหญ่จึงให้รหัส Wifi ไว้กับใบเสร็จ โดยจะมีเวลาจำกัดประมาณ 1.30 – 2 ชั่วโมง เมื่อหมดชั่วโมงก็ต้องซื้อแก้วใหม่ ถ้าลูกค้าจำเป็นต้องใช้ Wifi จริงๆ ก็ต้องยอมจ่าย เพื่อรับบริการนี้ เป็นต้น เช่นเดียวกัน การไม่มีปลั๊กไฟก็จะช่วยให้ลูกค้าลุกเร็วขึ้นได้เช่นกัน เพราะไม่มีที่ชาร์ตคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน

วิธีนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาลูกค้านั่งนานได้แล้ว ยังเป็นการกรองกลุ่มลูกค้าได้อีกด้วย เพราะลูกค้าที่อยากนั่งคาเฟ่นานๆ เพื่อทำงาน ย่อมมองหาร้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ถ้าเป็นลูกค้าทั่วไปที่นั่งไม่นาน อาจไม่สนใจ 2 ปัจจัยนี้เลยก็ได้ ฉะนั้นถ้าลูกค้าเป้าหมายของคุณคือลูกค้ากลุ่มหลัง ก็ไม่ต้องกังวลว่า การจำกัดชั่วโมง Wifi หรือไม่มีปลั๊ก จะกระทบกับความรู้สึกของเขา

2.เก้าอี้อย่าเลือกแบบนั่งสบายนัก

เคยสังเกตไหม เวลาไปร้านอาหาร คาเฟ่ หรือร้านประเภท fast food บางร้านแล้วรู้สึกว่า เก้าอี้นั่งไม่สบายเลย ทั้งแข็ง ไม่มีเบาะนุ่มๆ รองรับสรีระ บางคนอาจคิดว่า เป็นเพราะร้านประหยัดค่าใช้จ่าย (สำหรับบางร้านที่งบประมาณจำกัด ก็อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้) แต่จริงๆ แล้วนั่นอาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ลูกค้าลุกจากร้านเร็วขึ้น เพราะรู้สึกว่านั่งนานๆ แล้วไม่สบายเท่าไร ลุกไปที่อื่นดีกว่า ทำให้ร้านมีเพิ่มโอกาสรับลูกค้าได้มากขึ้น

3.เสียงเพลงกระตุ้น

รู้หรือไม่…ร้านอาหารที่เป็น Chain restaurant บางร้านมีการกำหนด Playlist ในการเปิดเพลงด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศ “มาตรฐาน” ภายในร้าน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะไปรับประทานที่สาขาไหน ก็ให้ความรู้สึกและประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่นอกจาก Playlist เพลงจะออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศแล้ว บางร้านยังกำหนดระดับเดซิเบลในการเปิดเพลงด้วย บางร้านเปิดเพลงชิลๆ เบาๆ ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย นั่งได้เรื่อยๆ นั่งได้นาน แต่บางร้านที่อยากกระตุ้นให้ลูกค้าลุกเร็วขึ้น ก็อาจเลือกเปิดเพลงหนักๆ เช่น เพลงร็อค เพลงแร๊ป ในระดับเดซิเบลที่ค่อนข้างดัง เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าตื่นตัว กระฉับกระเฉง และลุกจากร้านได้เร็วขึ้น

4.เก็บจาน สอบถามด้วยความสุภาพว่า ต้องการรับอะไรเพิ่มเติมไหม?

วิธีนี้หลายๆ ร้านอาหารใช้บ่อย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ถ้าเทรนด์พนักงานไม่ดี เข้าไปเก็บจานหรือสอบถามด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม ใบหน้าไม่ยิ้มแย้ม อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปว่าจะเข้าไปสอบถามลูกค้าเมื่อไหร่ เช่น นั่งนานเกิน 2 ชั่วโมง และมีลูกค้าคนอื่นรออยู่เต็มหน้าร้าน ก็อาจจะเริ่มด้วยการขออนุญาตเก็บจาน พร้อมเข้าไปสอบถามว่า ขอโทษนะครับ คุณลูกค้า อาหารรสชาติเป็นอย่างไรบ้างครับ หากอยากติชมใดๆ แจ้งได้เลยนะครับ ลูกค้าต้องการสั่งอาหารเพิ่มเติมไหมครับ ถ้าต้องการสั่งเรียกพนักงานได้เลยนะครับ เป็นต้น

การสอบถามเรื่องอื่นๆ ก่อนถามว่าสั่งอาหารเพิ่มเติมไหม จะช่วยให้ลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกเร่งจนเกินไป แต่เข้าใจได้ว่าคุณกำลังกระตุ้นให้เขาสั่งอาหารเพิ่ม หรือลุกจากโต๊ะ

5.วางบิล

วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่อยากให้ทำ เพราะค่อนข้างแสดงออกชัดเจนว่าเรากำลังบอกให้เข้าลุกจากโต๊ะ ซึ่งลูกค้าบางรายที่ไม่เข้าใจ อาจรู้สึกไม่ดีต่อร้านของเราได้ ทางที่ดีควรลองทำวิธีอื่นๆ ก่อน ถ้าไม่ประสบความสำเร็จจริงๆ อาจเข้าไปหาลูกค้าพร้อมกล่าวว่า ขออนุญาตวางบิลนะครับคุณลูกค้า แต่หากต้องการสั่งเมนูใดๆ เพิ่มเติม สั่งเพิ่มเติมได้ตลอดเลยนะครับ

จริงๆ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้าใจ ถ้าเห็นว่าร้านแน่น คนเยอะ เขาจะรีบลุกให้ เพราะเกรงใจลูกค้าท่านอื่นๆ มีน้อยรายเท่านั้นที่เราต้องงัดไม้เด็ดออกมาใช้ และสุดท้าย ถ้าลูกค้ายังไม่ลุกจากโต๊ะ คุณอาจจะต้องทำใจ และหาวิธีเพิ่มยอดขายจากช่องทางอื่นแทน เพราะการมีเรื่องกันลูกค้า ไม่เป็นผลดีต่อร้านเลย

เรื่องแนะนำ

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก 

ทำธุรกิจ catering

4 กฎสำคัญ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จ

หากเจ้าของร้านอาหารท่านใดสงสัยว่าถ้าจะทำธุรกิจนี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้เรามี 4 กฎสำคัญในการ ทำธุรกิจ Catering ให้ประสบความสำเร็จมาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.