สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง - Amarin Academy

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

สำหรับคนทำธุรกิจร้านอาหาร ผู้จัดการร้าน ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าของร้านได้มาก หากเจ้าของร้านได้ผู้จัดการร้านดี ก็แทบไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาจุกจิกภายในร้านเลย แต่หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

สั่งของเข้าร้าน

หนึ่งในหน้าที่หลักของผู้จัดการร้านคือ การสั่งของใช้เข้าร้าน ตั้งแต่ของเล็กๆ น้อยๆ อย่างกระดาษทิชชู กระดาษรองจาน จานรองแก้ว เรื่อยไปจนถึงหลอดไฟ อุปกรณ์ทำความสะอาด และของใช้จำเป็นอื่นๆ รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการเช็คสต็อกวัตถุดิบจากหัวหน้าเชฟ เพื่อจะได้ทราบว่าวัตถุดิบใดขาด วัตถุดิบใดมีมากเกินจำเป็น เพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าครัวอย่างเหมาะสมต่อไป

ฉะนั้นหน้าที่นี้จึงต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบอย่างมาก เพราะหากเช็คของผิดพลาด หรือกะปริมาณของไม่ถูกต้อง อาจทำให้ของมีไม่พอใช้ ส่งผลให้การทำงานติดขัดได้ ของเล็กๆ น้อยๆ ขาดไม่เท่าไร แต่ถ้าลืมสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าครัวนี่สิ แย่เลย

วางแผนการทำงานให้พนักงาน

ผู้จัดการร้าน ต้องทำหน้าที่วางแผนการทำงานให้พนักงานทุกคน เพื่อให้แน่ใจว่ามีพนักงานเพียงพอต่อการทำงาน และเหมาะสมตามแต่ละช่วงเวลา โดยช่วงเวลาเที่ยงหรือเย็นที่มีลูกค้ามาก อาจต้องใช้พนักงานมากกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ซึ่งผู้จัดการร้านต้องเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรและวางแผนการทำงานให้พนักงานในส่วนนี้

วางแผนการจัดกิจกรรมพิเศษ

แน่นอนว่าร้านอาหารของเราคงไม่ได้เปิดขายอาหารไปเรื่อยๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องจัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าด้วย และหน้าที่การวางแผนจัดกิจกรรมก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านร่วมกับผู้จัดการ โดยผู้จัดการร้านจะต้องเป็นคนควบคุมให้กิจกรรมทุกอย่างดำเนินการไปตามแผนการที่วางไว้ และอำนวยความสะดวกให้งานเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น

บริการลูกค้า และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

“ขอคุยกับผู้จัดการค่ะ” นี่คงเป็นประโยคที่พนักงานในร้านอาหารได้ยินเป็นประจำ เพราะหากลูกค้าไม่พอใจสิ่งใด มักเรียกพบผู้จัดการเป็นคนแรก เนื่องจาก ณ เวลานั้นผู้จัดการคือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ภาระด้านการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงตกเป็นขอผู้จัดการร้านไปโดยปริยาย โดยผู้จัดการต้องพยายามหาวิธีแก้ปัญหา ให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ ในช่วงเวลาปกติ ก็ต้องคอยให้บริการลูกค้าไม่ต่างจากพนักงานบริการอีกด้วย ฉะนั้นหากร้านใดกำลังจะจ้างผู้จัดการร้าน ต้องแจ้งเงื่อนไขข้อนี้ให้เขารับทราบด้วย

เป็นตัวแทนของเจ้าของร้าน

ในยามที่เจ้าของร้านไม่อยู่ที่ร้าน ผู้จัดการร้านต้องทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยให้ร้านอาหารดำเนินไปตามปกติ ขณะเดียวกันก็ต้องคอยประสานงานและกระจายข่าวสารต่างๆ จากเจ้าของร้านให้พนักงานรับทราบโดยทั่วถึง

ทำหน้าที่เป็นฝ่ายการตลาดและแอดมินเพจ

สำหรับร้านอาหารใดที่มีเพจเฟซบุ๊ก ผู้จัดการร้านก็ต้องทำหน้าที่เป็นแอดมิน คอยโปรโมทร้านให้ลูกค้ารับทราบ ทั้งการถ่ายภาพอาหาร อัพเดตกิจกรรมหรือเมนูใหม่ๆ ตอบคำถามของลูกค้าที่เข้ามาสอบถามในหน้าเพจและ inbox เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า

ตรวจสอบตัวเลข

หลังร้านปิด ผู้จัดการร้านจะต้องตรวจสอบยอดขายของร้านทุกวัน ว่ายอดขายและจำนวนเงินในลิ้นชักถูกต้องและเป็นไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ เพื่อรายงานให้เจ้าของร้านรับทราบ และในเมื่อผู้จัดการร้านต้องคอยยุ่งเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ อยู่ตลอดเวลา จึงต้องการคนที่ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้มาประจำตำแหน่งนี้

จ้างงานและไล่ออก

ร้านอาหารบางร้านอาจมอบอำนาจให้ผู้จัดการ จ้างและเลิกจ้างพนักงานได้ด้วย เนื่องจากผู้จัดการร้านคือผู้ที่คลุกคลีกับพนักงานมากที่สุด จึงทราบว่าคนไหนทำงานดี คนไหนทำงานบกพร่องโดยไม่มีการแก้ไขหรือพัฒนาใดๆ รวมทั้งทราบว่าควรจ้างคนที่มีบุคลิกแบบใด จึงสามารถร่วมทีมกับพนักงานเก่าๆ ได้ แต่ข้อควรระวังคือ คุณต้องมั่นใจจริงๆ ว่าผู้จัดการร้านของคุณทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพและไม่ลำเอียง ไม่อย่างนั้นระบบการทำงานของร้านคุณอาจเละไม่เป็นท่าได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่ง เจ้าของร้านอาจใช้วิธีขอความเห็นจากผู้จัดการร้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ รับหรือเลิกจ้างพนักงานแทน

