ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร - Amarin Academy

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวังเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร คือ การบริการ เขาไม่สนหรอกว่า ร้านจะตกแต่งสวยงาม หรูหราแค่ไหน อาหารจะอร่อยเพียงใด ถ้าบริการแย่ ทุกอย่างก็จบ นอกจากจะไม่ประทับใจในมื้ออาหารนั้น และไม่คิดจะกลับมาใช้บริการอีกแล้ว ยังอาจบอกต่อเพื่อนๆ หรือคนรู้จักไม่ให้มากินร้านอาหารของคุณอีกต่างหาก ฉะนั้นเจ้าของร้านต้องเอาใจใส่ในการบริการให้มากเป็นพิเศษ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง อย่างนั้นลองมาดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ กันดีกว่าว่า ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

1.ลูกค้าถูกเสมอ

นี่คือกฎข้อสำคัญในการทำธุรกิจทุกประเภท แม้ว่าลูกค้าจะผิดจริงๆ ก็ตาม คุณไม่ควรพูดออกไป เพราะนั่นอาจส่งผลเสียต่อร้านโดยตรง

ก่อนอื่นเจ้าของร้านต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกค้าว่า เขาต้องการบริการที่ดีที่สุด หากมีส่วนใดขาดตกบกพร่องไปจากที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความผิดของร้าน ฉะนั้นหากลูกค้าไม่พอใจ ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม สิ่งแรกที่พนักงานบริการควรทำคือ รับฟังคำตำหนิหรือข้อแนะนำอย่างเต็มใจ กล่าวคำขอโทษ และรีบแก้ไขข้อผิดพลาดโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้วิธีที่คุณนำมาใช้จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวตัดสินเลยว่า ลูกค้าจะกลับมาเป็นลูกค้าประจำ หรือไม่กลับมาที่ร้านคุณอีกเลย

2.บริการที่ดี ต้องดีแบบครบวงจร

เริ่มตั้งแต่พนักงานต้อนรับ ซึ่งเป็นเหมือนหน้าตาของร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานในครัว ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด ทุกคนในร้านต้องเต็มใจบริการ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้าน พนักงานต้องต้อนรับด้วยรอยยิ้ม สอบถามข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น เช่น มากี่ท่าน หากมีเด็กมาด้วย ต้องการเก้าอี้เสริมหรือไม่ จากนั้นจึงพาเข้าไปในร้าน ดูแลการนั่งให้เรียบร้อย และส่งเมนูอาหารให้เลือก รอสักพัก พนักงานจึงรับออร์เดอร์ โดยคอยให้คำแนะนำและใส่ใจสิ่งที่ลูกค้าพูดตลอดเวลา ไม่หันไปคุยกันเองหรือผละไปทำงานอื่นๆ

เมื่อลูกค้าสั่งเสร็จ ต้องทวนรายการอาหาร จากนั้นจึงส่งออร์เดอร์เข้าครัว  โดยพนักงานในครัวควรตรวจสอบรายการอาหารก่อนลงมือทำ และต้องสังเกตว่ามีคำขอพิเศษอื่นๆ หรือไม่ เช่น ไม่ใส่ผัก ไม่ใส่กระเทียม เป็นต้น เพื่อจะได้ทำอาหารให้ตรงตามที่สั่ง จากนั้นจึงนำมาเสิร์ฟ อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ปล่อยให้อาหารเย็นชืด หมดความอร่อย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบริการเท่านั้น  จริงๆ แล้วยังมีขั้นตอนอีกมาก เจ้าของร้านควรสร้างวัฒนธรรมภายในร้านให้พนักงานบริการดีที่สุด เพื่อจะได้ทำให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด

3.อย่าเปิดให้จองโต๊ะเกินจำนวน

หากร้านอาหารของคุณมีบริการจองโต๊ะ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่า คุณมีที่พอสำหรับช่วงเวลานั้นจริงๆ ไม่ใช่ลูกค้าจองโต๊ะตอน 6 โมงเย็น เมื่อเขาเดินทางมาถึงกลับบอกว่าต้องรอประมาณ 30 นาที แบบนี้เป็นใครก็ไม่ชอบใจจริงไหม

