5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ - Amarin Academy

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

5 เคล็ดลับของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

ถ้าคุณกำลังรู้สึกท้อกับการทำธุรกิจ เราอยากให้อ่านเรื่องของ ทาดาชิ ยานาอิ ประธานบริษัท ยูนิโคล่ บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ผู้ที่เคยเกือบล้มละลาย จากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดผิดพลาด

เขาเคยเขียนหนังสือที่ชื่อว่า “ชนะหนึ่ง แพ้เก้า” เอาไว้ ในหนังสือเผยให้รู้ว่าเขาวางแผนไว้ 10 อย่างแต่ล้มเหลวไปเสีย 9 อย่าง แต่ความสำเร็จหนึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาก้าวไกลจนยืนหยัดเป็น ยูนิโคล่ ในทุกวันนี้…

งานที่ทาดาชิ ยานาอิ ทำอย่างมีความสุขและทำให้เขาประสบความสำเร็จ ณ วันนี้เป็นงานเดียวกับที่เขาเคยคิดว่าไม่น่าจะทำได้ โดยยานาอิมีเคล็ดลับที่อยากฝากให้คนหนุ่มสาวเป็นพิเศษ 5 ข้อ คือ

1.อย่าด่วนตีกรอบตัวเอง

ในวัยที่ชีวิตเพิ่งเริ่มต้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าตัวเองเหมาะหรือไม่เหมาะกับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรลองทำดูก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่ามันไม่เหมาะกับตัวเองจริงๆ

2.จงมีความเชื่อมั่น

อย่ายอมให้ใครมาบอกคุณว่า “ทำไม่ได้” แม้คัมภีร์การตลาดฉบับมาตรฐานสอนไว้ว่า เวลาจะขายอะไรสักอย่าง เราต้องกำหนดลักษณะกลุ่มเป้าหมาย เช่น อายุ เพศ รายได้ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ อย่างชัดเจน จะได้ผลิตสินค้าและทำการตลาดได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

อีกเหตุผลหนึ่งคือการคิดผลิตภัณฑ์เพื่อคนทุกคนเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าจะเป็นไปได้…แต่ทาดาชิกลับคิดตรงกันข้าม เพราะแต่ไหนแต่ไรมาเขาตั้งใจจะผลิตเสื้อผ้าที่คนทุกเพศทุกวัยสมใส่ได้โดยไม่ขึ้นกับยุคสมัย และเขาย้ำเสมอว่าอย่าออกแบบเสื้อผ้าให้โดดเด่นจนกลบตัวคนใส่ จะว่าไปแล้วแนวคิดนี้ก็เหมือนกับแนวคิดของสตีฟ จอบส์ ที่ออกแบบแอปเปิลให้มีดีไซน์เรียบง่าย แต่ถูกใจคน (เกือบ) ทั้งโลก และจะเห็นว่ากฎทุกกฎมีข้อยกเว้นทั้งนั้น จงอย่าให้กฎเกณฑ์ใดๆ กลายมาเป็นข้อจำกัดของคน

3.คำนึงถึงคุณภาพ

แม้จะขายแต่เสื้อผ้าแบบพื้นฐานทว่าซีอีโอผู้นี้ให้ความสำคัญกับคุณภาพอย่างที่สุด เขาจึงทุ่มเททรัพยากรให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาก เช่น ผ้าฟลีซ (fleece) ซึ่งแต่เดิมเป็นผ้าที่ใช้ในวงการกีฬาเท่านั้น เขาก็ให้ทีมพัฒนาจนมันมีเนื้อเบาลง มีหลายสีหลายแบบและเป็นสินค้าที่ใช้ทำตลาดในช่วงปีแรกๆ หรือฮีตเทค (heattech) ผ้าเนื้อบางราวกับผิวหนังชั้นที่สองแต่ให้ความอบอุ่นก็เป็นสินค้ายอดฮิตในปัจจุบัน

4.เรียนรู้จากความผิดพลาด

ทาดาชิรู้ดีว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อจำกัด ส่วนตลาดนอกญี่ปุ่นนั้นมีขนาดใหญ่มาก เขาจึงพยายายามไปเปิดตลาดในต่างประเทศ ปี ค.ศ.2001 เขาได้ไปเปิดสาขาที่อังกฤษถึง 20 สาขา แต่ทว่าทั้งหมดต้องปิดตัวลงในเวลาแค่สามปี เช่นเดียวกับตอนไปบุกตลาดที่จีนและอเมริกาในปี ค.ศ.2005 ทุกสาขาต้องปิดตัวลลงภายในเวลาไม่ถึงปี ซึ่งทำให้บริษัทเกือบจะล้มละลาย แต่ในที่สุดเขาก็คิดกลยุทธ์ใหม่ คราวนี้แทนที่จะเปิดร้านเล็กๆ หลายๆ แห่ง เขาเลือกเปิดร้านที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าแฟล็กชิปสโตร์ เพื่อให้ร้านนี้ทำหน้าที่สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าในท้องถิ่นนั้นๆ

ร้านใหม่ที่นิวยอร์กสร้างขึ้นในปี ค.ศ.2006 มีขนาด 36,000 ตารางฟุต ตามมาด้วยสาขาที่ 2 และ 3 ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ ซึ่แม้จะใหญ่โตราวกับสนามฟุตบอล แต่ทุกวันนี้ก็มีคนเดินเต็มร้าน จนเรียกได้ว่าไหล่ชนไหล่กันเลยทีเดียว

5.ใส่ใจโลกและสังคม

เขาให้นโยบายไว้ว่าบริษัทต้องให้ความสำคัญกับการกุศลและท้องถิ่นยิ่งกว่าการทำเป้าการขาย เพราะทาดาชิตั้งใจจะสร้างบริษัทของเขาให้เป็นแบรนด์ระดับโลก ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าบริษัทไม่ใส่ใจโลกและสังคมก่อน

หากยังสงสัยว่ามหาเศรษฐีผู้นี้ไฟแรงขนาดไหน ก็ตอบได้ว่าแม้บริษัทของเขาจะก้าวมาได้ไกลขนาดนี้ แต่ทาดาชิ ยานาอิ ก็ยังยืนยันว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

ข้อมูลจาก: คิดแบบคนธรรมดาไปทำไม คิดแบบคนที่สำเร็จง่ายกว่า สำนักพิมพ์อมรินทร์

ขอบคุณภาพจาก: style-republik.com

fastretailing.com

เรื่องแนะนำ

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.