Food Rotation Labels สติกเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวที่สำคัญ

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels

สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ

มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน!
.
สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค
✅ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร:
1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร
2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient)
3.วันที่ผลิต (Product Date)
4.เวลาผลิต (Production Time)
5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date)
6.เวลาที่หมดอายุ (Expiry Time)
7.ชื่อพนักงานที่เตรียม (Staff Name) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นี้ใครเป็นคนเตรียม ซึ่งคนนั้นก็คือผู้รับผิดชอบการนำผลิตภัณฑ์นี้มาใช้ด้วย
หมายเหตุ: ข้อมูลข้อที่ 3-6 เป็นข้อมูลสำคัญที่กำหนดการนำผลิตภัณฑ์มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามหลัก First in First out (FIFO) หรือมาก่อนใช้ก่อน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของอาหารที่นำมาเสิร์ฟให้กับลูกค้า อีกทั้งยังสามารถลดการเกิด Waste ที่อาจเกิดจากการจัดเก็บผลิตภัณฑ์เก่าและใหม่รวมกัน
🖊วิธีใช้: ใช้ติดที่บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุวัตถุดิบนั้น ๆ สำหรับของสด หากทำการล้างและตัดแต่งเสร็จแล้ว ให้กรอกรายละเอียดลงบนสติกเกอร์ จากนั้นทำการแปะลงบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุ แล้วทำการจัดเก็บ สำหรับของแห้งหรือเครื่องปรุง หลังจากการเปิดใช้งานให้กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ลงบนสติกเกอร์ ซึ่งข้อมูลสำคัญสำหรับวัตถุดิบประเภทนี้ คือ วันที่เปิดใช้ ผู้เปิด เป็นต้น
สติกเกอร์ที่ว่านี้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือแบบ Daydot ที่มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกปี 1985 ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสติกเกอร์สีตามวันในสัปดาห์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสีตามวันจึงได้กลายมาเป็นมาตรฐานและตัวกำหนดในการหมุนเวียนการใช้อาหาร
เราสามารถพบการใช้สติกเกอร์ติดอาหารได้ในครัวที่มีมาตรฐานระดับมืออาชีพ เช่น ครัวในโรงแรม ครัวภัตตาคาร หรือร้านที่มีระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเสิร์ฟอาหารที่ปลอดภัยให้กับลูกค้า ให้ความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ช่วยให้การจัดการในครัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความแม่นยำในการใช้วัตถุดิบ ลดขยะที่อาจหลงเหลือจากการใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นระบบ และที่สำคัญยังช่วยให้ธุรกิจคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
เพราะในหลายกรณีวัตถุดิบที่หมดอายุแล้วก็มีหน้าตาปกติ แต่จริง ๆ อาจมีแบคทีเรียหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตอยู่ในวัตถุดิบนั้นแล้ว หากเผลอนำมาใช้ก็จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เครื่องมือนี้จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงความปลอดภัยของอาหาร ที่น่าเชื่อถือกว่ารูปลักษณ์ที่เราเห็น
เชื่อว่าคุณคงไม่ต้องการเสิร์ฟอาหารที่พอกินได้ให้กับลูกค้า แต่เป็นการเสิร์ฟอาหารที่มีคุณภาพให้กับลูกค้ามากกว่า เพราะคุณภาพของอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารจานนั้นอร่อย การติดสติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการรักษาคุณภาพของอาหาร และเป็นปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารมีระบบการจัดการที่ดี
สำหรับใครที่อยากได้ฉลากติดอาหารไปใช้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์
ซึ่งฉลากนี้เป็นรูปแบบเดียวกับที่ร้านปลาร้าเด้อ ร้านของพี่ธามม์ ประวัติตรีใช้ด้วยนะ
.

เรื่องแนะนำ

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.