ทั้งนี้หากเจ้าของร้านบริหารจัดการการจองโต๊ะได้ดี จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จัดสรรโต๊ะอย่างเป็นระบบ พนักงานครัวรู้ว่าต้องเตรียมอาหารสำหรับคนลูกค้ากี่ที่ เป็นต้น

กลับกันหากวางแผนการจองที่ไม่ดี ก็อาจทำให้ร้านวุ่นวาย ที่นั่งไม่พอ ลูกค้าไม่พอใจ คนในครัวทำอาหารไม่ทัน เป็นต้น

สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ คุณควรสร้างสมดุลระหว่างคนที่จองโต๊ะกับแขกที่ Walk-in ด้วย โดยไม่ควรเปิดให้จองโต๊ะทั้งหมด โดยไม่เหลือที่สำหรับลูกค้า walk-in เลย เพราะถ้ามาถึงแล้วมีโต๊ะว่างเต็มไปหมด แต่กลับเข้าไปนั่งกินไม่ได้ เขาต้องอารมณ์เสียแน่นอน

 

6.ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของลูกค้าประจำ

ร้านอาหารหลายร้านคงมีลูกค้าประจำที่มาร้านคุณบ่อยมากๆ (แต่อาจจะไม่ได้สั่งอาหารมาก) เช่น คู่รักที่มากินมื้อเย็นที่ร้านคุณทุกสัปดาห์ พนักงานออฟฟิศที่มานั่งดื่มเบียร์ร้านคุณทุกเย็น เจ้าของร้านอาหารควรลองสังเกตว่าพวกเขาชอบรับประทานอะไร มาเวลากี่โมง เมื่อเขามาครั้งถัดไป อาจลองทักทายว่า วันนี้มาตรงเวลาเหมือนเดิมเลยนะครับ หรือพวกพูดว่า เมนู…เหมือนเดิมใช่ไหมครับ พร้อมรอยยิ้ม เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่า คุณจำเขาได้และใส่ใจเขาจริงๆ

5.เงินทิป บอกอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

เงินทิป คือเครื่องมือที่บ่งชี้ว่าลูกค้าประทับใจในร้านอาหารของคุณมากน้อยแค่ไหน การที่ร้านคุณได้ทิปน้อย ไม่ได้หมายความว่า บริการของพนักงานเสิร์ฟย่ำแย่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจหมายถึงเขาไม่พอใจในรสชาติอาหาร ไม่พอใจเรื่องความสะอาดของร้าน หรือไม่พอใจเรื่องราคา ก็เป็นได้ ฉะนั้น แทนที่คุณจะไล่บี้กับพนักงานเสิร์ฟเพียงอย่างเดียว ต้องลองสังเกตส่วนอื่นๆ ของร้านประกอบด้วย

6.สอบถามความพึงพอใจจากลูกค้าเสมอ

ทุกครั้งที่ลูกค้าเรียกเก็บเงิน ควรสอบถามความพึงพอใจจากเขา เช่น รสชาติอาหารเป็นอย่างไรบ้างครับ การบริการเป็นอย่างไร อยากให้ปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่าครับ เป็นต้น แต่ลูกค้าบางคนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น คุณอาจใช้วิธีให้เขียน Comment แทน

เมื่อรวมรวม Feedback แล้ว ไม่ว่าดีหรือแย่ ควรแจ้งพนักงานทุกครั้ง แม้ว่าคำตำหนิจะเป็นสิ่งที่พวกเขา หรือแม้แต่คุณเองไม่อยากได้ยิน แต่มันคือเครื่องมือชิ้นสำคัญในการพัฒนาร้านอาหารให้ดีขึ้น

7.รู้วิธีจัดการกับลูกค้าที่ “มีปัญหา”