ผู้จัดการร้านถือเป็นตำแหน่งงานที่ขอบเขตการทำงานกว้างมาก ไล่ไปตั้งแต่การทำงานหน้าร้านไปจนถึงการวางแผน จึงนับได้ว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ฉะนั้นก่อนจะจ้างคนมาเป็นผู้จัดการ เจ้าของร้านควรไตร่ตรองให้ดี เพราะตำแหน่งนี้อาจเป็นตัวตัดสินว่าร้านคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่เลยทีเดียว

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

ร้านอาหาร จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่อาหารอร่อยหรือบรรยากาศดี แต่ยังรวมไปถึงงานบริการด้วย มีลูกค้าไม่น้อยเลยที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพราะพนักงานดูแลดี มีงานบริการที่ประทับใจ ดังนั้น พนักงานจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการทำร้านอาหาร เพราะมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง และเปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรใส่ใจกับการบริหารจัดการพนักงาน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี และอยากกลับมาใช้บริการอีก ลองมาดูเคล็ดลับในการปรับปรุงการบริการในร้านของคุณกันครับ   6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร ฝึกอบรมพนักงาน ผู้ประกอบการควรคัดเลือกคนที่มีใจรักงานบริการเข้ามาทำงาน และจัดอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของการบริการ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลัก จนถึงเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ ตัวอย่างเช่น  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน ขั้นตอนการทำงานในช่วงต่างๆ (ก่อนเปิดร้าน, เปิดร้าน, หลังปิดร้าน) การกล่าวต้อนรับเมื่อมีลูกค้าเข้าร้าน ทวนรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด ใส่ใจดูแลลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร และรีบเข้าไปบริการเมื่อลูกค้าต้องการ เช่น การเติมน้ำ สั่งอาหารเพิ่ม หรือเรียกเก็บเงิน ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เมื่อลูกค้าชำระเงิน ให้พนักงานนับเงินต่อหน้าลูกค้าและแจ้งจำนวนเงินที่รับมา ตอนทอนเงินให้แจ้งจำนวนเงินที่ทอน และเตือนให้ลูกค้าตรวจนับก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด มารยาทต่างๆ เช่น พูดจาสุภาพ มีคำลงท้ายประโยค (ค่ะ/ครับ) ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับลูกค้า กล่าวขอบคุณหรือขอโทษ มีความอดทนในการทำงาน […]

เทคนิค วางผังครัว ให้ได้อาหารมากขึ้น ลดต้นทุนได้มหาศาล!

ทำครัวร้านอาหารใหญ่ ๆ เสียค่าใช้จ่ายสูง เหลือพื้นที่ขายนิดเดียว ทำกี่ปีถึงจะคืนทุน  แล้วถ้าลูกค้าเยอะแต่ทำครัวไว้เล็ก ทำอาหารออกไม่ทัน ขายกันทั้งวันรายได้นิดเดียว แถมลูกค้าหนีเพราะช้าอีก เพราะครัวไม่ใช่แค่พื้นที่ทำอาหาร แต่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำร้านอาหารว่าจะทำรายได้ให้คุณได้แค่ไหน การวางระบบร้านอาหารโดยคำนึงถึงครัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีก่อน แล้วครัวที่ดีต้องมีการ วางผังครัว อย่างไร?   ครัวที่ดีสัมพันธ์กับตุ้นทุนอย่างไร ต้นทุนแรงงาน ขนาดครัวที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถกำหนดกำลังคนในการทำงานได้ ช่วยลดต้นทุนแรงงานที่ไม่จำเป็น มีการปฏิบัติงานที่ได้ประสิทธิภาพ ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์และการใช้งาน ต้นทุนวัตถุดิบ ผังครัวที่ดีต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ พื้นที่เตรียม การปรุง พื้นที่ทำความสะอาด ที่ง่ายต่อการใช้งาน การลดโอกาสของเสีย ช่วยให้เกิดต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสม ร้านจึงสามารถมีรายได้สุทธิที่มากขึ้น ต้นทุนเวลา การวางผังครัวที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ในการใช้งานทำให้ออกอาหารช้า ขายได้น้อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาพีคไทม์ที่ร้านต้องสามารถรันให้เร็วมากกว่าปกติ ผังครัวที่ไม่ได้คิดเผื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ อาจทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ต้นทุนเวลาในการไปซื้อของที่ขาด เสียหาย ครัวควรมีขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม             ควรกำหนดให้สัดส่วนของครัวสอดคล้องกับพื้นที่ขาย โดยมีพื้นที่เหมาะสมกับการปรุงและจัดเก็บวัตถุดิบ พื้นที่ครัวควรมีขนาด 20-30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  เนื่องจากครัวถือเป็นพื้นที่ใหญ่ในการออกแบบร้านอาหาร ซึ่งส่งผลกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครัวใหญ่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย การกำหนดพื้นที่ครัวที่เหมาะสมจึงต้องสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารต่ำลง คืนทุนได้เร็วขึ้น   […]

ลูกค้าไม่พอใจ

เมื่อ ลูกค้าไม่พอใจ เราจะทำอย่างไรดี

แม้ว่าจะบริการดีสักแค่ไหน ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ ลูกค้าไม่พอใจ เจ้าของร้านก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ เราจึงมี 4วิธี ที่ช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงมาแนะนำ

ลูกค้าทำของหายในร้าน

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป นี่ก็เป็นอีกวิธีที่อยากแชร์ให้ฟัง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.