4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ - Amarin Academy

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็คก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

“ความอร่อยไม่ใช่จุดขาย แต่เป็นมาตรฐานต่ำสุด ที่ร้านอาหารพึงต้องทำให้ลูกค้า” นี่คือประโยคเด็ดของคุณต่อ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin eat shabu ฉะนั้นก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้าง “มาตรฐานต่ำสุด” ให้ร้านอาหารของเรา อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

1.เช็คโซเชียล

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเช็คข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เราอยากรู้จัก (ไม่ใช่เอาไว้แอบส่องสาวๆ หรือหนุ่มๆ เพียงอย่างเดียวนะครับ) แม้อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นทางการนัก แต่ก็ถือว่าครอบคลุมสิ่งที่เราอยากรู้ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งประวัติการทำงาน ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ แถมบางครั้งคุณอาจจะได้รับรู้ข้อมูลที่ตอนสัมภาษณ์เขาไม่เคยพูดอีกด้วย

อาจเริ่มจากการดูภาพถ่ายที่เขาอัพโหลดไว้ว่าสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อ่านสเตตัสย้อนหลังว่าเขาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้บอกได้ว่าบุคลิก ลักษณะ หรือนิสัยใจคอของเขาเป็นอย่างไร (หากเขาตั้งเสตัสตัสแสดงอาการ “หัวร้อน” บ่อยๆ ก็คงไม่ดีต่องานสักเท่าไรนัก

ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจอาจเริ่มศึกษาข้อมูลส่วนตัวของเชฟที่เราสนใจ หรือเชฟมาสมัครงานจากโซเชียลมีเดียก่อนว่า ประวัติการทำงานหรือบุคลิกของเขาตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า

2.ซักประวัติเสียหน่อย

บางครั้ง Resume เพียงแผ่นเดียวอาจบอกอะไรได้ไม่มากนัก ทางที่ดีลองให้เขาเล่าประวัติการทำงาน ความสนใจ ความถนัดให้ฟังเสียหน่อย โดยคำถามพื้นฐานที่ควรสอบถาม เช่น

1.เมนูที่ดีที่สุดที่คุณเคยทำคืออะไร
2.เชฟคนไหนที่ถือว่าเป็นไอดอลของคุณ แล้วคุณเรียนรู้อะไรจากเขามาบ้าง
3.สิ่งที่คุณถนัดที่สุดคืออะไร
4.คุณมีวิธีในการควบคุมรายจ่ายในครัวอย่างไร
5.ถ้าตอนนี้คุณกำลังจะกินอาหารมื้อสุดท้าย คุณอยากให้ใครทำอาหารให้คุณกิน

ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เชฟของคุณมีทัศนคติ พฤติกรรม บุคลิกภาพและวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อนำประกอบการตัดสินใจ เพราะหากร้านอาหารของคุณมีเชฟมือฉมัง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงตามไปด้วย

3.วัดทักษะด้านการทำธุรกิจ

ทำอาหารเป็น ไม่ได้หมายถึง ทำร้านอาหารได้ แน่นอนว่าเชฟทุกคนทำอาหารได้ แต่มีเชฟเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถนำพาร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จและมีกำไร

ขณะสัมภาษณ์คุณควรให้เขาลองวาง Concept เมนูให้ดูเป็นตัวอย่างสักหน่อย โดยคุณต้องอธิบายแนวคิดของร้านให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบเมนูให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

จากนั้นลองโยนโจทย์ให้เขาคิดคำนวณต้นทุนอาหาร โดยอาจยกตัวอย่างเมนูง่ายๆ และให้เขาคำนวณต้นทุนวัตถุดิบของเมนูนั้น

ขณะเดียวกันระหว่างที่คุณมอบหมายงาน อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการทำงานนี้ หากเขาตกใจ นั่นแปลว่าเขาอาจไม่เคยคำนวณต้นทุนมาก่อนเลย

การสัมภาษณ์งานอย่างนี้อาจจะดูโหดร้ายสำหรับเชฟไปสักหน่อย แต่มันส่งผลดีต่อร้านคุณในอนาคตแน่นอน เพราะการคำนวณต้นทุนจะส่งผลต่อการควบคุมปริมาณวัตถุดิบและรายจ่ายในครัว (ซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของร้าน) หากกุนซือใหญ่ ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย ร้านของคุณต้องมีปัญหาแน่ๆ

หากเชฟไม่สามารถทำกำไรให้ร้านคุณได้ แม้เขาจะทำอาหารได้อร่อยขนาดไหนก็ไม่มีประโยชน์

4.เช็ครสชาติและวิธีการทำอาหาร

สิ่งสุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ที่ควรทำ คือการเช็ครสชาติอาหารที่เขาทำว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า โดยหลังจากการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้เชฟลองทำอาหารให้คุณลิ้มลอง

ทั้งนี้ก่อนเขาจะเริ่มทำอาหาร ลองพูดกับเขาว่า “หากคุณได้งานนี้ จงจำรสชาติและวิธีการทำเอานี้ไว้เสมอ และนำไปทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ ได้กิน เพราะอาหารจานนี้คือจานที่คุณใส่ใจกับมันมากที่สุด เนื่องจากคุณอมีโอกาสพิสูจน์ตัวเองได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นขอให้จำวันนี้เอาไว้ เพราะคุณก็มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองกับลูกค้าครั้งเดียวเช่นกัน”

จากนั้นจึงปล่อยให้เขาเริ่มลงมือทำอาหาร พร้อมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สอบถามถึงขั้นตอนการทำอาหาร เทคนิคต่างๆ ถามถึงปริมาณส่วนผสม พร้อมทำท่าประเมินเขาไปด้วย สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เขาอยู่ในสภาวะกดดันที่สุด เพื่อดูว่าเขามีวิธีรับมือกับความกดดันอย่างไร

หากเขายังคงดูผ่อนคลายและทำงานไปตามปกติ สามารถสั่งงานพนักงานคนอื่นๆ ได้ ทำงานสะอาดเรียบร้อย และรสชาติอาหารออกมาดี ก็ถือว่าเชฟคนนี้น่าจะมีวุฒิภาวะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ได้

พอจะทราบแล้วใช่ไหมว่าการเลือกเชฟนั้น ทดสอบแค่รสชาติอาหารอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องทดสอบด้านทัศนคติและอารมณ์ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านของคุณดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้นก่อนเลือกเชฟอย่าลืมเช็คตาม 4 ข้อนี้นะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก pos.toasttab.com

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

น้ำแข็ง

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!         แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ –  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส –  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?         […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.