หากร้านอาหารของคุณเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอฟันธงเลยว่า ต้องเจอปัญหาลูกค้า “ดื่มมากเกินไป” อย่างแน่นอน ดังนั้น คุณต้องเทรนด์พนักงานทุกคนให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวให้ได้ เพื่อที่ลูกค้าคนนั้นจะได้ไม่สร้างความรำคาญใจให้พนักงานคนอื่น

อย่างแรก คุณต้องงดเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสนอเครื่องดื่มอื่นๆ หรือให้เขาแทน โดยใช้การเจรจาอย่างสุภาพ แต่ถ้าเขาเริ่มโวยวายหรือส่งเสียงดัง ควรพาเขาออกนอกร้านโดยเร็ว และสุดท้ายหากควบคุมสถานการณ์ไม่ได้จริงๆ อาจต้องแจ้งตำรวจให้มาจัดการแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกการกระทำต้องทำอย่างสุภาพ และให้เกียรติลูกค้าให้มากที่สุด

8.ใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์

หากร้านอาหารของคุณมีเพจในเฟซ์บุ๊ก หรือ IG ลองใช้ช่องทางนี้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ตอบโต้กับเขาด้วยความเป็นกันเอง หากพวกเขาลงรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารของคุณ ก็ควรเข้าไปขอบคุณ กดไลค์ หรือแชร์ลงเพจ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ แม้ไม่ได้เดินทางมาใช้บริการที่ร้านก็ตาม

หากร้านอาหารไหน สามารถทำได้ตามนี้ รับรองว่าลูกค้าจะประทับใจในการบริการของคุณแน่นอน

เรื่องแนะนำ

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

ข้อพลาดของนักธุรกิจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

คนรุ่นใหม่ผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แต่ประสบการณ์อาจยังไม่มากพอ จนก้าวพลาด เราจึงขอยกตัวอย่าง ข้อพลาดของนักธุรกิจ ให้ทราบ เผือช่วยป้องกันปัญหาได้

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

5 ปัจจัยต้องมี อยากเปิดร้านเบเกอรี เพราะทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอ

เคล็ดลับร้านอาหาร 5 ปัจจัย ที่ต้องมีหากอยากเปิด ร้านเบเกอรี ทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับเปิดร้าน ต้องยอมรับว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ฝันอยากจะมี ร้านเบเกอรี เป็นของตัวเอง ด้วยภาพจำที่ดูสวยงาม ได้ทำขนมสวย ๆ ในร้านที่ดูน่ารักอบอุ่น หญิงสาวยืนปาดเค้กอยู่ในครัวอย่างน่าทะนุถนอม แต่จริง ๆ แล้ว แทบจะไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะการทำ เบเกอรี ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้ และไม่ใช่งานง่าย ๆ หากใครคิดว่าแค่ทำขนมเป็นก็ทำได้ ก็ขอให้คิดใหม่ เพราะนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำ ร้านเบเกอรีเท่านั้น พอมาถึงตรงนี้หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่า อ้าว แล้วถ้าอยากเปิด ร้านเบเกอรี ต้องมีอะไรบ้างล่ะ ? มาดูกัน! ใจรัก การทำเบเกอรี่ไม่ใช่งานง่าย ๆ สบาย ๆ อย่างที่หลายคนคิด ผู้ที่คิดจะเปิดร้านจึงต้องมีใจรักจริง ๆ นอกจากนี้ยังต้องอึด ถึกทน และมีความพยายามสูง ซึ่งผู้ประกอบการร้านเบเกอรี่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำเบเกอรี่เหนื่อย เพราะชีวิตส่วนใหญ่ก็ต้องอยู่ในครัว นั่งบีบครีมหลังขดหลังแข็ง อดหลับอดนอน ไม่ได้หอมหวานเหมือนหน้าตาขนมหรอกแต่ที่ทำก็เพราะใจรักล้วน ๆ ความรู้เฉพาะ ธุรกิจเกี่ยวกับเบเกอรี่เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.