5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่ - Amarin Academy

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

ยุคนี้คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่ย่อมมีไฟทางความคิด และความคิดสร้างสรรค์ดีๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่มากพอ จนอาจก้าวพลาดในบางข้อ วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่า ข้อพลาดของนักธุรกิจ มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจครับ

 1.ไม่กำหนดเป้าหมายก่อนลงมือทำ

เป้าหมาย ถือเป็นสิ่งแรกที่ควรคิดถึงเมื่อเริ่มทำธุรกิจ แต่เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม (ส่วนใหญ่มักโฟกัสกับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่า) โดยเป้าหมายที่ต่างกัน ก็จะส่งผลให้วิธีการดำเนินงานต่างกันด้วย เช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายว่าต้องขยายร้านให้ได้ 3 สาขา ภายใน 5 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือ เร่งพัฒนาระบบงานให้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อรองรับการเติบโต แต่หากเป้าหมายของคุณคือ การเพิ่มยอดขายให้แตะหลักล้านภายใน 1 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือเร่งทำการตลาดทุกช่องทาง เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก กระตุ้นให้เกิดการซื้อมากที่สุด

ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมาย ควรแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะยาว เพื่อให้เห็นภาพรวมธุรกิจทั้งหมดในอนาคต ระยะกลาง เพื่อกำหนดเส้นทางในการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายระยะยาว และระยะสั้น เพื่อจะได้ทราบว่าควรวางแผนดำเนินการอย่างไรเพื่อพิชิตเป้าหมายในแต่ละระยะได้สำเร็จ

2.ไม่วางแผนและกำหนดสัดส่วนการลงทุน

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายคนมักประสบปัญหา “งบประมาณบานปลาย” สาเหตุหลักมาจากการไม่กำหนดสัดส่วนเงินลงทุน เช่น ร้านอาหารจำเป็นต้องแบ่งงบประมาณด้านค่าเช่าพื้นที่ การก่อสร้างหรือตกแต่งร้าน อุปกรณ์ครัว พนักงาน วัตถุดิบ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากกำหนดงบประมาณแค่คร่าวๆ สุดท้ายแล้ว เงินอาจไม่พอสำหรับลงทุนในด้านอื่นๆ

หมายเหตุ: ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของร้านอาหารมักประสบปัญหางบประมาณส่วนตกแต่งร้านบานปลาย (เพราะต้องการให้ร้านในฝันสวยที่สุด) ไหนจะค่าโครงสร้าง ค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งร้านต่างๆ ฉะนั้นก่อนจะแต่งร้าน คำนึงไว้เสมอว่า คุณยังต้องใช้เงินลงทุนอีกมากในด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าร้านสวยแค่ไหน แต่พนักงานไม่พอ อาหารออกช้า วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เพราะเงินหมด ธุรกิจก็ไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน

3.พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง                                                 

เชื่อว่าข้อนี้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เป็นกันทุกคน เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อกิจการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องหยุดทำงานทุกอย่างเอง แต่ต้องแบ่งงานบางส่วนให้ลูกน้องทำ เพื่อที่ตัวเองจะได้เอาเวลาไปโฟกัสงานที่สำคัญและจำเป็น เช่น การวางแผนการเติบโตในอนาคต เป็นต้น

4.รอให้ทุกอย่าง Perfect ค่อยเริ่มลงมือ

ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ ยิ่งการทำธุรกิจ มักมีปัญหาเข้ามาให้แก้เสมอ ฉะนั้นถ้าคุณมัวแต่รอให้ทุกอย่างสมบูรณ์ 100% ก็อาจไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจเลยก็ได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ ทำทุกอย่างให้เต็มที่และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

5.ยึดความต้องการตัวเองมากกว่าลูกค้า

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือฟังความต้องการของลูกค้าและนำมาต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ตรงจุด แต่จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจส่วนใหญ่ มักเริ่มจากความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น อยากเปิดร้านอาหาร อยากทำธุรกิจโรงแรม อยากขายสินค้าออนไลน์ และอีกสารพัดอยาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณอยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ปัญหาสำคัญคือ การที่คุณจะนำสิ่งที่ตัวเองชอบ มาสร้างรายได้นั้น แค่ความชอบของคุณคนเดียวคงไม่พอ แต่ต้องศึกษาความชอบของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ที่จะจ่ายเงินให้คุณด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่คุณคิดว่าดี อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองชอบอะไร อย่าเพิ่งลงมือทันที ควรศึกษาความต้องการของลูกค้าด้วย และนำทั้ง 2 สิ่งมาชั่งน้ำหนัก หาจุดร่วม เพื่อสร้างเป็นสินค้าและบริการที่คุณเองก็มีความสุขที่จะทำ และลูกค้าก็ยินดีที่จะซื้อ

เรื่องแนะนำ

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

Omni media ช่วยร้านอาหารของคุณ ทำการตลาดได้ตรงจุด

ใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่าเดิม การใช้ Omni Media ก็เหมือนกับการที่คุณมีประตูเปิดรับลูกค้าได้หลาย ๆ ช่องทาง ที่สุดแล้วลูกค้าจะเลือกรับบริการจากช่องทางที่สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินหน้าร้านหรือการสั่งแบบเดลิเวอรี่  ความนิยมในสื่อออนไลน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าโฆษณาออนไลน์สูงขึ้น แต่อาจไม่ได้ตอบโจทย์แคมเปญการตลาดทั้งหมด สื่อออฟไลน์จึงถูกนำมาพูดถึงเพื่อหาจุด Touch Point ที่มีประสิทธิภาพที่สุด  ข้อดีของ Omni Media ทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารผ่านสื่อการตลาดออฟไลน์ที่เชื่อมโยงออนไลน์ได้โดยทันที  ยกตัวอย่าง ร้านค้าใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่ในห้าง ติดตั้งสื่อ POP ที่ทำการสแกน QR Code เพื่อเข้าถึงข้อมูลร้านและโปรโมชั่นได้ทันที  หรือเทคโนโลยี Location Base Service สามารถส่งข้อความเข้ามือถือลูกค้าที่อยู่ในรัศมีร้านเพื่อแนะนำสินค้าและบริการ  ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านข้อความได้เลยทันที นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงกัน ยังช่วยในเรื่องการสื่อสาร ลดความเข้าใจผิด เพราะเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ทำให้จัดการแคมเปญต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น   ใช้เพื่อรู้จักลูกค้ามากกว่าที่เคย การสื่อสารออฟไลน์ที่เคยเป็นการสื่อสารทางเดียว สามารถเชื่อมโยงออนไลน์ได้ และมีเครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลลูกค้า สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น และข้อมูลของลูกค้าจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการทำกิจกรรมทางการตลาด ร้านอาหารดัง ๆ หลายแห่ง เริ่มเก็บข้อมูลความต้องการพิเศษ […]

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!? เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ! . หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ” . <<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>> ข้อดี 1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า 2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ 3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ […]

พฤติกรรมผู้บริโภค

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ       พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.