ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด - Amarin Academy

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

หนี่งในสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจก่อนเปิดร้านอาหารคือการกำหนดประเภทร้านอาหารให้แน่ชัด ฟังเหมือนง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก เพราะร้านอาหารแต่ละประเภทก็มีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

1.Buffet

ร้านอาหารประเภทนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ในประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์นั้น คงไม่ต้องอธิบายว่ามีลักษณะอย่างไร เพราะทุกคนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเอกลักษณ์เฉพาะคือเสิร์ฟทุกอย่างไม่อั้น ในราคาตายตัว แม้จะได้รับราคาต่อหัวค่อนข้างสูง แต่กำไรกลับไม่ได้มากเหมือนร้านอาหารประเภทอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ของรายรับทั้งหมดเท่านั้น

  1. Fast Casual

เกิดจากการผสมผสานระหว่าง Fast food กับ Casual dinning เป็นร้านอาหารที่กำลังมาแรงในตลาดต่างประเทศ คือเสิร์ฟอาหารจานด่วนที่มีคุณภาพสูงกว่า Fast food เช่น แทนที่จะเสิร์ฟเบอร์เกอร์แป้งขัดขาวธรรมดา ก็เสิร์ฟเบอร์เกอร์แป้งโฮลวีททำจากข้าวสาลีออร์แกนิค หรืออาหารที่เสิร์ฟจะผ่านกระบวนการปรุงแต่งน้อยกว่า เป็นต้น และบรรยากาศของร้านจะผ่อนคลายมากกว่า มีโต๊ะและเก้าอี้บริการมากกว่า แต่ไม่ได้มีบริการแบบเต็มรูปแบบ เหมือน Casual dinning

  1. Café & Bistro

ร้านอาหารประเภทนี้กำลังมาแรงสุดๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มองไปทางไหนก็เจอแต่งคาเฟ่เต็มไปหมด และรูปแบบก็เปลี่ยนแปลงไปตามการตีความของแต่ละบุคคล แต่คาเฟ่ในแบบฉบับต่างประเทศ คือร้านอาหารที่เสิร์ฟเมนูเบาๆ ของกินเล่น ไม่มีพนักงานมาบริการที่โต๊ะ ลูกค้าต้องสั่งอาหารจากเคาท์เตอร์ เดินไปรับมาที่โต๊ะเอง (บางร้านให้เก็บเองด้วย) ส่วน Bistro ก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีเสิร์ฟอาหารมื้อหนักด้วย การบริการลักษณะนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณด้านการจ้างพนักงาน รวมทั้งลดปัญหาเรื่องคนลงไปส่วนหนึ่ง

4.Casual

เป็นร้านอาหารที่ให้บริการอาหารระดับราคาปานกลาง ในบรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มเพื่อนและกลุ่มครอบครัว

5.Fine Dinning

หมายถึงร้านอาหารมีบริการแบบเต็มรูปแบบ มีโต๊ะอาหารเต็มที่ ตกแต่งร้านอย่างสวยงาม มีกฎระเบียบในการให้บริการและการใช้บริการ ราคาอาหารสูงเมื่อทเยบกับร้านอาหารประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีค่าบริหารจัดการส่วนต่างๆ ค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ลูกค้ามักไปร้านอาหารจำพวกนี้เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ และคาดหวังว่าจะต้องได้รับบริการที่ดีกลับไป

  1. Franchise

ร้านอาหารประเภทนี้เราคงคุ้นเคยกันดี เพราะไปห้างไหนก็ต้องเจอ เฟรนไชส์มีข้อดีต่อผู้ลงทุนคือ ไม่ต้องเสียเวลาสร้างแบรนด์เอง อาหารทุกอย่างได้มาตรฐาน มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าเปิดที่ไหนก็มีลูกค้า เพราะเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว แต่ข้อด้อยคือ ส่วนใหญ่มักมีกฎข้อบังคับที่เข้มงวด

  1. Food Truck

ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านอาหารประเภทนี้บ่ยขึ้น คือการทำรถบรรทุกขนาดเล็กให้เป็นร้านอาหารที่ทำครบ จบทุกอย่างนรถคันเดียว การลงทุนค่อนข้างต่ำ ไม่ต้องเสียเวลาเลือกพื้นที่ หากขายแล้วทำเลไม่ดีก็สามารถเปลี่ยนที่ไปได้เรื่อยๆ ไม่ต้องอาศัยพนักงาน แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะสร้างลูกค้าประจำได้ยาก และเจ้าของต้องทำเองแทบทุกอย่าง ขยับขยายกิจการได้ยาก

8.Catering

ร้านอาหารประเภทรับจัดอาหารนอกสถานที่ มีทั้งแบบที่เปิดเป็น catering โดยเฉพาะ จำพวกโต๊ะจีน จัดตามงานแต่งงาน งานสัมมนา เป็นต้น หรือมีหน้าร้านปกติ แต่ทำ catering เป็นรายได้เสริม การทำ catering ก็มีหลากหลายประเภทอีกเช่นกัน ทั้งแบบทำอาหารไปส่งเพียงอย่างเดียว กับแบบ full service มีเครื่องดื่ม โต๊ะ เก้าอี้ และพนักงานไปบริการ

ร้านอาหารทั้ง 8 ประเภทที่ยกมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเภทร้านอาหารทั้งหมดเท่านั้น หากใครสนใจลงทุนในธุรกิจอาหาร ต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการให้รอบคอบ ว่าแบบไหนเหมาะกับตัวเรามากที่สุด จะได้ทำงานได้อย่างมีความสุข

เรื่องแนะนำ

เริ่มทำธุรกิจ

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

เมื่อ เริ่มทำธุรกิจ ย่อมต้องเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เราจึงขอรวบรวม 8 สิ่งที่คนเริ่มทำธุรกิจควรรู้! ที่มาจากผู้ประกอบการตัวจริงมาแนะนำ

ผู้จัดการมือใหม่

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้! การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ    สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร  รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ   มีความหนักแน่น  ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้ จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ  การจัดการเชิงรุก ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน […]

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.