เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย - Amarin Academy

เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย

เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย

จากการที่ทีมงานได้ไปสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจหลายๆ ราย พบว่าปัญหาหลักที่ส่วนใหญ่มักเจอคือ อัตราการลาออกของพนักงานสูงมาก ส่งผลให้การทำงานสะดุด แถมยังต้องเสียเวลาคอยเทรนด์พนักงานใหม่เรื่อยๆ อีกด้วย วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคดีๆ ที่ช่วยขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย มาฝาก

1.หาสาเหตุว่า ทำไมถึงลาออก

การที่พนักงานลาออกบ่อยๆ แทนที่จะโทษว่าพนักงานทำงานไม่ทน เจ้าของร้านควรหันกลับมามองที่สาเหตุของปัญหาว่า เพราะอะไรเขาถึงลาออก โดยอาจจะลองถามจากตัวพนักงานที่ลาออกว่า มีเรื่องไม่สบายใจตรงไหน เพราะอะไรจึงอยากลาออก หรือคอยสังเกตจากพนักงานปัจจุบันว่าเขามักบ่นเรื่องอะไรเป็นพิเศษ ไม่แน่ว่าสาเหตุที่เขาลาออกหลักๆ อาจมาจากการบริหารงานของตัวคุณเองก็ได้

2.ทบทวนเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการ

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องหลักที่ทำให้พนักงานหลายคนลาออก หากเขาทำงานหนัก ก็ควรต้องให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่าเหนื่อย และอย่ามองข้ามเรื่องสวัสดิการ เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ทีมงานเคยไปสัมภาษณ์ เช่น ซูชิชิน โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ มักให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาว่า ต้องดูแลพนักงานให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล เพราะนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจ และวางใจว่าเขาสามารถฝากชีวิตไว้กับเราได้

3.สร้างระบบทีม

การทำร้านอาหาร คือการทำงานเป็นทีม ต้องอาศัยความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ตั้งแต่พนักงานรับรถ ยันเชฟในห้องครัว ทั้งหมดก็เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด และหน้าที่ของเจ้าของร้านคือ ต้องทำให้พนักงานเข้าใจว่าทุกคนมีความสำคัญกับร้านเท่าเทียมกันทั้งหมด เมื่อเขาเห็นว่าตัวเองมีความสำคัญทั้งกับร้านและทีม เขาก็จะรักและอยากทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเอง

4.หาวิธีเพิ่มรายได้ให้พนักงาน

จริงๆ แล้วเงินเดือนพนักงานร้านอาหารไม่ได้มากมายนัก และเราก็ไม่สามารถรับภาระจ่ายเงินเดือนให้พวกเขาได้มากเท่าอาชีพอื่นๆ ดังนั้น เจ้าของร้านจึงต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ให้พนักงานในช่องทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ร้านมี service charge 10%  มีกล่องทิปหน้าเคาท์เตอร์คิดเงิน เป็นต้น

5.เปิดเผยข้อมูลธุรกิจให้พนักงานรู้

การที่เจ้าของปกปิดข้อมูลของร้าน อาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกับร้านอาหาร ฉะนั้นจึงควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารบางส่วน เช่น กลุ่มลูกค้าที่วางไว้ แผนการดำเนินงานในอนาคต กลยุทธ์การตลาด โดยอาจขอความเห็นหรือคำแนะนำจากพนักงานว่า เขาคิดว่าการวางแผนเช่นนี้ดีหรือไม่ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไหม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เขารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับร้าน รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ และอยากอยู่กับร้านไปนานๆ

6.จัดโปรแกรมพัฒนาทักษะพนักงาน

การจัดเทรนนิ่ง ฝึกทักษะให้พนักงานได้พัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการ การปรุงอาหาร การบริหาร หรือทักษะอื่นๆ ที่เขาอยากเรียนรู้เพิ่มเติม และเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน จะให้ช่วยพนักงานรู้สึกว่าเขามีโอกาสเติบโตไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ทั้งนั้นแต่ละโปรแกรมก็ควรถามความต้องการและความสมัครใจของพนักงานด้วย เพราะหากเทรนด์ให้เขาทั้งๆ ที่เขาไม่เต็มใจ หรือไม่อยากเรียนรู้ การพัฒนาครั้งนั้นก็เปล่าประโยชน์

การดูแลพนักงานไม่ให้ลาออก ถือเป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของร้านเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นหากเจ้าของร้านอาหารคนไหน ประสบปัญหานี้เป็นประจำ ควรหันมาตรวจสอบวิธีการทำงานและบริหารจัดการร้านของตนเอง แล้วลองปรับปรุงให้ดีขึ้น น่าจะช่วยลดอัตราการลาออกลงได้

เรื่องแนะนำ

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ” ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย . ทำไมต้องล้าง ? . จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้ เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

ธุรกิจขนาดเล็ก

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

เจ้าของธุรกิจอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย จากการบริหารจัดการและการเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้ามองให้เรื่องท้าทายเป็นโอกาสและเป็นตัวช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้น นั่นก็จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโต

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.